
วิดีโอระเบิดในฉนวนกาซาปี 2566 ถูกแชร์อย่างผิด ๆ ว่าเป็นความขัดแย้งล่าสุดในอินเดีย-ปากีสถาน
- เผยแพร่ วันที่ 9 พฤษภาคม 2568 เวลา 10:59
- อัพเดตแล้ว วันที่ 9 พฤษภาคม 2025 เวลา 11:17
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
- เขียนโดย: Chayanit ITTHIPONGMAETEE, AFP ประเทศไทย
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2568 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
"อินเดีย ถล่ม ปากีสถาน" โพสต์เฟซบุ๊กเขียนคำบรรยายเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2568
The post includes footage of multiple nighttime explosions. The video bears the logo of Pakistani news outlet ARY News, which shared the clip on its page.
โพสต์ดังกล่าวแชร์คลิปวิดีโอที่แสดงภาพระเบิดต่อเนื่องในช่วงกลางคืน ซึ่งปรากฏโลโก้ของสื่อของปากีสถานชื่อ ARY News บริเวณมุมขวาล่างของคลิป

สื่อของกองทัพปากีสถานได้เผยแพร่วิดีโอดังกล่าวไปยังสำนักข่าวต่าง ๆ รวมถึง AFP หลังการโจมตีของอินเดีย
วิดีโอเดียวกันนี้ยังถูกแชร์ในโพสต์ภาษาไทย พม่า ฮินดี สิงหล และอังกฤษ นอกจากนี้ สถานีข่าว 92 News ในปากีสถานและสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสก็เผยแพร่วิดีโอดังกล่าวอย่างผิด ๆ ว่าเป็นภาพจากเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างอินเดียและปากีสถานเช่นกัน
อินเดียและปากีสถานต่างคู่ปรับมหาอำนาจนิวเคลียร์ในเอเชียใต้ โดยทั้งสองประเทศต้องเผชิญกับสถานการณ์ความรุนแรงที่สุดในรอบสองทศวรรษหลังอินเดียเปิดฉากยิงขีปนาวุธใส่ปากีสถาน ก่อนที่การยิงปะทะตามแนวพรมแดนจะยกระดับกลายเป็นการยิงปืนใหญ่ต่อเนื่องหลายวัน (ลิงก์บันทึก)
อินเดียกล่าวหาปากีสถานว่าอยู่เบื้องหลังเหตุโจมตีนักท่องเที่ยวในแคชเมียร์เมื่อสองสัปดาห์ก่อน โดยปากีสถานปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา
ปากีสถานระบุว่ามีพลเรือนเสียชีวิต 31 ราย จากการโจมตีของอินเดีย ขณะที่อินเดียระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 13 ราย และทหารอีกหนึ่งนาย จากการโจมตีของปากีสถาน
อย่างไรก็ตาม วิดีโอนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับสถานการณ์รุนแรงครั้งล่าสุด
การค้นหาภาพแบบย้อนหลังโดยใช้คีย์เฟรมต่าง ๆ พบวิดีโอเดียวกันนี้ถูกแชร์ในโพสต์ X ของสำนักข่าวอัลจาซีรา ปาเลสไตน์ (Al Jazeera Palestine) เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2566 โดยคำบรรยายภาษาอาหรับระบุว่า "ภาพเหตุโจมตีอย่างรุนแรงของอิสราเอลที่เมืองเบตลาฮิยา ทางตอนเหนือของฉนวนกาซา" (ลิงก์บันทึก)


การค้นหาด้วยคำสำคัญเพิ่มเติมยังพบว่าสื่อตุรกีอย่างทีอาร์ที ฮาเบอร์ (TRT Haber) ก็เผยแพร่คลิปดังกล่าวในวันเดียวกัน โดยรายงานระบุว่าอิสราเอลยิงโจมตีเป้าหมายกว่า 320 แห่ง ในฉนวนกาซาภายในคืนเดียว เป็นเหตุให้ชาวปาเลสไตน์ราว 400 ราย เสียชีวิต (ลิงก์บันทึก)
อัล มานาร์ (Al Manar) สื่อของเลบานอน ก็ใช้ภาพถ่ายหน้าจอจากเดียวกันนี้ในรายงานเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2566 โดยระบุว่าการโจมตีของอิสราเอลทำให้เกิดการอพยพหลายจุดในฉนวนกาซา (ลิงก์บันทึก)
AFP รายงานโดยอ้างอิงตัวเลขจากทางการว่า เหตุโจมตีของกลุ่มฮามาสทางตอนใต้ของอิสราเอลเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1,218 ราย ในฝั่งอิสราเอล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลเรือน
อิสราเอลจึงปฏิบัติการตอบโต้ทางทหารในวันที่ 7 ตุลาคม ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตในฉนวนกาซาแล้วอย่างน้อย 52,653 ราย ตัวเลขดังกล่าวอ้างอิงข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขที่บริหารโดยกลุ่มฮามาสซึ่งองค์การสหประชาชาติระบุว่าเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ (ลิงก์บันทึก)
ก่อนหน้านี้ AFP ได้ตรวจสอบคำกล่าวอ้างที่เกี่ยวกับเหตุโจมตีในแคชเมียร์ สามารถอ่านรายงานภาษาไทยได้ที่นี่
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา