นี่เป็นภาพที่แสดงการก่อตัวของเมฆประหลาดในประเทศไทยเมื่อปี 2559
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2020 เวลา 05:00
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
- เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2568 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
ภาพถ่ายชุดนี้ได้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563 และได้ถูกแชร์อีกกว่า 3,500 ครั้ง
คำบรรยายโพสต์เขียนว่า “มาตามนัด .. โมลาเบ ในภาพคือที่ศรีสะเกษ”
โพสต์ดังกล่าวถูกแชร์ ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่พายุไต้ฝุ่นโมลาเบพัดถล่มประเทศเวียดนามและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักข่าว AFP รายงานที่นี่และนี่
ภาพถ่ายดังกล่าวได้ถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างคล้ายๆ กัน ที่นี่ นี่และนี่
คำกล่าวอ้างนี้ เป็นเท็จ
การค้นหาภาพย้อนหลังพบภายถ่ายชุดเดียวกัน ถูกโพสต์ลงทวิตเตอร์ของข่าวช่อง 8 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2559
มันคือเมฆฝนใช่หรือไม่? หรือว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับท้องฟ้า โดยผู้โพสต์ระบุว่าถ่ายแถว ปั้ม ปตท.บ้านเพียนาม จ.ศรีสะเกษ
— ข่าวช่อง 8 (@thaich8news) October 27, 2016
cr.จริยา อินทนู pic.twitter.com/fU9lqwGogN
คำบรรยายบนทวิตเตอร์เขียนว่า “มันคือเมฆฝนใช่หรือไม่? หรือว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับท้องฟ้า โดยผู้โพสต์ระบุว่าถ่ายแถว ปั้ม ปตท.บ้านเพียนาม จ.ศรีสะเกษ cr.จริยา อินทนู”
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพถ่ายในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพถ่ายจากทวีตของข่าวช่อง 8 (ขวา)
ข่าวช่อง 8 เขียนอธิบายว่าภาพถ่ายชุดดังกล่าว เป็นภาพของผู้ใช้เฟซบุ๊กที่มีชื่อว่า จริยา อินทนู
คุณจริยาอธิบายกับสำนักข่าว AFP ผ่านทางเฟสบุ๊คเมสเซนเจอร์เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563 โดยกล่าวว่า “เป็นภาพที่ถ่ายนานแล้วค่ะ ช่วงนั้นเหมือนฝนจะตกค่ะ ก็เห็นท้องฟ้ามันแปลกก็เลยถ่ายเก็บไว้ค่ะ”
คำบรรยายในโพสต์ต้นฉบับระบุว่าภาพถ่ายชุดดังกล่าวถ่ายที่ปั๊มน้ำมัน ปตท.เพียนาม ในจังหวัดศรีสะเกษ
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา