นักวิจัยจีนค้นพบวัคซีนต้านเชื้อโควิด-19 แต่วัคซีนยังอยู่ระหว่างการพัฒนาและยังไม่ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการ

  • บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
  • เผยแพร่ วันที่ 26 มีนาคม 2020 เวลา 11:00
  • ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
  • เขียนโดย: AFP Thailand
ข้อความและรูปภาพชุดหนึ่งได้ถูกแชร์นับหมื่นครั้งทางเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม และไลน์ พร้อมคำกล่าวอ้างว่าจีนผลิตวัคซีนต้านเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่สำเร็จโดยมีการฉีดวัคซีนต้านไวรัสให้ตนเอง คำกล่าวอ้างนี้เป็นการเข้าใจผิด ภาพถ่ายที่ถูกแชร์ในโพสต์ที่เข้าใจผิดเป็นภาพจากรายงานข่าวของจีนในช่วงการทดลองวัคซีนที่มีศักยภาพในการต้านเชื้อโควิด-19

ข้อความดังกล่าวได้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กในวันที่ 14 มีนาคม 2563 และถูกแชร์ออกไปอีกกว่า 9,400 ครั้ง

คำบรรยายบางส่วนของโพสต์เขียนว่า
“ด่วน!! จีนสามารถคิดค้นวัคซีน โควิด-19
ได้สำเร็จเป็นประเทศแรกของโลก
โดยพลตรีหญิง เฉินเหว่ย (陈薇)
ประจำกองทัพประชาชนจีน
และทดลองฉีดฉีดวัคซีนต้านไวรัส
ให้ตนเอง และผู้ร่วมงานอีก 7 คน”

“จีนค้นพบตัวยารักษาได้ก่อน
และเวลานี้ ค้นพบวัคซีนป้องกันได้แล้ว
ทำให้วันนี้ ไม่พบผู้ป่วยเพิ่มใน "อู่ฮั่น"
อีกเลย นั่นแปลว่ายาที่วิจัย
ค้นคว้าขึ้นมานั้น...ได้ผล”

นอกจากคำบรรยายแล้ว โพสต์ดังกล่าวมีภาพถ่ายของผู้หญิงในเครื่องแบบและผู้หญิงใส่ชุดกาวพร้อมหน้ากากป้องกันเชื้อโรค

ด้านล้างคือภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์ที่เข้าใจผิด

Image
ภาพถ่ายหน้าจอโพสต์เฟซบุ๊กที่เข้าใจผิด

ภาพถ่ายชุดเดียวกันกับที่อยู่ในโพสต์ที่เข้าใจผิด ได้ถูกแชร์ทางเฟซบุ๊กที่นี่ นี่ นี่ และ นี่ และทางทวิตเตอร์ที่นี่ และ ทางอินสตาแกรมที่นี่

คำกล่าวอ้างนี้เป็นการเข้าใจผิด

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2563 สื่อของรัฐบาลจีน The People’s Daily ได้ทวีตข้อความนี้ ซึ่งระบุว่าคำกล่างอ้างซึ่งอยู่ในโพสต์ที่เข้าใจผิดเป็น “ข่าวปลอม” โดยมีลิงค์ไปยังโพสต์บนหน้าเฟซบุ๊ก

เนื้อหาบางส่วนในโพสต์เฟซบุ๊กของ The People’s Daily เขียนว่า “แพทย์ของกองทัพปลดปล่อยประชาชน จีนไม่ได้นำยาวัคซีน #COVID19 มาทดลองกับตัวเอง ตามที่หลายๆ คนเชื่อ”

“ภาพถ่ายแพทย์หญิงของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนฉีดยาเข้าที่ไหล่กลายเป็นคลิปไวรัลบนอินเตอร์เน็ตและทำให้หลายคนสงสัยว่า กองทัพประชาชนจีนกำลังทดสอบวัคซีนต้านเชื้อไวรัสโคโรน่ากับตัวเอง ข้อสันนิษฐานนี้เป็นข่าวปลอม”

โพสต์ของ The People’s Daily มีรูปถ่ายเดียวกันกับที่ปรากฏในโพสต์ที่เข้าใจผิด รูปถ่ายดังกล่าวเป็นภาพ พลตรีหญิง เฉินเหว่ย นักวิชาการประจำกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ขณะที่เธอกำลังรับยา “เพิ่มภูมิคุ้มกัน” ก่อนการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ที่เมืองอู่ฮั่น

ด้านล่างคือภาพถ่ายหน้าจอโพสต์เฟซบุ๊กของ The People’s Daily

Image
ภาพถ่ายหน้าจอโพสต์เฟซบุ๊กของ People’s Daily

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2563 Global Times รายงานว่าพลตรีหญิง เฉินเหว่ย ถูกส่งไปเมืองอู่ฮั่นและประสบความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนต้านไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่

เนื้อหาบางส่วนของรายงานเขียนว่า “ทีมแพทย์ทหารชำนาญการพิเศษได้ทำงานที่อู่ฮั่น ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางการระบาดเป็นเวลากว่า 1 เดือน และนำทีมโดยเฉินเหว่ย นักวิชาการประจำสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน กำลังใช้เวลาที่มีทุกวินาทีและความพยายามทั้งหมดกับงานวิจัยครั้งนี้ซึ่งเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินด้านวิทยาศาสตร์”

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 จีนได้ประกาศว่าวัคซีนต้านเชื้อโควิด-19 ที่ผลิตโดยทีมของเฉินเหว่ยกำลังจะเข้าสู่ขั้นตอนการทดลองกับมนุษย์

Global Times เผยแพร่รายงานฉบับนี้ในวันเดียวกันว่า “วัคซีนต้านเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ที่ผลิตโดยทีมของประเทศจีนได้รับการอนุมัติเพื่อใช้ในการทดลองทางคลินิกและได้ผ่านการตรวจสอบด้านวิจัย เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา”

“จากประสบการณ์ในการพัฒนาวัคซีนต้านเชื้ออีโบล่า เฉินเหว่ย และทีมของเธอได้เริ่มวิจัยด้านเภสัชกรรม เภสัชศาสตร์และพิษวิทยาเกี่ยวกับไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ทันทีที่เดินทางมาถึงเมืองอู่ฮั่น โดยร่วมมือกับบริษัทท้องถิ่น”

เฉิน ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์การทหาร ได้กล่าวในรายงานว่า วัคซีนกำลังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบด้านความปลอดภัย ประสิทธิภาพ การควบคุมคุณภาพ และได้เตรียมการผลิตจำนวนมาก บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพได้เริ่มรับอาสาสมัครเพื่อเข้ามาช่วยเหลืองานที่เกี่ยวข้องกับตัววัคซีนแล้ว

เชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ถูกพบครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ในเดือนธันวาคม 2562 ข้อมูลขององค์การอนามัยโลกเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 ระบุว่าโควิด-19 ได้แพร่ระบาดออกไปทั่วโลกจนทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 18,000 ราย และมีผู้ป่วยไม่ต่ำกว่า 400,000 คน

องค์การอนามัยโลกได้กล่าวว่าปัจจุบันยังไม่มียาที่จะสามารถต้านหรือว่ารักษาโควิด-19 ได้

เนื้อหาในส่วน Q&A ของเว็บไซต์เขียนว่า “ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนหรือยาต้านไวรัสที่สามารถต้านหรือว่ารักษาโควิด-19 วัคซีนและยารักษาบางตัวที่มีความเป็นไปได้กำลังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบในห้องทดลอง องค์การอนามัยโลกกำลังประสานความร่วมมือในการพัฒนาวัคซีนและยาเพื่อป้องกันและรักษาโควิด-19”

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?

ติดต่อเรา