ข่าวลวงเก่าถูกนำกลับมาแชร์ออนไลน์ว่าการกินเบกกิ้งโซดาจะช่วยทำให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วันที่ 9 กรกฎาคม 2020 เวลา 09:00
- อัพเดตแล้ว วันที่ 10 กรกฎาคม 2020 เวลา 08:55
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
- เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2568 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
คำกล่างอ้างนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2562
ข้อความที่ปรากฏอยู่บนภาพเขียนว่า “ออกกำลังได้ อึด ทน ขึ้นกว่าเดิม! เบกกิ้งโซดา ปริมาณที่ใช้ 0.4:1”
คำบรรยายบางส่วนของโพสต์เขียนว่า “เบกกิ้งโซดา ช่วยทำให้ออกกำลังกายได้อึดขึ้น! ทนขึ้น!”
“ความรู้สึกเหนื่อยล้าจากการออกกำลังกายนั้นส่วนนึงมาจากการที่ระหว่างการออกกำลังกายนั้นจะทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนสภาวะให้มีความเป็นกรดมากขึ้น ทำให้มีแนวคิดในการรักษาสมดุลกรดด่างในร่างกายขึ้นมา เพราะถ้าหากลดการเปลี่ยนสภาวะให้มีความเป็นกรดได้ก็จะทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าลดลงและออกกำลังกายได้มากขึ้น”
คำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันได้ถูกแชร์ทางเฟซบุ๊กตั้งแต่ปี 2558 และ 2561 ที่นี่และนี่ และได้ถูกนำกลับมาแชร์อีกครั้งในปี 2563 ที่นี่และนี่
คำกล่าวอ้างนี้เป็นเท็จ
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้เผยแพร่ภาพอินโฟกราฟิกนี้ในโพสต์ทางเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2563 โดยระบุว่าคำกล่าวอ้างนี้ “ไม่จริง”
ข้อความบนภาพเขียนว่า “จริงหรือ กินเบกกิ้งโซดาก่อนออกกำลังกายช่วยให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น?”
“สาเหตุที่ทำให้ออกกำลังกายได้ไม่นานเพราะปวดกล้ามเนื้อคือกรดแลคติค ซึ่งกรดนี้เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อ แต่เบกกิ้งโซดาที่กินเข้าไปไม่สามารถดูดซึมเข้ากล้ามเนื้อได้”
ภาพอินโฟกราฟิกดังกล่าวอธิบายถึงผลข้างเคียงของการบริโภคเบกกิ้งโซดา โดยระบุว่า “ผลข้างเคียงที่อาจพบหากกินเบกกิ้งโซดา ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นใส้”
ศ.ดร. ธีรยุทธ วิไลวัลย์ อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว AFP ทางโทรศัพท์เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 โดยกว่าวว่า “การกินเบกกิ้งโซดาไม่ได้ช่วยให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น แต่ในทางกลับกัน เบกกิ้งโซดาสามารถส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารได้ นอกจากนี้เบกกิ้งโซดาหรือโซเดียมไบคาร์บอเนตมีองค์ประกอบของโซเดียมซึ่งสามารถเป็นอันตรายต่อไตเราได้”
ดร. ธีรยุทธ อธิบายว่า “เมื่อเราออกกำลังกาย ร่างกายเราจะผลิตกรดแลคติคเพื่อเผาผลาญแคลอรี่ ทำให้ผู้คนเข้าใจผิดว่าการใช้เบกกิ้งโซดาซึ่งเป็นด่าง จะช่วยปรับสัมดุลได้”
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2563 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ผลิตรายงานฉบับนี้โดยระบุว่าคำกล่าวอ้างนี้เป็นข่าวปลอม
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา