ท่อน้ำที่ถูกกัดกร่อนนี้ถูกถ่ายในประเทศไทยไม่ใช่แอฟริกาใต้หรือแคเมอรูน

  • บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
  • เผยแพร่ วันที่ 30 มกราคม 2020 เวลา 11:15
  • ใช้เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
  • เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
ภาพท่อน้ำที่ถูกกัดกร่อนนี้ได้ถูกแชร์ออกไปในโพสต์เฟซบุ๊กที่กล่าวอ้างว่าเป็นภาพจากประเทศแอฟริกาใต้หรือแคเมอรูน แต่ที่จริงนี้คือภาพถ่ายท่อน้ำจากประเทศไทย

โพสต์ภาษาฝรั่งเศสจำนวนหนึ่งที่เราได้บันทึกไว้ที่นี่และนี่ ได้ระบุว่านี้คือภาพถ่ายจากประเทศแคเมอรูนเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

ข้อความภาษาฝรั่งเศสในโพสต์เขียนว่า “คุณเห็นไหมว่าที่ (ประธานาธิบดี) พอล บิย่า และภรรยา ให้คุณดื่มน้ำน่ะมันผ่านอะไรมา” โพสต์นี้ได้ถูกแชร์ออกไปกว่า 400 ครั้งตั้งแต่เดือนมิถุนายน

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊คที่ทำให้เข้าใจผิด

จากการนำภาพดังกล่าวไปค้นหาย้อนหลังพบว่า ภาพถ่ายนี้มาจากประเทศไทย โดยภาพต้นฉบับมาจากโพสต์เฟซบุ๊กของการประปานครหลวง หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ผลิตและให้บริการเกี่ยวกับน้ำประปาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ

โพสต์ของการประปานครหลวงระบุว่าท่อน้ำที่ปรากฏในภาพได้ถูกนำออกมาจาก ลาดกระบัง ซึ่งอยู่บริเวณทางตะวันออกของกรุงเทพ และเป็นท่อที่ไม่ได้ใช้งานตั้งแต่เมษายนปี 2559 ข้อมูลเพิ่มเติมจากโพสต์เดียวกันระบุว่าสสารสีเหลืองที่ก่อตัวในท่อเกิดจากอนุภาคต่างๆ ที่อยู่ในน้ำ

การประปาชี้แจงว่าน้ำที่ไหลผ่านท่อมีคุณภาพดีและสสารที่ก่อนตัวในท่อก็จะไม่ผสมไปกับน้ำที่ไหลไปตามท่อ

Image
ภาพจับหน้าจอจากเฟซบุ๊กของการประปานครหลวง

ภาพเดียวกันนี้ยังได้ถูกบริษัทบำบัดน้ำจากเมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้นำมาเผยแพร่ในโพสต์ภาษาอังกฤษเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม

คำบรรยายในโพสต์ที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด และได้ถูกแก้ไขหลังเจ้าของเพจทราบว่าเป็นภาพเก่า

Image
ภาพจับหน้าจอที่ได้รับการแก้ไข

แม้จะแก้ไขไป แต่ผู้อ่านจำนวนหนึ่งยังคงเข้าใจผิดว่า ภาพดังกล่าวถูกถ่ายที่ประเทศแอฟริกาใต้

โพสฉบับแก้ไขมีคำบรรยายว่า "นี่เป็นภาพเก่าจากอินเตอร์เน็ต เป็นภาพท่อเหล็กชุบสังกะสี ที่มีสนิมขึ้นจากการกัดกร่อน และเป็นภาพสะท้อนว่าน้ำที่เราใช้ต้องไหลผ่านอะไรบ้างหากไม่มีการทำความสะอาดท่อ เราได้เพิ่มภาพก่อน/หลังการทำความสะอาดท่อจากลูกค้าในเมือง Grabouw

แสดงให้เห็นถึงภาพท่อที่ส่งน้ำไปยังการประปาท้องถิ่น…..#น้ำคือชีวิต”

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊คที่ทำให้เข้าใจผิด

ผู้ใช้เฟซบุ๊กบางคนมีอาการตกใจหลังได้เห็นภาพ ขณะที่บางคนกล่าวหาบริษัทว่านำภาพมาใช้เพื่อสร้างผลประโยชน์ทางธุรกิจ

Image

ทางเพจได้พยายามอธิบายเกี่ยวกับการอ้างที่มาของภาพ “ภาพก่อน/หลังการทำความสะอาดท่อจากลูกค้าในเมือง Grabouw”  ซึ่งภาพจากลูกค้าไม่ได้ปรากฏในโพสต์แรก แต่เพิ่มภาพประกอบดังกล่าวภาพหลังในอีกโพส ซึ่งมีทั้งภาพถ่ายท่อน้ำภาพเดิมและได้เพิ่มภาพแก้วน้ำ 2 ใบ

Image

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?

ติดต่อเรา