
ผู้เชี่ยวชาญเตือนยา ‘สเต็มเซลล์’ ในโฆษณาออนไลน์ไม่สามารถใช้รักษาโรคได้จริง
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วันที่ 17 มกราคม 2566 เวลา 10:00
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
- เขียนโดย: AFP Thailand
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2568 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2565 ผู้ใช้เฟซบุ๊กในประเทศฟิลิปปินส์เขียนโพสต์อธิบายสรรพคุณสินค้าตัวดังกล่าว โดยแปลเป็นภาษาไทยว่า “Purtier Placenta คือสเต็มเซลล์สดที่ช่วยบำรุงและเสริมสร้างเซลล์ในร่างกายของเรา และสามารถช่วยรักษาอาการป่วยในร่างกายเราได้”
โพสต์ดังกล่าวแชร์ภาพถ่ายของยาเม็ด “Purtier Placenta”
คำบรรยายบางส่วนของเขียนโพสต์แปลเป็นภาษาไทยว่า: “สินค้านี้ผลิตในรูปแบบยาเม็ดแคปซูล และมีสเต็มเซลล์สดอยู่ภายใน” พร้อมลำดับโรคหรืออาการต่างๆ ที่ยาดังกล่าวสามารถรักษาได้ ซึ่งรวมถึงโรคเบาหวาน มะเร็งชนิดต่างๆ และโรคอัลไซเมอร์
สเต็มเซลล์ เป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่จะโตขึ้นและเปลี่ยนสภาพเป็นเซลล์เฉพาะต่าง ๆ ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะ เช่นสมองและหัวใจ
นักวิทยาศาสตร์ตั้งความหวังว่าจะสามารถสร้างสเต็มเซลล์ในห้องแลป และปลูกถ่ายมันให้กลายเป็นเซลล์เฉพาะ เพื่อไปเสริมอวัยวะที่เสียหายจากโรคหรืออุบัติเหตุ
คำกล่าวอ้างในอีกโพสต์ระบุว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีศักยภาพในการเป็น “ยาทานเพื่อบรรเทาอาการ” พร้อมระบุว่ายาดังกล่าวได้รับการ “อนุมัติจากคณะกรรมการอาหารและยา” และภายในบรรจุสเต็มเซลล์จากรกกวาง
นอกจากในประเทศฟิลิปปินส์แล้ว โฆษณาลักษณะคล้ายๆ กันของสินค้านี้ถูกแชร์ในโพสต์ทางเฟซบุ๊กในประเทศไทย สิงคโปร์ และเมียนมา



คอมเมนต์ในโพสต์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามีคนเชื่อและสนใจในสินค้าดังกล่าว
คนหนึ่งเขียนว่า “ฉันต้องการมันนะ ขอถามได้ไหมว่าราคาเท่าไหร่?”
ขณะที่อีกคนกล่าวว่า “มีช่วงลดราคาสินค้าวันไหนบ้างไหม”
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอธิบายกับ AFP ว่าคำกล่าวอ้างในโพสต์เหล่านี้เป็นเท็จ
‘ยาเม็ดสเต็มเซลล์’
Ahmad Reza Mazahery ผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ (UP) ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีววิทยาของสเต็มเซลล์ กล่าวกับ AFP เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566 ว่ า “เซลล์ที่มีชีวิตไม่สามาถถูกบรรจุลงในแคปซูลเช่นนี้ได้ และไม่มีทางเลยที่จะจำหน่ายในรูปแบบของอาหารเสริมหรือวิตามินอื่น ๆ ในแคปซูลยา”
เซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ “มีความซับซ้อนเกินกว่าที่จะสามารถแช่แข็งหรือคงสภาพเอาไว้ในรูปแบบที่พร้อมในมาใช้งานได้ตลอด” เขากล่าว โดยอธิบายเพิ่มว่าการทานยาเม็ดที่กล่าวว่ามีสเต็มเซลล์ “ไม่สามารถช่วยอะไรได้มาก”
“คุณอาจสามารถรับโปรตีนและสารอาหารอื่น ๆ (จากยาเม็ด)ได้ แต่มันไม่สามารถใช้รักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมของระบบประสาท อย่างโรคอัลไซเมอร์ได้ -- มันไม่ได้เอามาใช้งานแบบนี้” เขากล่าว
ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจาก Meedan องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรด้านเทคโนโลยีนานาชาติ กล่าวกับ AFP เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2566 ว่า: “ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถยืนยันได้ว่า Purtier Placenta หรือสินค้ายี่ห้ออื่นที่อ้างว่าผลิตจากสเต็มเซลล์รกกวางสามารถรักษาหรือบรรเทาอาการของโรคได้จริงตามที่กล่าวอ้าง”
อาหารเสริม
การค้นหาด้วยคำสำคัญ พบว่าสินค้าดังกล่าวถูกลงทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ของประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2563
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลบนเว็บไซต์ของ FDA สิงคโปรกล่าวว่าสินค้าดังกล่าวถูกลงทะเบียนเป็น “ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ที่สรรพคุณในการใช้รักษายังไม่มีผ่านการอนุมัติ”
สำนักงานวิทยาศาสตร์สุขภาพสิงคโปร์ (HSA) กล่าวว่าก่อนหน้านี้บริษัทที่จำหน่าย “Purtier Placenta” ได้ถูกร้องเรียนในชั้นศาลในประเทศสิงคโปร เนื่องจากมีพฤติกรรมในการ “กล่าวคำเท็จ” งาสินค้ารักษาโรคได้
เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 HSA กล่าวว่า “Purtier Placenta เป็นอาหารเสริมและไม่สามารถป้องกัน บรรเทา หรือรักษาอาการของโรคตามที่กล่าวอ้างได้” โดย HSA เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการควบคุมผลิตภัณฑ์สุขภาพในประเทศสิงคโปร
“คำกล่าวอ้างที่ระบุว่า Purtier Placenta มีเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถบรรเทาหรือรักษาโรคหรืออาการบางชนิดได้ไม่เป็นความจริง”
“นอกจากนี้ เนื่องจากสเต็มเซลล์โปรตีน การทานสเต็มเซลล์จะทำให้มันถูกเอนไซม์ในระบบทางเดินอาหารย่อยสลาย”
ในปี 2563 มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เผยแพร่งานวิจัยที่ตรวจสอบสินค้าตัวอย่างที่ถูกนำมากล่าวอ้างว่ามีสเต็มเซลล์รกกวาง ซึ่งรวมถึง “Purtier Placenta” และพบว่ายาเม็ดดังกล่าวไม่มีสเต็มเซลล์อยู่ข้างใน
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา