นี่เป็นวิดีโอที่แสดงลิงสไลด์ลงบนสายไฟในประเทศอินเดีย
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วันที่ 25 มีนาคม 2021 เวลา 12:00
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
- เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2568 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
วิดีโอนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564 และมียอดรับชมมากกว่า 800,000 ครั้ง
คำบรรยายโพสต์เขียนว่า “ตึก รพ.พระนารายณ์ ลพบุรี สถานที่ adventure แห่งใหม่ ! (ขอบคุณเจ้าของคลิปครับ)”
ลพบุรีเป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งมีลิงอยู่เป็นจำนวนมาก
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด
คลิปวิดีโอนี้ถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันทางเฟซบุ๊กที่นี่ นี่ นี่และนี่ และทางทวิตเตอร์ที่นี่
อย่างไรก็ตามคำกล่าวอ้างนี้เป็นเท็จ
การค้นหาภาพย้อนหลังด้วยคีย์เฟรมจากคลิปวิดีโอ และการค้นหาด้วยคำสำคัญทางกูเกิลพบวิดีโอเดียวกันถูกเผยแพร่ในบทความฉบับนี้ของ Sputnik สื่อทางการของประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2564
บทความดังกล่าวมีชื่อที่แปลเป็นภาษาไทยว่า “ลิงใจกล้าสไลด์บนสายไฟลงลงมาจากตึกสูง” พร้อมระบุว่าคลิปวิดีโอดังกล่าวถ่ายในประเทศอินเดีย
ภาพถ่ายจอบทความของ Sputnik
การค้นหาย้อนหลังด้วยคำสำคัญพบวิดีโอเดียวกันถูกโพสต์ลงทวิตเตอร์เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2564 โดยเป็นทวีตของ Zubin Ashara นักถ่ายภาพแนวธรรมชาติในประเทศอินเดีย
คำบรรยายทวีตภาษาฮินดูของเขาแปลเป็นภาษาไทยว่า “ผู้ที่เล่นกับอันตราย”
खतरों के खिलाड़ी pic.twitter.com/ikhiAiQkrp
— Zubin Ashara (@zubinashara) March 9, 2021
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างวิดีโอในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และวิดีโอในทวีตของ Ashara (ขวา):
เปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างวิดีโอในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และวิดีโอในทวีตของ Ashara (ขวา)
สำนักข่าว AFP ติดต่อไปยัง Ashara โดยเขายืนยันว่าคลิปดังกล่าวเป็นของเขาจริงและเป็นคลิปที่ถ่ายในเมืองอาห์เมดาบัด ประเทศอินเดีย และอาคารที่ปรากฏอยู่ในคลิปคืออพาร์ตเมนต์ที่มีชื่อว่า Parthsarthi Avenue
“มันแปลกเหลือเกิน ผมเลยถ่าย(มัน)ไว้” Ashara อธิบายกับสำนักข่าว AFP ผ่านข้อความทางทวิตเตอร์เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2564
ข้อมูลบัญชีทวิตเตอร์ของ Ashara ระบุว่าเขาเป็นช่างภาพที่อยู่ในเมืองอาห์เมดาบัด ก่อนหน้านี้เขาได้บันทึกวิดีโอที่แสดงแม่ลิงเข้าไปช่วยลูกที่ติดอยู่บนสายไฟ โดยวิดีโอดังกล่าวได้ถูกนำไปเผยแพร่ในรายงานฉบับนี้ของ Latestly เว็บไซต์ข่าวในประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2563
การค้นหาคำว่า “Parthsarthi Avenue” ทางกูเกิลเอิร์ธพบภาพถ่ายจากดาวเทียมที่แสดงอาคารสีเหลืองขาวที่มีลักษณะตรงกับอาคารที่ปรากฏอยู่ในวิดีโอดังกล่าว
การค้นหาของ AFP พบว่าวิดีโอของ Ashara ที่ถูกโพสต์ลงทวิตเตอร์เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2564 เวลา 15:09 น. เป็นวิดีโอแรกที่แสดงเหตุการณ์ดังกล่าว
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา