ภาพถ่ายนี้แสดงเจ้าหน้าที่ดูแลสัตว์ในประเทศอินโดนีเซียกำลังดำเนินการบำรุงรักษาเขตป่าสงวน

  • บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
  • เผยแพร่ วัน 13 ธันวาคม 2021 เวลา 10:09
  • อัพเดตแล้ว วัน 13 ธันวาคม 2021 เวลา 10:13
  • ใช้เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
  • เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
   

ภาพถ่ายหนึ่งได้ถูกแชร์อย่างต่อเนื่องในโพสต์ทางเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ พร้อมคำกล่าวอ้างว่าภาพแสดงลิงอุรังอุตังที่พยายาม “ช่วยนักธรณีวิทยาที่ตกหลุมโคลน” คำกล่าวอ้างนี้ทำให้เข้าใจผิด ช่างภาพและมูลนิธิที่ดูแลป่าสงวนยืนยันกับ AFP ว่าเขาเป็นเจ้าหน้าที่ของเขตป่าสงวนในประเทศอินโดนีเซีย โดยในภาพเขากำลังตรวจและดูแลผืนป่าตามหน้าที่ปกติ

ภาพดังกล่าวถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 และถูกแชร์ออกไปอีกกว่า 545 ครั้ง

ภาพดังกล่าวแสดงลิงอุรังอุตังยื่นมือออกไปหาผู้ชายคนหนึ่งที่กำลังยืนอยู่ในบ่อโคลนที่มีระดับน้ำลึกถึงอก

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด

     

คำบรรยายบางส่วนของโพสต์เขียนว่า “เมื่อเห็นมนุษย์ตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย มันยังมีน้ำใจยื่นมือเพื่อช่วยเหลือมนุษย์เสมอ”

“ถ่ายโดยช่างภาพ Anil Prabhakar ในผืนป่าแห่งหนึ่งของอินโดนีเซีย ภาพลิงอุรังอุตังยื่นมือออกมาเพื่อช่วยนักธรณีวิทยาที่ตกหลุมโคลนในขณะกำลังออกสำรวจงานของเขา”

ภาพถ่ายดังกล่าวถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างคล้ายๆ กัน ทางเฟซบุ๊ก ที่นี่ และทางทวิตเตอร์ที่นี่ และในเว็บไซต์ที่นี่

นอกจากนี้ ภาพดังกล่าวยังถูกแชร์ออกไปมากกว่า 215,000 ครั้ง พร้อมคำบรรยายคล้ายๆ กันในภาษาอังกฤษที่นี่และนี่ เช่นเดียวกันกับโพสต์ในภาษาฮังการี เยอรมัน และโปแลนด์

อย่างไรก็ตาม คำกล่าวอ้างนี้ทำให้เข้าใจผิด

ภาพถ่ายต้นฉบับถูกโพสต์ลงในอินสตาแกรมของช่างภาพที่มีชื่อว่า Anil Prabhakar เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2563

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เขาให้สัมภาษณ์กับ CNN ว่าภาพดังกล่าวถ่ายบนเกาะบอร์เนียว ขณะที่เขาและกลุ่มเพื่อนเดินทางไปเที่ยวซาฟารีในเขตป่าสงวน ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของมูลนิธิรักษาพันธุ์ลิงอุรังอุตังบอร์เนียว (BOSF)

เขตป่าสงวนดังกล่าวตั้งอยู่ในจังหวัดจังหวัดกาลิมันตันตะวันออก ของประเทศอินโดนีเซีย

ในบทสัมภาษณ์กับ CNN Prabhakar ระบุว่าชายในภาพถ่ายคือ “เจ้าหน้าที่ดูแลสัตว์”

ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพจากบัญชีอินสตาแกรมของ Prabhakar (ขวา):

Image
เปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพจากบัญชีอินสตาแกรมของ Prabhakar (ขวา)

Jamartin Sihite ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ BOSF อธิบายกับ AFP ว่าภาพดังกล่าวแสดงลิงอุรังอุตังตัวเมียที่มีชื่อว่า Anih ซึ่งอาศัยอยู่บนเกาะที่สร้างขึ้นโดยศูนย์รักษาพันธุ์ลิงอุรังอุตัง ในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า Samboja Lestari ในจังหวัดกาลิมันตันตะวันออก

เขายืนยันว่าชายในภาพมีชื่อว่า Syahrul และเป็นเจ้าหน้าที่ดูแลสัตว์ของเขตป่าสงวน

Jamartin บรรยายเหตุการณ์ในภาพถ่ายว่า Anih “นึกว่า Syahrul กำลังจะนำอาหารมาให้มัน เธอจึงยื่นมือเพื่อขออาหาร ซึ่งในขณะนั้นเขากำลังดูแลสภาพป่า เก็บกวาดหญ้าน้ำเพื่อคงความลึกของลำธาร เขาไม่ได้เป็นนักธรณีวิทยาที่ติดหลุมโคลน”

หน่วยงานที่ดูแลเขตป่าสงวนดังกล่าวได้เผยแพร่คลิปวิดีโอนี้ลงทางเพจอินสตาแกรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 พร้อมอธิบายเรื่องราวที่ปรากฏอยู่ในภาพ หลังจากที่เรื่องดังกล่าวกลายเป็นภาพไวรัลในโลกออนไลน์

 
 
 
 
 
View this post on Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

A post shared by BOS Foundation (@bosfoundation)


ฐานข้อมูลของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ระบุไว้ว่าลิงอุรังอุตังบอร์เนียว ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ขั้นวิกฤติ (Critically endangered species)

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?

ติดต่อเรา