ภาพถ่ายเก่าของอิมราน ข่าน ถูกแชร์ในโพสต์และรายงานข่าวออนไลน์ ภายหลังความพยายามลอบสังหารอดีตผู้นำปากีสถาน

  • บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
  • เผยแพร่ วัน 7 พฤศจิกายน 2022 เวลา 11:00
  • ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
  • เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
ภาพถ่ายเก่าของอิมราน ข่าน อดีตนายกรัฐมนตรีปากีสถานขณะนอนอยู่ที่พื้น ได้ถูกแชร์ในบริบทที่เป็นเท็จในโพสต์และรานงานข่าวออนไลน์ หลังจากที่ข่านถูกยิงเข้าที่ขาระหว่างการประท้วงในเดือนพฤศจิกายน ปี 2565 โดยข่านได้โพสต์ภาพดังกล่าวลงในทวิตเตอร์ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ปี 2557 ซึ่งเป็นภาพของเขาขณะร่วมการประท้วงใหญ่ต่อต้านอดีตประธานาธิบดีนาวาซ ชาริฟ

ภาพถ่ายนี้ถูกโพสต์ลงในเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2565

คำบรรยายโพสต์เขียนว่า: “BREAKING: อิมราน ข่าน อดีตนายกรัฐมนตรีปากีสถาน ถูกยิงในข้อหาลอบสังหาร รายงานว่าเขาถูกตีที่ขาหลายครั้งแต่รอดตายและตอนนี้กำลังรักษาตัวในโรงพยาบาล มือปืนกำลังปล้ำโดยชายอีกคนหนึ่งในขณะที่เขาไล่ออก ซึ่งอาจช่วยชีวิตของข่านได้”

ข่าน อยู่ในอาการทรงตัวภายหลังเขาได้รับบาดเจ็บจากกระสุนปืนที่ขา ระหว่างการหาเสียงเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 ในเหตุการณ์ที่ประธานาธิบดีปากีสถานระบุว่าเป็น ความพยายามลอบสังหารที่ชั่วร้าย สำนักข่าว AFP รายงาน

อิมราน ข่าน อดีตนักกีฬาคริกเก็ตระดับนานาชาติ ได้นำมวลชนจำนวนหลายพันคนจากเมืองลาฮอร์มุ่งหน้าสู่กรุงอิสลามบัด ในการหาเสียงก่อนการเลือกตั้งครั้งใหม่ หลังจากเขาถูกถอดออกจากตำแหน่งในเดือนเมษายน 2565

เขาได้รับบาดเจ็บที่ขาจากกระสุนปืนที่ยิงใส่เขาและเจ้าหน้าที่ขณะยืนปราศรัยอยู่บนตู้คอนเทนเนอร์ของรถบรรทุกคันหนึ่ง ที่กำลังขับผ่านมวลชนอย่างช้าๆ ใกล้กับเมืองกุชรันวาลา ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด

ในประเทศไทย ภาพถ่ายเดียวกันถูกแชร์ในโพสต์เกี่ยวกับเหตุโจมตีดังกล่าวที่นี่ นี่และนี่ทางเฟซบุ๊ก และทางทวิตเตอร์

ARY News และ Hum News สื่อท้องถิ่นของประเทศปากีสถานได้เผยแพร่ภาพถ่ายเก่าของข่าวทางเฟซบุ๊กที่นี่และนี โดยรายงานดังกล่าวมียอดรับชมสูงกว่า 6 ล้านครั้ง

ภาพถ่ายเดียวกันถูกเผยแพร่ในรายงานข่าวภาษาไทยที่นี่และนี่

นอกจากนี้นักข่าวชาวอังกฤษ Piers Morgan ยังได้แชร์ภาพถ่ายดังกล่าวในโพสต์ทางทวิตเตอร์ของเขาเกี่ยวกับเหตุดังกล่าวอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การค้นหาภาพย้อนหลังทางกูเกิล พบว่าภาพถ่ายดังกล่าวถูกแชร์ในบริบทที่เป็นเท็จ

ภาพจากการประท้วงในปี 2557

เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2557 ข่านได้โพสต์ภาพถ่ายดังกล่าวลงในทวิตเตอร์พร้อมคำบรรยายที่เขียนว่า “Night at the dharna”

การใช้คำว่า “dharna” ซึ่งเป็นคำจากภาษา Urdu ที่แปลว่า “ประท้วง” สื่อถึงเหตุการณ์ในปี 2557 ที่พรรคปากีสถานเทห์รีก-อี-อินซาฟ (PTI) จัดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่ยืดเยื้อเป็นเวลากว่าหลายเดือน

โดยในขณะนั้นผู้ประท้วงออกมาเรียกร้องให้ประธานาธิบดีนาวาซ ชาริฟ ลาออกจากข้อกล่าวหาเรื่องการโกงเลือกตั้ง

รายงานข่าวภาษาอังกฤษของหนังสือพิมพ์ The Hindu ของประเทศอินเดีย ได้เผยแพร่ทวีตของข่าน ในรายงานเกี่ยวกับการประท้วงดังกล่าว เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2557

ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอของภาพถ่ายในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) กับภาพถ่ายในโพสต์ทวิตเตอร์ของข่านในปี 2557 (ขวา):

Image
เปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอของภาพถ่ายในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) กับภาพถ่ายในโพสต์ทวิตเตอร์ของข่านในปี 2557 (ขวา)

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?

ติดต่อเรา