วิดีโอนี้เป็นเหตุการณ์แก๊สรั่วจากโรงงานสารเคมีที่ประเทศอินเดียในเดือนพฤษภาคม 2563

  • บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
  • เผยแพร่ วันที่ 26 พฤษภาคม 2563 เวลา 12:00
  • ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
  • เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
คลิปวิดีโอหนึ่งได้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กพร้อมคำกล่าวอ้างว่าเป็นเหตุการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่อินเดียเอาไม่อยู่จนต้องเริ่มปล่อยให้คนตายเกลื่อนเมือง คำกล่าวอ้างนี้เป็นเท็จ วิดีโอเดียวกันปรากฏอยู่ในรายงานข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์แก๊สรั่วที่เมืองวิศาขาปัตตนัม ประเทศอินเดียในเดือนพฤษภาคม 2563

 

คลิปวิดีโอความยาว 2 นาที 31 วินาทีนี้ได้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2563 และได้ถูกแชร์อีกกว่า 100 ครั้ง

คำบรรยายวิดีโอเขียนว่า “ข่าวด่วน...อินเดีย เอาโควิด19 ไม่อยู่ต้องเริ่มปล่อยให้ตายเกลื่อนเมืองแล้ว”

ด้านล่างคือภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด

Image

ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด 

วิดีโอและคำกล่าวอ้างเดียวกันยังถูกแชร์ทางเฟซบุ๊กที่นี่ นี่ นี่และนี่

คำกล่างอ้างนี้เป็นเท็จ

วิดีโอที่อยู่ในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิดปรากฏอยู่ในรายงานข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์แก๊สรั่วในโรงงานสารเคมีที่ตั้งอยู่ในเมืองวิศาขาปัตตนัม รัฐอานธรประเทศ ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2563 สำนักข่าว AFP รายงานว่าเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีประชาชนได้รับผลกระทบจนต้องถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลนับร้อยคนและมีผู้เสียชีวิตอีกอย่างน้อย 12 ราย

เมื่อนำวิดีโอมาค้นหาย้อนหลัง พบคลิปวิดีโอที่บันทึกเหตุการณ์เดียวกันกับโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิดโดยเป็นทั้งรายงานของสำนักข่าวท้องถิ่นและสำนักข่าวต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเหตการณ์แก๊สรั่วในเมืองวิศาขาปัตตนัม ประเทศอินเดีย

 

วิดีโอแรก

เมื่อนำภาพช่วง 0:00-0:33 ของวิดีโอในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิดมาค้นหาย้อนหลังพบวิดีโอนี้ที่ถูกโพสต์ลงช่องยูทูปของสื่อท้องถิ่นของประเทศอินเดีย Prag News เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2563

คำบรรยายวิดีโอแปลเป็นภาษาไทยว่า “ตาย 11 ล้มป่วย 1,000 หลังเหตุการณ์แก๊สรั่วจากโรงงานสารเคมีในเมืองวิศาขาปัตตนัม โดยเหตุการณ์ครั้งนี้ได้ถูกเปรียบเทียบกับโศกนาฏกรรมโภปาล

ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างวิดีโอในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิดช่วง 0:07 (ซ้าย) และวิดีโอของ Prag News (ขวา)

Image

เปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างวิดีโอในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และวิดีโอของ Prag News (ขวา) 

 

วิดีโอที่สอง

การค้นหาภาพช่วง 0:34-1:22 ของวิดีโอในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิดมาย้อนหลังพบคลิปวิดีโอนี้จากรายงานของ BBC ที่มีรถพยาบาลคันเดียวกันกับที่ปรากฏในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด 

รายงานของ BBC เขียนพาดหัวว่า “แก๊สรั่วอินเดีย: ตั้งขอหาฆาตกรรมโดยไม่เจตนาหลังตาย 11”

ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างวิดีโอในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิดช่วง 0:38 (ซ้าย) และวิดีโอจากรายงานของ BBC (ขวา)

Image

เปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างวิดีโอในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และวิดีโอจากรายงานของ BBC (ขวา) 

 

วิดีโอสุดท้าย

การค้นหาภาพย้อนหลังช่วงเวลา 1:23-2:31 ของวิดีโอในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด ผ่าน เครื่องมือตรวจสอบดิจิตอล InVID-WeVerify พบคลิปวิดีโอเดียวกับถูกโพสต์ลงยูทูปโดยมีชื่อวิดีโอแปลเป็นภาษาไทยว่า “แก๊สพิษรั่วจาก LG Polymers | ทำให้ตึงเครียด @Vizag | วิดีโอแก๊สรั่วที่ Vizag”

คำว่า  “Vizag” หมายถึงเมืองวิศาขาปัตตนัม

ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างวิดีโอในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิดช่วง 1:43 (ซ้าย) และวิดีโอยูทูป (ขวา)

Image
Image

เปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างวิดีโอในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และวิดีโอจากวิดีโอยูทูป (ขวา) 

ในช่วงนาทีที่ 1.44 ของวิดีโอในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด จะเห็นป้ายทะเบียนของรถยนต์คันหนึ่งซึ่งขึ้นต้นด้วย AP31 ซึ่งเป็นตัวอักษรเริ่มต้นของทะเบียนรถยนต์ในเมืองวิศาขาปัตตนัม  ตามที่ระบุอยู่ในเว็บไซต์ของรัฐอานธรประเทศ

ด้านล่างคือภาพถ่ายหน้าจอป้ายทะเบียนรถยนต์ในวิดีโอของโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด

Image

ภาพถ่ายหน้าจอป้ายทะเบียนรถยนต์ในวิดีโอของโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด 

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?

ติดต่อเรา