นี่เป็นภาพถ่ายเหตุการณ์ไฟไหม้ที่ค่ายผู้ลี้ภัยชาวพม่าในประเทศไทยในปี 2556

  • บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
  • เผยแพร่ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 เวลา 07:30
  • อัพเดตแล้ว วันที่ 30 มิถุนายน 2021 เวลา 07:38
  • ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
  • เขียนโดย: AFP Thailand
ภาพถ่ายหนึ่งได้ถูกแชร์ในหลายโพสต์ทางเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และในรายงานข่าวภายหลังการก่อการรัฐประหารของกองทัพเมียนมาร์ในปี 2564 พร้อมคำกล่าวอ้างว่าเป็นภาพที่แสดงเหตุการณ์ความไม่สงบจากการปะทะกันระหว่างกองทัพเมียนมาร์และกลุ่มกบฏ อย่างไรก็ตาม คำกล่าวอ้างนี้ที่ทำให้เข้าใจผิด ภาพถ่ายดังกล่าวแสดงเหตุการณ์ไฟไหม้ที่ค่ายผู้ลี้ภัยชาวพม่าในประเทศไทย ปี 2556

ภาพถ่ายนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2564

คำบรรยายโพสต์ภาษาพม่าแปลเป็นภาษาไทยว่า “สถานการณ์ในมี่นดะนั่นแย่มากจริงๆ ได้โปรดออกมาพูดเพื่อต่อต้านการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ ถ้าคุณพูดไม่ได้ โปรดพิมพ์ว่า up”

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด

มี่นดะเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในรัฐชีนทางภาคตะวันตกของประเทศเมียนมาร์

กองทัพเมียนมาร์ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกในเมืองมิ่นดะ และเปิดฉากโจมตีด้วยปืนใหญ่หลังพลเมืองในเมืองรวมตัวกันเพื่อต่อต้านกองทัพหลังการก่อรัฐประหาร

มิ่นดะได้กลายเป็นพื้นที่ของการปะทะรุนแรงระหว่างกองทัพเมียนมาร์และกลุ่มกบฎต่อต้านรัฐประหาร สำนักข่าว AFP รายงาน

ภาพถ่ายเดียวกันปรากฏอยู่ในรายงานข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์การปะทะกันระหว่างกองทัพเมียนมาร์และ สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564

รายงานเขียนพาดหัวว่า “ปะทะเดือด! สะพัดเคเอ็นยูยิงฮ.เมียนมาร์ตก จับนักบิน-ทหาร”

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของรายงานข่าวที่ทำให้เข้าใจผิด

ภาพถ่ายเดียวกัน ถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันทางเฟซบุ๊กที่นี่และนี่ ทางทวิตเตอร์ที่นี่ และในรายงานข่าวออนไลน์ที่นี่และนี่

อย่างไรก็ตาม ภาพถ่ายดังกล่าวถูกเผยแพร่ในบริบทที่ทำให้เข้าใจผิด

ภาพดังกล่าวแสดงเหตุการณ์ไฟไหม้ที่ค่ายผู้ลี้ภัยแม่สุริน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปี 2556

การค้นหาภาพย้อนหลังทางกูเกิล พบภาพถ่ายเดียวกันถูกเผยแพร่ในรายงานฉบับนี้ของ Mizzima สื่อในประเทศเมียนมาร์ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2556

คำบรรยายภาพแปลเป็นภาษาไทยว่า “เกิดเหตุไฟไหม้ที่ค่ายผู้ลี้ภัยแม่สุริน เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2556 ภาพจากเฟซบุ๊ก: Karenni Further Studies Program

ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพดังกล่าวในรายงานข่าวที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพในรายงานข่าวของ Mizzima (ขวา):

Image
เปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพดังกล่าวในรายงานข่าวที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพในรายงานข่าวของ Mizzima (ขวา)

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?

ติดต่อเรา