นี่เป็นภาพถ่ายเก่าจากการประท้วงที่สหรัฐฯ ในปี 2554 และ 2561

  • บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
  • เผยแพร่ วันที่ 4 มิถุนายน 2020 เวลา 11:20
  • ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
  • เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
รูปถ่ายสองภาพนี้ได้ถูกแชร์กว่าร้อยครั้งในหลายๆ โพสต์ทางเฟซบุ๊กพร้อมคำกล่าวอ้างว่าเป็นภาพการประท้วงที่รัฐมินนิโซตาในปี 2020 คำกล่าวอ้างนี้ทำให้เข้าใจผิด สองภาพนี้ปรากฏอยู่ในรายงานข่าวเกี่ยวเหตุการณ์การประท้วงของกลุ่มออคคิวพายวอลล์สตรีทที่นครนิวยอร์กในปี 2554 และการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มซ้ายจัดแอนติฟาที่รัฐโอเรกอนในปี 2561

ภาพถ่ายทั้งสองได้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 และได้ถูกแชร์ออกไปกว่า 300 ครั้ง

ภาพที่หนึ่งเป็นภาพผู้ชายถือธงชาติของประเทศจีนขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจยืนดูเหตุการณ์อยู่ข้างๆ ขณะที่ภาพที่สองเป็นภาพกลุ่มคนใส่ชุดดำยืนประท้วงอยู่ข้างหน้าธงสหภาพโซเวียต

Image
ภาพถ่ายหน้าจอโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด

คำบรรยายของโพสต์เขียนว่า “สหรัฐยากจะเหมือนเดิมแล้ว
ลองดูข่าวข้างล่างนี้
%%%%%%

รูปแรก: คนเมกามือนึงถือธงชาติจีน อีกมือถือหนังสือพิมพ์จีน ตะโกนว่าเราต้องการจีน
รูปสอง: 29-5-2020 เมืองนึงของมินนิโซตา ออกมาประท้วง และได้จัดตั้งคณะกรรมการแห่งสังคมนิยม (ชื่อชั่วคราว:สมาพันธ์สังคมนิยมเพื่อผลประโยชน์ของอเมริกา) โดยประกาศเชิญชวนชาวอเมริกันทั่วประเทศถืออาวุธขึ้นมาต่อสู้ โดยมีชูนโยบายว่า ระบบทุนนิยมมาถึงสุดทางแล้ว เราต้องร่วมมือกันฝังมันลงดิน ทั้งนี้ มีกองกำลังสำรองตำรวจพลเรือนได้ออกมาเข้าร่วมแล้ว ส่วนทำเนียบขาวยังไม่ได้มีการตอบโต้กับการประกาศดังกล่าว”

คำกล่าวอ้างดังกล่าวเกิดขึ้นหลังการประท้วงรุนแรงขยายวงออกไปทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีสาเหตุมาจากการตายของนายจอร์จ ฟลอยด์ ชายผิวสีที่เสียชีวิตระหว่างการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2563 สำนักข่าว AFP รายงานว่าผู้คนนับพันจากทั่วประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกมาเดินประท้วงต่อต้านความรุนแรงของตำรวจและการเหยียดผิว

รูปภาพทั้งสองได้ถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างเดียวกันที่นี่ นี่ นี่และนี่ นอกจากนี้คำกล่างอ้างเดียวกันได้ถูกแชร์เป็นภาษาจีนและภาษาอังกฤษอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม คำกล่าวอ้างนี้ทำให้เข้าใจผิด

ภาพที่หนึ่ง

การค้นหาภาพย้อนหลังพบภ่ายถ่ายเดียวกันอยู่ในรายงานฉบับนี้เกี่ยวกับการประท้วงของกลุ่มออคคิวพายวอลล์สตรีทในปี 2554 โดย chinaSMACK บล็อกภาษาอังกฤษซึ่งรายงานเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับประเทศจีน

เนื้อหาบางส่วนแปลเป็นภาษาไทยว่า “15 พฤศจิกายน ช่วงเช้าในเวลาท้องถิ่น ตำรวจนิวยอร์กเข้ายึดพื้นที่คืนจากกลุ่มผู้ประท้วง “ออคคิวพายวอลล์สตรีท” มีการปะทะกันระหว่างเข้าหน้าที่ตำรวจและผู้ประท้วงในเหตุการณ์วุ่นวายที่มีคนจำนวนมากถูกจับกุม ขณะนี้ตัวเลขผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตยังไม่ชัดเจน”

ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพที่หนึ่งในโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพจากเว็บไซต์ chinaSMACK (ขวา)

Image
เปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพที่หนึ่งในโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพจากรายงานของ ABC St. Louis (ขวา)

ออคคิวพายวอลล์สตรีทเป็นการประท้วงที่เริ่มต้นขึ้นที่สวนสาธารณะ Zuccotti เพื่อต่อต้านความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งในถนนวอลล์สตรีทซึ่งเป็นศูนย์กลางการเงินของนครนิวยอร์ก ผู้ประท้วงได้เข้าไปอาศัยอยู่ในพื้นที่ของสวนสาธารณะดังกล่าวก่อนถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจไล่ออกจากพื้นที่ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน

ภาพที่สอง

การค้นหาภาพย้อนหลังผ่านกูเกิลพบภาพถ่ายเดียวกันอยู่ในรายงานฉบับนี้บนเว็บไซต์ของ ABC St. Louis สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นของรัฐมิสซูรี ประเทศสหรัฐอเมริกา

รายงานเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2018 เขียนพาดหัวที่แปลเป็นภาษาไทยว่า “ความโกลาหลขยายวงกว้างออกไปในพอร์ตแลนด์ ผู้ว่ายันไม่ใช้กำลังเข้าแทรกแซง”

Image
ภาพถ่ายหน้าจอรายงานปี 2561 ของ ABC St. Louis

ย่อหน้าแรกของบทความฉบับนี้แปลเป็นภาษาไทยว่า “เหตุการณ์รุนแรงขึ้นที่พอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่กลุ่มเครือข่ายนักเคลื่อนไหวซ้ายจัดแอนติฟาปะทะกับกลุ่มมวลชนที่มาประท้วงการยึดพื้นที่บางส่วนของเมือง ซึ่งถูกบันทึกโดยนักข่าวท้องถิ่น”

ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพที่หนึ่งในโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพจากรายงานของ ABC St. Louis (ขวา)

Image
เปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพที่หนึ่งในโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพจากรายงานของ ABC St. Louis (ขวา)

สื่อท้องถิ่นอื่นๆ เช่นสถานีโทรทัศน์ CBS และ Fox News ก็ได้รายงานเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มแอนติฟาในเมืองพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?

ติดต่อเรา