รัฐบาลญี่ปุ่นไม่ได้ประกาศว่าจะทิ้งเตาอบไมโครเวฟทั้งหมดในประเทศเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน

  • บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
  • เผยแพร่ วัน 1 กันยายน 2021 เวลา 05:31
  • ใช้เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
  • เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
คำกล่าวอ้างที่ระบุว่ารัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศจะเลิกใช้เตาอบไมโครเวฟทั่วประเทศภายในปี 2564 โดยประชาชนหรือองค์กรที่ฝ่าฝืนมาตรการจะมีโทษทางกฏหมาย ได้ถูกแชร์ออกไปในหลายโพสต์ทางเฟซบุ๊ก คำกล่าวอ้างนี้เป็นเท็จ รัฐบาลญี่ปุ่นไม่เคยประกาศห้ามใช้งานเตาอบไมโครเวฟ สำนักข่าว AFP พบว่าเนื้อหาดังกล่าวถูกเผยแพร่ในบทความออนไลน์ของเว็บไซต์ที่ผลิตเนื้อหาล้อเลียนเสียดสีในประเทศรัสเซีย

คำกล่าวอ้างนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2564

Image

 

คำบรรยายบางส่วนของโพสต์เขียนว่า “รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตัดสินใจที่จะทิ้งเตาอบไมโครเวฟทั้งหมดในประเทศภายในสิ้นปีนี้และประชาชนและองค์กรที่ไม่สามารถตอบสนองต่อคำขอทั้งหมดจะถูกปรับและถูกจำคุก”

คำกล่าวอ้างเดียวกันได้ถูกแชร์ในโพสต์ในประเทศไทยทางเฟซบุ๊กที่นี่ ในปี 2564 และ นี่ ในปี 2563

คำกล่าวอ้างนี้เป็นเท็จ การค้นหาด้วยคำสำคัญ “เตาอบไมโครเวฟ” บนเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการของรัฐบาลญี่ปุ่น ไม่พบเนื้อหาเกี่ยวกับการออกคำสั่งห้ามใช้ไมโครเวฟ

Image
ภาพถ่ายหน้าจอผลการค้นหาบนเว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุขแรงงานและสวัสดิการของประเทศญี่ปุ่น

การค้นหาแถลงการณ์ภาษาอังกฤษในบัญชีทวิตเตอร์ทางการของรัฐบาลญี่ปุ่นก็ไม่พบแถลงการณ์ใดๆ เกี่ยวกับเตาไมโครเวฟ

Image
ภาพถ่ายหน้าจอผลการค้นหาในบัญชีทวิตเตอร์ของรัฐบาลญี่ปุ่น

  

ขณะที่การค้นหาด้วยคำสำคัญ “เตาอบไมโครเวฟ” ในภาษาญี่ปุ่น บนเว็บไซต์ของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ก็ไม่พบผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับคำสั่งหรือข้อห้ามดังกล่าว

Image
ภาพถ่ายหน้าจอผลการค้นหาบนเว็บไซต์ของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น

การค้นหาด้วยคำสำคัญ สำนักข่าว AFP พบคำกล่าวอ้างที่ไม่มีข้อมูลอ้างอิง เกี่ยวกับคำสั่งการห้ามใช้เตาอบไมโครเวฟของประเทศญี่ปุ่นในทวิตเตอร์ของ Panorama เว็บไซต์เนื้อหาล้อเลียนเสียดสีของประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2562

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของทวิตเตอร์ Panorama

ทวีตดังกล่าวถูกโพสต์ในวันเดียวกันกับบทความฉบับนี้บนเว็บไซต์ Panorama

Image
ภาพถ่ายหน้าจอบทความของ Panorama

บทความดังกล่าวเขียนพาดหัวภาษารัสเซีย ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า: “ญี่ปุ่นจะเลิกใช้เตาอบไมโครเวฟภายในปี 2563”

ตัวอักษรสีเหลืองบนโลโก้ของเว็บไซต์ Panorama เขียนระบุว่าเป็น “บทความล้อเลียนเสียดสี” ขณะที่ตัวอักษรที่เหลือเขียนว่า “สำนักพิมพ์ Panorama ตั้งแต่ปี 1822”

Image
ภาพถ่ายหน้าจอโลโก้ของ Panorama

นอกจากนี้ Snopes เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริงในสหรัฐฯ เผยแพร่รายงานฉบับนี้ เกี่ยวกับโพสต์ที่แชร์คำกล่าวอ้างเท็จดังกล่าว

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?

ติดต่อเรา