คลิปวิดีโอเก่าที่แสดงสัตว์หลุดมาวิ่งบนถนน ถูกแชร์ว่าเชื่อมโยงกับเหตุจลาจลในประเทศฝรั่งเศส

ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ได้แชร์คลิปตัดต่อซึ่งมียอดรับชมนับล้านครั้ง พร้อมคำกล่าวอ้างว่าวิดีโอดังกล่าวแสดงให้เห็นภาพสิงโต กอริลลา และสัตว์ชนิดอื่นๆ หลุดออกมาสู่ถนนในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ท่ามกลางความไม่สงบที่ปะทุขึ้นหลังเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงวัยรุ่นผิวดำเสียชีวิต อย่างไรก็ตาม คำกล่าวอ้างดังกล่าวเป็นเท็จ วิดีโอเหล่านี้เป็นการรวบรวมคลิปสัตว์ที่หลุดออกมาจำนวนมากเข้าด้วยกัน ทั้งยังเป็นคลิปเก่าที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุจลาจล มีเพียงบางคลิปเท่านั้นที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศสจริง

คำบรรยายโพสต์พร้อมคำกล่าวอ้างเท็จถูกเผยแพร่เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 โดยระบุว่า “ประชาธิปไตยจริงๆ ผู้ชุมนุมประท้วงฝรั่งเศส ปล่อยสัตว์ออกจากสวนสัตว์!! ช่างเมตตาสัตว์เสียจริงๆ สัส!!”

โพสต์ดังกล่าวแชร์วิดีโอทั้งหมด 5 คลิป แสดงให้เห็นภาพสัตว์ต่างๆ ทั้งม้าลาย นกกระจอกเทศ กอริลลา ช้าง และสิงโต หลุดออกมาอยู่บนท้องถนน

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์พร้อมคำกล่าวอ้างเท็จ

โพสต์เท็จเหล่านี้ยังถูกเผยแพร่ในหมู่ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศอีกด้วย พวกเขาได้โพสต์คลิปสิงโตที่หลุดออกมาเดินบนท้องถนนบนช่องทางติ๊กตอกที่มีผู้รับชมมากถึง 3.8 ล้านครั้ง

คลิปของสัตว์ต่างๆ เหล่านี้ได้รับความสนใจอีกครั้ง ท่ามกลางเหตุจลาจลในเมืองหลวงของฝรั่งเศส หลังเจ้าหน้าที่ตำรวจสังหารนาเฮล เอ็ม วัยรุ่นอายุ 17 ปีเชื้อสายโมร็อกโกและแอลจีเรีย ขณะถูกเรียกให้จอดรถเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน เหตุการณ์ดังกล่าวได้จุดชนวนให้เกิดการปะทะระหว่างผู้ชุมนุมกับตำรวจ เนื่องด้วยปมเหยียดเชื้อชาติสีผิว และการใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ทว่าคลิปวิดีโอทั้งหมดนี้ล้วนเป็นคลิปเก่า อีกทั้งคลิปจำนวนมากไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศฝรั่งเศส

แมทธิว เดส์กอมบ์ โฆษกแห่งสวนสัตว์ปารีสกล่าวกับ AFP ผ่านอีเมลเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคมว่า “ภาพเหล่านี้ที่มาพร้อมคำกล่าวอ้างผิดๆ ถูกถ่ายในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อหลายปีที่แล้ว ในฝรั่งเศสบ้าง ในต่างประเทศบ้าง และสัตว์เหล่านั้นไม่ได้ถูกปล่อยออกมาจากสวนสัตว์”

“พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแห่งฝรั่งเศสยืนยันว่าไม่มีสัตว์ตัวใดจากสวนสัตว์ปารีส หรือสวนสัตว์ฌาร์แด็ง เดส์ ปลังส์ หลุดออกไปบนท้องถนนของปารีสหรือพื้นที่ในแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์” เดส์กอมบ์ กล่าว “ทางสวนสัตว์และทีมงานขอยืนยันและรับรองด้านความปลอดภัยของสัตว์ นักท่องเที่ยว และชาวปารีส”

สิงโต

วิดีโอความยาว 15 วินาทีแสดงให้เห็นสิงโตจำนวนหนึ่งกำลังเดินอยู่บนท้องถนนที่มีรถยนต์จอดอยู่

เมื่อใช้เครื่องมือการค้นหาภาพย้อนหลัง AFP พบว่า วิดีโอเดียวกันนี้ถูกโพสต์ผ่านโซเชียลมีเดียทั้งเฟซบุ๊ก ยูทูป และช่องทางอื่นๆ (ลิงค์บันทึกนี่ นี่และนี่) เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2563 โดยคำบรรยายวิดีโอระบุว่า นี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ สวนสัตว์เปิดโนว์สลี่ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเมืองเพลสคอตในประเทศอังกฤษ

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เท็จ

 

 

นอกจากนี้ AFP ยังพบว่าป้ายทะเบียนของรถที่ปรากฏในวิดีโอเป็นป้ายทะเบียนรถในสหราชอาณาจักร

ส่วนอีกคลิปวิดีโอที่แสดงให้เห็นสิงโตนั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ สวนสัตว์เปิดโนว์สลี่เช่นเดียวกัน โดยวิดีโอต้นฉบับถูกโพสต์ลงติ๊กตอกในช่วงเดือนกันยายน ปี 2563 (ลิงค์บันทึก)

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เท็จที่ถูกเผยแพร่ในต่างประเทศ
@emma.cxmpbell The most intense 33 seconds Original version. FAQ- It’s Knowsley Safari Park, England and yes they are real @_toddyr ♬ original sound - E M M A ✨

 

 

เอียน ดุ๊ก ผู้จัดการของสวนสัตว์โนว์สลี่ กล่าวกับ AFP ทางอีเมลว่า “สิงโตจากทั้งสองคลิปวิดีถูกถ่ายที่นี่ ซึ่งก็คือสวนสัตว์เปิดโนว์สลี่นั่นเอง”

สำหรับวิดีโอที่แสดงให้เห็นสิงโตฝูงหนึ่งเดินบนถนนในตอนกลางคืนนั้น ก็เป็นวิดีโอที่ถูกนำมาแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างเท็จเช่นเดียวกัน

คลิปต้นฉบับมาจากวิดีโอจากกล้องวงจรปิดที่บันทึกภาพสิงโตในรัฐคุชราต ประเทศอินเดีย (ลิงค์บันทึก) ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี2566 ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวถูกรายงานโดยสำนักข่าวที่นี่ (ลิงค์บันทึก)

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เท็จที่ถูกเผยแพร่ในต่างประเทศ
Image
ภาพบันทึกหน้าจอจากโพสต์โพสต์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอินเดีย บันทึกเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566

 

 

ม้าลายและม้าพันธุ์เล็ก

ส่วนอีกคลิปวิดีโอที่ถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างเท็จนั้น เป็นวิดีโอที่แสดงให้เห็นม้าลายหนึ่งตัวและม้าพันธุ์เล็กสองตัววิ่งอยู่บนท้องถนน โดยมีคนขี่รถจักรยานยนต์ปรากฏอยู่ด้วย

การค้นหาภาพย้อนหลังพบว่า วิดีโอเดียวกันนี้ถูกโพสต์ตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2563 (ลิงค์บันทึก) ซึ่งสำนักข่าวได้รายงานว่าเป็นเหตุการณ์ที่สัตว์หลุดออกมาจากคณะละครสัตว์ที่จัดแสดงในย่านออร์เมซอง-ซูค์-มานน์ ซึ่งเป็นย่านชานเมืองของกรุงปารีส นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์เลอปารีเซียงยังได้เผยแพร่คลิปวิดิโอดังกล่าวในยูทูปอีกด้วย (ลิงค์บันทึก)

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เท็จที่ถูกเผยแพร่ในต่างประเทศ

 

 

แรด

คลิปวิดีโอไวรัลอีกคลิปหนึ่งแสดงให้เห็นแรดตัวหนึ่งออกมาเดินบนท้องถนน ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับผู้ที่พบเห็น

ข้อมูลจากโพสต์บนเฟซบุ๊กระบุว่า วิดีโอต้นฉบับนี้ (ลิงค์บันทึก) ถูกถ่ายในเดือนพฤศจิกายน ปี 2562 “บริเวณใกล้ๆ กับอุทยานแห่งชาติจิตวันในประเทศเนปาล”

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เท็จที่ถูกเผยแพร่ในต่างประเทศ

 

 

AFP ได้ตรวจสอบสัญลักษณ์ต่างๆ รวมไปถึงโรงแรม Hotel Peacock และร้านขายเสื้อผ้า Coshelee ซึ่งยืนยันว่า สถานที่ที่ปรากฏในวิดีโอดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศเนปาลจริง

ช้าง

สำหรับคลิปวิดีโอที่แสดงให้เห็นช้างเดินข้ามถนนนั้น AFP พบคลิปวิดีโอต้นฉบับซึ่งถูกแชร์ในเดือนมิถุนายน ปี 2561 (ลิงค์บันทึก) ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณปั๊มน้ำมันเชลล์ ในเมือง Neuwied ประเทศเยอรมี (ลิงค์บันทึก)

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เท็จที่ถูกเผยแพร่ในต่างประเทศ
Image
ภาพบันทึกหน้าจอจากโพสต์โพสต์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเยอรมนี บันทึกเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2566

 

 

สำนักข่าว Deutsche Welle และสำนักข่าวอื่นๆ รวมถึง AFP ได้รายงานว่า ช้างตัวดังกล่าวชื่อ คีเนีย และหลุดออกมาจากคณะละครสัตว์ที่ตั้งอยู่บริเวณนั้น

แพะ

วิดีโอที่แสดงให้เห็นแพะหลุดออกมาเดินบนท้องถนนถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างเท็จว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างเหตุจลาจลในฝรั่งเศสเช่นเดียวกัน

วิดีโอดังกล่าวถูกเผยแพร่บนโลกออนไลน์ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2566 ทางติ๊กตอก (ลิงค์บันทึก) แม้ AFP ไม่สามารถระบุได้ว่าวิดีโอดังกล่าวถูกถ่าย ณ สถานที่ใด แต่พบว่าชายคนหนึ่งในคลิปวิดีโอดังกล่าวพูดภาษาฝรั่งเศส

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เท็จที่ถูกเผยแพร่ในต่างประเทศ

 

 

หงส์

สำหรับวิดีโอที่แสดงให้เห็นหงส์ตัวหนึ่งยืนอยู่บนสะพาน แม้ AFP ไม่สามารถยืนยันคลิปวิดีโอต้นได้ แต่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นวิดีโอจากประเทศสาธารณรัฐเช็ก โดยในคลิปวิดีโอมีคนใส่เสื้อกันหนาวซึ่งบ่งชี้ว่า ช่วงเวลาที่ถ่ายวิดีโอนั้นไม่ใช่ช่วงที่เกิดการประท้วง

จากการค้นหาตำแหน่งผ่านดาวเทียม AFP พบว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นบนสะพาน Legion ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับโรงภาพยนต์แห่งชาติในกรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก (ลิงค์บันทึก) รถตู้ตำรวจที่วิดีโอจับภาพได้นั้นสอดคล้องกับรถตำรวจในกรุงปราก ขณะที่รถรางหมายเลข 9357 ก็ให้บริการบนเส้นทางนั้นเช่นกัน

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เท็จที่ถูกเผยแพร่ในต่างประเทศ พร้อมเบาะแสเพิ่มเติมโดย AFP
Image
ภาพบันทึกหน้าจอภาพจากแผนที่กูเกิล บันทึกเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 พร้อมกับการบ่งชี้เพิ่งเติมโดย AFP

 

 

หมาป่า

สำหรับคลิปวิดิโอที่แสดงให้เห็นหมาป่ากำลังวิ่งอยู่บนทางเท้า AFP พบว่าเป็นวิดีโอเดียวกันกับวิดีโอที่ถูกโพสต์ในติ๊กตอก ตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2566 (ลิงค์บันทึก) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดขึ้นก่อนจะเกิดเหตุจลาจลในฝรั่งเศส ข้อความในวิดีโอระบุว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในเมืองมาร์กเซย ประเทศฝรั่งเศส

Image
ภาพถ่ายหน้าจอจากโพสต์เท็จที่ถูกเผยแพร่ในต่างประเทศ บันทึกเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566
@srn.dcr Seul personnes du 13010 connaisse la legende du #marseille#loup#choqué#pourtoi#fyp♬ son original - Srn

 

 

กอริลลา 3 ตัว

สำหรับคลิปวิดิโอที่แสดงให้เห็นกอริลลา 3 ตัวบริเวณหัวมุมตึก AFP พบวิดีโอในติ๊กตอกที่แสดงให้เห็นช่วงเวลาเดียวกัน เพียงแต่เป็นภาพสลับด้านกัน ซึ่งได้รับการเผยแพร่ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 2565 (ลิงค์บันทึก)

Image
ภาพถ่ายหน้าจอจากโพสต์เท็จที่ถูกเผยแพร่ในต่างประเทศ บันทึกเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566

 

 

วิดีโอติ๊กตอกดังกล่าวระบุว่า กอริลลาตัวหนึ่งชื่อว่า ชาบานิ ซึ่งเป็นกอริลลาภูเขาจากสวนสัตว์ฮิกาชิยามะ ในเมืองนาโกยา ประเทศญี่ปุ่น ก่อนหน้านี้ AFP ได้รายงานเกี่ยวกับความโด่งดังของชาบานิ ที่รูปร่างและหน้าตาของมันกลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวในปี 2558

วิดีโอของชาบานิยังแสดงให้เห็นภาพตึกและต้นไม้พุ่มเตี้ย ซึ่งสามารถรับชมวิดีโอดังกล่าวได้ทางยูทูป (ลิงค์บันทึก)

นกยูง

สำหรับภาพนกยูงบนท้องถนนนั้น ที่จริงแล้ว คลิปดังกล่าวมาจากแอปพลิเคชันสแนปแชต ก่อนจะถูกนำมาโพสต์ซ้ำในติ๊กตอก (ลิงค์บันทึก) โดยคลิปนี้ถูกโพสต์ครั้งแรกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปี2566

Image
ภาพถ่ายหน้าจอจากโพสต์เท็จที่ถูกเผยแพร่ในต่างประเทศ

 

 

จากเบาะแสในวิดีโอ AFP สามารถระบุตำแหน่งของวิดิโอดังกล่าวได้ว่าตั้งอยู่บนถนนสองสายในย่าน Stains ซึ่งตั้งอยู่ในย่านชานเมืองทางตอนเหนือของกรุงปารีส (ลิงค์บันทึกที่นี่และนี่)

Image
ภาพถ่ายหน้าจอจากโพสต์ในติ๊กตอก พร้อมเบาะแสเพิ่มเติมโดย AFP
Image
ภาพบันทึกหน้าจอภาพจากแผนที่กูเกิล บันทึกเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 พร้อมกับการบ่งชี้เพิ่งเติมโดย AFP

 

 

นกกระจอกเทศ

สำหรับวิดีโอที่แสดงให้เห็นฝูงนกกระจอกเทศนั้น ที่จริงแล้วเป็นวิดีโอถูกเผยแพร่ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2565

เดอะการ์เดียนและสื่ออื่นๆ ได้เผยแพร่วิดีโอเดียวกันนี้บนยูทูป (ลิงค์บันทึก) โดยรายงานว่าเป็นภาพที่แสดงให้เห็นฝูงนกกระจอกเทศราว 80 ตัวในเมืองฉงจั่ว ประเทศจีน หลังจากที่นกกระจอกเทศฝูงนี้หลุดออกมาจากฟาร์มแห่งหนึ่ง

Image
ภาพถ่ายหน้าจอจากโพสต์เท็จที่ถูกเผยแพร่ในต่างประเทศ บันทึกเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566

 

 

อูฐและวัว

สำหรับคลิปที่แสดงให้เห็นอูฐและวัวนั้น AFP พบว่าต้นฉบับของวิดีโอนั้นถูกเผยแพร่อยู่ในติ๊กตอกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 2565 (ลิงค์บันทึก)

Image
ภาพถ่ายหน้าจอจากโพสต์เท็จที่ถูกเผยแพร่ในต่างประเทศ บันทึกเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566
Image
ภาพบันทึกหน้าจอจากโพสต์ที่เผยแพร่ในต่างประเทศ บันทึกเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566

 

 

AFP สามารถระบุตำแหน่งในคลิปวิดีโอจากเบาะแสในวิดีโอ ว่าถ่ายที่ถนนแห่งหนึ่งในย่าน Gennevilliers ชุมชนแห่งหนึ่งในเขตชานเมืองด้านตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงปารีส (ลิงค์บันทึก)

Image
ภาพบันทึกหน้าจอจากโพสต์ในติ๊กต็อก พร้อมเบาะแสเพิ่มเติมโดย AFP
Image
ภาพถ่ายหน้าจอของภาพสตรีทวิวจากกูเกิ้ล พร้อมเบาะแสเพิ่มเติมโดย AFP

 

 

AFP ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับเหตุจลาจลในกรุงปารีสที่นี่และนี่

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?

ติดต่อเรา