
คลิปวิดีโอนี้ถ่ายที่สถานทูต ณ กรุงคาบูล สาธารณรัฐเช็ก
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วันที่ 21 กันยายน 2564 เวลา 12:09
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
- เขียนโดย: AFP Thailand
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2568 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
คลิปวิดีโอความยาว 2:20 นาทีนี้ ถูกโพสต์ลงทวิตเตอร์เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2564
คลิปวิดีโอดังกล่าว ซึ่งแสดงชายกลุ่มหนึ่งภายในห้องที่เต็มไปด้วยขวดเหล้า มียอดรับชมแล้วมากกว่า 10,000 ครั้ง
คำบรรยายภาษาอังกฤษแปลเป็นภาษาไทยว่า: “ตาลีบันกล่าวว่าพวกเขาพบเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในห้องเก็บของในบ้านของซาลาฮุดดิน รับบานี (Salahuddin Rabbani) ในกรุงคาบูล นาย รับบานี่ คือผู้นำพรรค Jamiat-e-Islami และอดีตรัฐมนตกระทรวงต่างประเทศ”

อดีตรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศอัฟกานิสถาน ซาลาฮุดดิน รับบานี คือผู้นำพรรค Jamiat-e Islami ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดพรรคหนึ่งในอัฟกานิสถาน
นายรับบานี เป็นบุคคลที่ไม่สนับสนุนการก่อการร้ายและการเคลื่อนไหวของกลุ่มตาลีบัน
โพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิดดังกล่าว ถูกเผยแพร่ไม่นานภายหลังจากที่กลุ่มตาลีบันเข้ายึดหลายพื้นที่ในประเทศอัฟกานิสถานสำเร็จ สำนักข่าว AFP รายงาน
กลุ่มอิสลามดังกล่าวได้ประกาศว่าจะปกครองประเทศอัฟกานิสถาน ภายใต้การตีความกฎหมายชารีอะห์ ซึ่งห้ามการดื่มแอลกอฮอล์
คลิปวิดีโอที่ยาวกว่าถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันที่นี่
คลิปวิดีโอคล้ายๆ กัน ได้ถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างภาษาไทยทางทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก
อย่างไรก็ตาม คำกล่าวอ้างนี้เป็นเท็จ
การค้นหาด้วยคำสำคัญ พบรายงานฉบับนี้ ถูกเผยแพร่โดย Aktualne.cz เว็บไซต์ข่าวในสาธารณรัฐเช็ก เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2564
พาดหัวของรายงานดังกล่าวแปลเป็นภาษาไทยว่า “กลุ่มตาลีบันเข้าควบคุมโกดังของสถานทูตเช็ก ยึดเหล้าเบเชรอฟก้าและมัสตาร์ด”
เนื้อหาบางส่วนของรายงานเขียนว่า “เราสามารถยืนยันได้ว่าคลิปวิดีโอที่ถูกเผยแพร่แสดงพื้นที่ของสถานทูตสาธารณรัฐเช็กในกรุงคาบูล ซึ่งถูกปิดชั่วคราว กระทรวงต่างประเทศยืนยันกับ CTK” โดย CTK เป็นต่ออักษรย่อของสำนักข่าวเช็ก (Czech News Agency)
AFP สามารถยืนยันได้ว่าคลิปวิดีโอดังกล่าวถ่ายในสถานทูตสาธารณรัฐเช็กในกรุงคาบูล
ช่วงนาทีที่ 0:38 คลิปวิดีโอในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด แสดงฉากที่ตรงกับภาพถ่ายที่ถูกเผยแพร่โดยเพจทางการของสถานทูตสาธารณรัฐเช็กบนเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2561
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างวิดีโอในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพของสถานทูตสาธารณรัฐเช็ก (ขวา):

นายรับบานี ได้ปฏิเสธคำกล่าวอ้างดังกล่าว ในโพสต์ทางเพจเฟซบุ๊กทางการของเขา เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2564
เขาเขียนว่า: “ผู้ศรัทธาทั้งหลาย หากใครนำข่าวที่ไม่น่าเชื่อถือมาให้ท่าน ได้โปรดตรวจสอบให้ดี ไม่อย่างนั้นคุณจะทำร้ายสังคมโดยไม่ได้ตั้งใจ และต่อมา จะเสียใจกับสิ่งที่ได้ทำลงไป”
ขวดเหล้าที่ปรากฏอยู่ในคลิปวิดีโอที่ทำให้เข้าใจผิด เป็นเครื่องดื่มที่มาจากสาธารณรัฐประชาชนเช็ก เช่นเบียร์พิลส์เนอร์และเหล้าสมุนไพรเบเชรอฟก้า
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา