วิธีการทำงานของเรา

การตรรวจสอบข้อมูลบิดเบือนที่เป็นภัยและกลายเป็นไวรัล

นักข่าวตรวจสอบข้อเท็จจริงของ AFP มุ่งมั่นในการตรวจสอบคำกล่าวอ้างคลุมเครือที่เผยแพร่อยู่ในโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นคำกล่าวอ้างที่กลายเป็นไวรัลและอาจส่งกระทบเชิงลบต่อสาธารณะชน คำกล่าวอ้างที่เราเข้าไปตรวจสอบเผยแพร่อยู่ในหลายช่องทาง รวมถึงแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย บล็อก เว็บไซต์  แอปพลิเคชันสนทนา และตัวกลางสนทนาอื่น ๆ ในที่สาธารณะ 

เราบ่งชี้คำกล่าวอ้างที่เราต้องการตรวจสอบผ่านการวิเคราะห์ว่าการตรวจสอบความจริงครั้งนั้น ๆ จะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะหรือไม่ เรายังประเมินว่าจะสามารถรวบรวมหลักฐานที่ชัดเจนและเพียงพอต่อการหักล้างคำกล่าวอ้างเฉพาะหรือคำกล่าวอ้างที่ถูกสร้างขึ้นมาได้ไหม กองบรรณาธิการตรวจสอบข้อเท็จจริงของ AFP พิสูจน์ข้อเท็จจริง ไม่ใช่ความคิดเห็นหรือความเชื่อ หากเราไม่สามารถนำเสนอหลักฐานที่มีการตรวจสอบรอบด้านและหลักฐานที่หนักแน่นเพียงพอ เราจะไม่ตีพิมพ์การตรวจสอบความจริงครั้งนั้น ๆ

เราใส่ใจอย่างยิ่งกับข้อมูลบิดเบือนที่อาจทำให้สุขภาพและชีวิตของผู้คนตกอยู่ในอันตราย ทำลายกระบวนการทางประชาธิปไตย หรือเป็นการสนับสนุนการเหยียดเชื้อชาติและประทุษวาจาที่เป็นอันตราย

เราบังคับใช้กระบวนการตรวจสอบความจริงและมาตรฐานของหลักฐานในการทำงานเช่นเดียวกันทุกครั้ง ไม่ว่าใครจะผู้ริเริ่มคำกล่าวอ้าง เราไม่พุ่งเป้าไปที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่ง อย่างไรก็ดี เราอาจตีพิมพ์งานตรวจสอบความจริงจำนวนมากที่อ้างอิงอยู่บนผู้เผยแพร่คำกล่าวอ้างบิดเบือนที่อาจเป็นอันตรายต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรมที่ AFP ยึดถือปฏิบัติเพื่อยึดมั่นอยู่บนความเป็นกลางและความเป็นอิสระที่ได้นี่ 

แหล่งอ้างอิงสาธารณะ 

งานตรวจสอบข้อเท็จจริงของเราตั้งอยู่บนข้อเท็จจริงที่มาจากแหล่งข้อมูลชั้นต้นที่ไม่ได้ฝักใฝ่ฝ่ายใดโดยมีนักข่าวตรวจสอบข้อเท็จจริงของเราเป็นผู้รวบรวม หลักฐานเหล่านี้ยังมาจากแห้มเก็บข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบแล้งของ AFP และหลักฐานที่ได้รับความร่วมมือจากนักข่าวภาคสนามสังกัดต่าง ๆ ทั่วโลก เรายังสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและอ้างอิงคำตอบของพวกเขางานตรวจสอบความจริงของเรา เราระบุตัวตนว่าพวกเขาทำงานให้ใคร มีความเชี่ยวชาญด้านใด และมีโอกาสที่จะมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ เราต้องได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญอิสระอย่างน้อยสองรายก่อนที่จะพิสูจน์ว่าคำกล่าวอ้างหนึ่ง ๆ

เรามุ่งมั่นที่จะเผยแพร่ขั้นตอนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของเราอย่างโปร่งใสด้วยการแนบและฝังลิงก์ที่เราอ้างอิง บันทึกภาพหน้าจอ แนบภาพถ่าย และใช้เครื่องมือบันทึกหลักฐานทางดิจิทัลที่เราใช้เพื่อนำมาซึ่งข้อสรุป เป้าหมายของเราคือการทำให้ผู้อ่านเข้าใจวิธีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและสามารถนำขั้นตอนเหล่านี้ไปใช้ได้ด้วยตนเอง

ตามกฎพื่นฐานของ AFP เราจะไม่ใช้แหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตนในการตรวจสอบข้อเท็จจริง ทั้งนี้ อาจมีกรณียกเว้นหากแหล่งข่าวตกอยู่อยู่ในความเสี่ยงและข้อมูลที่เราได้รับมานั้นจำเป็นต่อการพิสูจน์ข้อเท็จจริงและได้รับการสนับสนุนจากแหล่งข่าวสาธารณะอื่น ๆ

เราจะระบุอย่างชัดเจนในงานตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา หากเราพบว่ามีข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งในคำกล่าวอ้างที่เราตรวจสอบอยู่เป็นความจริง ซึ่งจะต้องได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานที่ชัดเจน

เครื่องมือและแนวทางการพิสูจน์ความจริง

เราใช้ทักษณะทางวารสารศาสตร์ดั้งเดิมและเครื่องมือขั้นพื้นฐานหลายประเภท เรายังใช้สามัญสำนึกและความระมัดระวัง

ยกตัวอย่างเช่น หากเราเชื่อว่าภาพหนึ่ง ๆ ถูกดัดแปลงหรือนำเสนอในเนื้อหาที่แปลกแยกออกไป เราจะค้นหาย้อนกลับไปยังภาพต้นฉบับและพยายามพูดคุยกับผู้ถ่ายภาพหรือผู้ที่ถูกถ่ายภาพดังกล่าวเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือหากเรากำลังตรวจสอบคำกล่าวอ้างที่ใช้ชุดข้อมูลหนึ่ง ๆ ในการสนับสนุนคำกล่าวอ้างนั้น เราจะค้นหาแหล่งที่มาปฐมภูมิและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในประเด็นมุมมองของพวกเขาต่อชุดข้อมูลสถิติที่ถูกนำเสนอในคำกล่าวอ้าง

เราใช้เครื่องมือจัดเก็บถาวรเช่น Wayback Machine หรือ Perma CC เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มจำนวนคลิกใให้กับเว็บที่เผยแพร่ข้อมูลเท็จ และเพื่อเก็บบันทึกหลักฐานหากมีการแก้ไขหรือดัดแปลงในเวลาต่อมา

ด้านล่างคือวิธีการโดยปกติที่เราใช้ตรวจสอบข้อเท็จจริง:

ค้นหาภาพ

ข้อมูลเท็จจำนวนมาก เกิดจากการนำภาพเก่ามาตีความใหม่ในบริบทที่ผิดไปจากเดิม

เพื่อหาภาพต้นฉบับ เราเริ่มจากการค้นหาภาพย้อนกลับด้วยการนำรูปภาพที่เราต้องการค้นหาใส่ลงไปในเครื่องมือค้นหาภาพเครื่องมือหนึ่งหรือหลายเครื่องมือ เพื่อตรวจสอบว่าเคยมีการโพสต์ภาพดังกล่าวมาก่อนหรือไม่

การคลิกขวาที่รูปภากในเบราว์เซอร์อย่างกูเกิลโครม จะมีตัวเลือก “ค้นหาภาพในกูเกิล” ขึ้นมา เครื่องมือค้นหาจะประมวลผลว่าในระบบมีภาพที่คล้ายหรือใกล้เคียงกับภาพ

เราใช้ส่วนต่อขยาย InVid/We Verify เป็นประจำและนำให้คุณติดตั้งเช่นเดียวกัน เครื่องมือนี้จะเพิ่มตัวเลือกในการค้นห้ารูปภาพเครื่องมือค้นหาทั้ง Google, Bing, Yandex, TinEye (ด้วยรูปเท่านั้น) และ Baidu เพียงแค่คุณกดคลิกขวาบนภาพที่คุณต้องการค้นหาเมื่อคุณติดตั้งส่วนต่อขยายเรียบร้อยแล้ว

การค้นหาภาพย้อนหลังอาจไม่แสดงผลตรงตามที่เราต้องการเสมอไป เพราะภาพที่ถูกตรวจสอบอาจไม่เคยปรากฏในอินเทอร์เน็ตมาก่อน หรือยัไงม่ได้ถูกนำเข้าระบบ บางครั้งเครื่องมือการค้นหาภาพย้อนหลังอาจสับสนหากภาพที่เราค้นหาถูกพลิกกลับด้าน เช่นในกรณีนี้ที่เราเจอกับเรื่องของอดีตนายกรัฐมนตรีแห่งญี่ปุ่น

ด้วบเหตุนี้ เราจึงต้องสังเกตเบาะแสในรูปภาพด้วย (เช่น ป้ายร้าน ป้ายถนน สถาปัตยกรรม ต้นไม้ หรือแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์) เพื่อหาตำแหน่งแหละเวลาที่แน่ชัดของรูปภาพ

ยกตัวอย่างเช่น ในรูปที่เห็นอยู่ด้านล่างนั้น เราพิสูจน์ว่าภาพถ่ายนี้ถูกถ่ายที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ด้วยการเปรียบเทียบรายละเอียดด้านสถาปัตยกรรมและป้ายต่าง ๆ ในรูป (ซ้าย) กับภาพถ่ายวิวถนน (Street View) ของ Google Maps (ขวา) 

Image
Désactivé

ภาพถ่ายและวิดีโออย่างเดียวมักไม่เพียงพอต่อการพิสูจน์ความจริง เรายังต้องตรวจสอบความเชื่อมโยงของภาพหนึ่ง ๆ เข้ากับข้อมูลประกอบ อาทิ วันที่เผยแพร่และรายละเอียดภายในภาพนั้น เช่น สภาพอากาศ

เมื่อต้องตรวสอบภาพต้องสงสัย เราพยายามตามหาไฟล์ของภาพต้นฉบับมาให้ได้เพื่อพิสูจน์ว่าภาพต้องสงสัยนั้นถูกดัดแปลงหรือไม่

การตรวจสอบวิดีโอ

สำหรับการตรวจสอบวิดีโอ เราใช้เครื่องมือส่วนต่อขยายของ Chrome อย่าง InVid/WeVerify ที่ AFP ร่วมพัฒนา เครื่องมือดังกล่าวช่วยให้เราสามารถสร้างไฟล์ภาพขนาดย่อ (thumbnail) จากคลิปวิดีโอ และสามารถนำไปค้นหาภาพย้อนหลังต่อได้

Image
Désactivé

เครื่องมือนี้ยังช่วยได้อย่างดีในกรณีที่เราสงสัยว่าภาพที่เราต้องการตรวจสอบถูกพลิกกลับด้าน โดยเราสามารถพลิกกลับข้างรูปในเครื่องมือนี้ได้

การค้นหาและพิสูจน์คำพูดและข้อมูล

การคัดลอกและวางข้อความลงในเครื่องมือค้นหามักช่วยยืนยันได้ว่าเคยมีการเผยแพร่ข้อความนั้นบนโลกออนไลน์มาก่อนหรือไม่

หากมีการอ้างว่าใครพูดอะไร เราจะค้นหาแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ (ไฟล์บันทึกเสียงหรือวิดีโอ หรือบันทึกการถอดเสียงอย่างเป็นทางการ) รวมถึงการตรวจสอบบัญชีออนไลน์ของบุคคลที่ถูกกล่าวอ้างถึงเพื่อการยืนยันข้อเท็จจริง เราจะพยายามติดต่อตัวบุคคลโดยตรงเพื่อพิสูจน์คำพูดที่ถูกนำไปกล่าวอ้าง

ในกรณีที่เราต้องตรวจสอบข้อมูลเชิงปริมาณ เราจะศึกษางานวิจัยต้นฉบับและตรวจสอบวิธีการศึกษาวิจัย เรายังพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญซึ่งอาจเป็นผู้เขียนงานวิจัยต้นฉบับดังกล่าวหรือผู้เชี่ยวชาญรายอื่น ๆ ที่มีประวัติการศึกษาวิจัยในแวดวงเดียวกันเพื่อพิสูจน์ว่าข้อมูลที่ถูกกล่าวอ้างนั้นถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดหรือไม่

เรามักต้องตรวจสอบข้อมูลที่เราไม่เชี่ยวชาญอยู่บ่อยครั้ง ในกรณีเช่นนี้ เราจะร่วมมือกับนักข่าว AFP ที่มีความเชี่ยวชาญในประเด็นนั้น ๆ หรือในภูมิภาคและภาษานั้น ๆ เราทำงานใกล้ชิดกับบรรณาธิการตรวจสอบข้อเท็จจริงของ AFP ซึ่งกระจายอยู่ทั่วโลกเพื่อตรวจสอบทุกแง่มุมของคำกล่าวอ้างที่อาจมีส่วนเกี่ยวโยงกับภูมิภาคอื่น ๆ

การตรวจสอบยืนยันความถูกต้องจากหลายแหล่ง

เมื่อรูปภาพหรือข้อมูลที่ได้รับการเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ตดูไม่น่าเชื่อถือ โดยเฉพาะเมื่อไม่ได้มีการอ้างอิงแหล่งที่มา การตอบสนองแรกของเราคือการเข้าไปอ่านและตรวจสอบความคิดเห็นในโพสต์ ข้อมูลจากการแสดงความคิดเห็นอาจจะช่วยตั้งคำถามเรื่องข้อเท็จจริงในโพสต์หรือเบาะแสอื่นๆ ได้

หากมีการอ้างอิงถึงบุคคลหรือว่าองค์กร เราจะติดต่อไปเพื่อให้บุคคลหรือว่าองค์กรที่ถูกกล่าวอ้างในโพสต์เพื่อขอคำชี้แจงได้

หากมีคำถามถึงการเผยแพร่รูปภาพหรือว่าวิดีโอ เราจะหารูปภาพจากเหตุการณ์เดียวกันเพื่อเปรียบเทียบ เราจะพยายามติดต่อไปยังเจ้าของภาพ และอ้างอิงถึงแหล่งที่มารวมถึงสถานที่และเวลาในกรณีที่สามารถทำได้

ไม่ใช่แค่อินเทอร์เน็ต

บางครั้งการใช้อินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์ก็ไม่เพียงพอต่อการตรวจสอบข้อเท็จจริง เฉกเช่นเดียวกันกับสื่อสารมวลชนทั้งหมด บางครั้งเราต้องลงพื้นที่ เมื่อคำกล่าวอ้างบางอย่างต้องตรวจสอบด้วยการลงพื้นที่ เราจะส่งนักข่าวของเราลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยตาและหูของพวกเขาเอง เราทำงานใกล้ชิดกับนักข่าว AFP ที่ลงพื้นที่ข่าวทั่วโลก

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเดือนเมษายน 2565 ตอนที่เจ้าหน้าที่ของรัสเซียอ้างว่าวิดีโอที่แสดงภาพถนนสายหนึ่งที่เต็มไปด้วยศพมากกว่า 12 ศพ ในเมืองบูชาของยูเครนเป็นวิดีโอที่ถูดจัดฉากขึ้น กลุ่มนักข่าว AFP ผู้บันทึกภาพดังกล่าวด้วยตัวพวกเขาเองยืนยันกับบรรณาธิการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าร่างไร้ชีวิตเหล่านั้นไม่ได้เคลื่อนไหว อย่างที่ถูกกล่าวอ้าง และร่างเหล่านั้นเต็มไปด้วยสัญญาณที่บ่งบอกว่าพวกเขาเสียชีวิตมาแล้วหลายวัน 

การแก้ไขและการจัดอันดับ

นักข่าวของเราติดต่อประสานงานกับบรรณาธิการภูมิภาคตลอดกระบวนการผลิตชิ้นงานตรวจสอบข้อเท็จจริง บรรณาธิการหารือคำกล่างอ้างและนำเสนอประเด็นตรวจสอบข้อเท็จจริงให้กับนักข่าว พร้อมช่วยประเมินและอธิบายหลักฐานที่ต้องใช้เพื่อการพิสูจน์ข้อเท็จจริง รวมถึงการแก้ไขบทความก่อนเผยแพร่

งานตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ตีพมิพ์ลงบนเว็บไซต์ของ AFP มีการจัดอันดับเพื่อระบุให้ผู้แ่านได้รับทราบว่าบทสรุปของเราในแต่ละการตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร การจัดอันดับจะถูกระบุไว้ที่ภาพหัวเรื่องซึ่งจะอยู่บริเวณบนสุดของบนความ อย่างที่เห็นได้ในตัวอย่างด้านล่าง หรือจะถูกอธิบายไว้ที่ช่วงกล่าวนำของเรื่อง

Image
Désactivé

คำศัพท์ที่เราใช้ได้แก่:

  • ปลอม – เราระบุว่าคำกล่าวอ้างปลอมเมื่อแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้จากหลายแหล่งแห่งพิสูจน์ว่าคำกล่าวอ้างนั้นเป็นเท็จ
  • จริง – เราระบุว่าคำกล่าวอ้างนั้นเป็นจริงเมื่อแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้จากหลายแหล่งพิสูจน์ว่าข้อมูลนั้นเป็นจริง
  • เข้าใจผิด – เราระบุว่าคำกล่าวอ้างเป็นเรื่องเข้าใจผิดเมื่อคำกล่าวอ้างดังกล่าวมีส่วนของข้อมูลที่เป็นความจริง (ข้อความ รูปภาพ หรือวิดีโอ) แต่ถูกนำมาใช้ผิดบริบทหรือนำมาประกอบร่วมกับข้อมูลเท็จ
  • ดัดแปลงรูป – เมื่อภาพหนึ่ง ๆ ถูกดัดแปลงเพื่อหลอกลวง
  • ดัดแหลงวิดีโอ – เมื่อวิดีโอหนึ่ง ๆ ถูกดัดแปลงเพื่อหลอกลวง
  • ขาดบริบท – เมื่อคำกล่าวอ้างมีส่วนที่เป็นความจริงแต่ถูกนำมาหลอกลวงด้วยปราศจากข้อมูลเพิ่มเติม
  • เสียดสี – เมื่อคำกล่าวอ้างเป็นเท็จและมีความเป็นไปได้ที่จะหลอกลวงผู้คน แต่อาจจะไม่ใช่คำกล่าวอ้างที่ตั้งใจหลอกลวงผู้คนตั้งแต่แรก (อาทิ เรื่องตลก คำหยอกล้อ)
  • เรื่องหลวงลวก – เมื่อภาพหรือเหตุการณ์ถูกปลอมแปลง
  • ดีปเฟค (การปลอมแปลงด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง) – เมื่อไฟล์บันทึกวิดีโอหรือเสียงถูกดัดแปลงด้วยการใช้ปัญญาประกิษฐ์เพื่อปลอมแปลงวิดีโอหรือเสียงนั้นให้เสมือนจริง

ผู้อ่านสามารถอ่านรายละเอียดกระบวนการพิสูจน์ความจริงและแนวทางบรรณาธิการได้ที่ แบบแผนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของ AFP

 

ความร่วมมือกับแพลตฟอร์มออนไลน์

โปรแกรมเมต

ในฐานะส่วนหนึ่งของโปรแกรมตรวจขสอบข้อเท็จจริงด้วยหน่วยงานบุคคลที่สามของเฟซบุ๊ก เราพิจารณาโพสต์ที่แพลตฟอร์มเฟซบุ๊กแจ้งเตือนในฐานะหนึ่งในเนื้อหาที่เราสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ นอกจากนี้ งานตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรายังปรากฏอยู่บนโพสต์ในเฟซบุ๊กที่เราจัดอันดับว่าเป็นโพสต์ปลอม โพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด หรือโพสต์ที่ปราศจาบริบทสำคัญ

วอสต์แอปป์

บรรณาธิการตรวจสอบลข้อเท็จจริงของเราในบราซิล เม็กซิกโซ สหรัฐอเมริกา (แผนกภาษาสเปน) อินเดีย เยอรมี และฝรั่งเศส เปิดรับการชี้เบาะแสโพสต์ปลอมจากแอปพลิเคชันสนทนาวอสต์แอปป์เพื่อให้สาธารณะชนสามารถส่งคำกล่าวอ้างที่อาจเป็นเรื่องเท็จมาให้เราตรวจสอบได้

เครื่องมือ Claim Review 

AFP ใช้เครื่องมือ Claim Review ในการผลิตรายงานตรวจสอบข้อเท็จจริง เครื่องมือนี้จะอนุญาตให้เครื่องมืออย่าง Google และ Bing สามารถนำเสนอรายงานตรวจสอบข้อเท็จจริงเมื่อผู้ใช้งานค้นหาคำกล่าวอ้างดังที่เฉพาะเจาะจง

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับความร่วมมือและเงินทุนสนับสนุนได้ที่ี่