
โพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิดสร้างความสับสน เกี่ยวกับข้อห้ามการเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วันที่ 14 กรกฎาคม 2564 เวลา 10:24
- อัพเดตแล้ว วันที่ 14 กรกฎาคม 2021 เวลา 10:59
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
- เขียนโดย: AFP Thailand
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2568 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
ภาพอินโฟกราฟฟิกนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2564 และได้ถูกแชร์ต่ออีกกว่า 1,100 ครั้ง
คำบรรยายโพสต์เขียนว่า “ป้อร๊ายยยย!!!! ป้าจี้ร้องกรี๊ดเลย อดบินไปดูโอลิมปิกแล้ว เมื่อทางญี่ปุ่นออกมาประกาศ อีก7 ชาติ!! ที่ห้ามเข้าประเทศ”
ภาพในโพสต์แสดงธงชาติของประเทศไทย กัมพูชา มองโกเลีย ศรีลังกา ติมอร์ตะวันออก เซเชลส์ และเซนต์ลูเซีย พร้อมข้อความที่เขียนว่า “7 ชาติห้าม!!! เข้าประเทศญี่ปุ่น”

คำกล่าวอ้างเดียวกัน ถูกแชร์ทางเฟซบุ๊กที่นี่ และทางทวิตเตอร์ที่นี่
โพสต์เหล่านี้ สร้างความสับสนให้แก่ผู้ใช้เฟซบุ๊ก โดยมีการคอมเมนต์ถามทำไมประเทศอย่างบราซิลและอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 สูงอันดับต้นๆ ของโลก ไม่ได้อยู่ในรายการประเทศห้ามเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่น
ผู้ใช้เฟซบุ๊กคนหนึ่งเขียนว่า “อินเดียกับบราซิล เข้าได้ ?”
ขณะที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กอีกคนหนึ่งเขียนว่า “พยามมองหาอินเดีย”
ญี่ปุ่นประกาศภาวะฉุกเฉินจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า ก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก โดยไม่อนุญาตให้คนดูเข้าชมเป็นส่วนใหญ่ ท่ามกลางตัวเลขของผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นในกรุงโตเกียว
อย่างไรก็ตาม โพสต์ที่กล่าวว่า ประเทศญี่ปุ่นห้ามคนจาก 7 ชาติเดินทางเข้าประเทศนั้นทำให้เข้าใจผิด ณ วันที่ 14 กรกฏาคม 2564 บุคคลต่างชาติจากกว่า 150 ประเทศ ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่น
ข้อมูลบนเว็บไซต์ของกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น ระบุว่าบุคคลต่างชาติจาก 159 ประเทศ ไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่น

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 กระทรวงยุติธรรมของประเทศญี่ปุ่นออกแถลงการณ์ว่าบุคคลต่างชาติจะ “ไม่ได้รับอนุญาตให้ลงจอด” ยกเว้น “ในกรณีพิเศษ”
ข้อยกเว้นในกรณีพิเศษที่ระบุไว้โดยรัฐบาลญี่ปุ่น ครอบคลุมบุคคลต่างชาติที่: มีใบอนุญาตกลับเข้าประเทศ มีคู่สมรสหรือบุตรเป็นคนสัญชาติญี่ปุ่นหรือเป็นผู้พักอาศัยถาวร เป็นนักการทูตหรือเจ้าหน้าที่ทางการทูต และผู้ที่ได้รับการยกเว้นพิเศษ โดยจะพิจารณาตามสถานการณ์เป็นรายกรณี
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา