ภาพสุนัขกู้ภัยจากปี 2557 กลายเป็นไวรัลอีกครั้งหลังเหตุแผ่นดินไหวที่ตุรกี
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2023 เวลา 10:42
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
- เขียนโดย: Panisa AEMOCHA, AFP ประเทศไทย
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2568 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
คำบรรยายภาพของโพสต์เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 เขียนระบุว่า "นี่เป็นสภาพของสุนัขที่หลังจากทำงานไปหนึ่งกะ ในการค้นหาผู้รอดชีวิตในซากปรักหักพัง ในตุรกี น้องได้ช่วยคนได้ 10 คน และช่วยชีวิต (น้องหมา) เพื่อนๆ ของพวกเขาด้วย”
โพสต์ดังกล่าวเสริมต่อว่า แม้เทคโนโลยีสมัยใหม่จะก้าวหน้าไปแค่ไหน แต่ทักษะในการดมกลิ่นของสุนัขก็ยังเหนือกว่าเทคโนโลยีอยู่ พร้อมปิดท้ายว่า "เคารพและโค้งคำนับสุนัขทุกตัวในโลก!"
ผู้ใช้งานเฟซบุ๊กแชร์โพสต์ดังกล่าวมากกว่า 30,000 ครั้ง ภายในระเยเวลาเพียง 24 ชั่วโมง
ภาพถ่ายเดียวกันถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันทางเฟซบุ๊กที่นี่ นี่และนี่
ภาพสุนัขสีขาวที่เปรอะเปื้อนไปด้วยโคลนนี้ยังถูกแชร์ในต่างประเทศเช่นเดียวกันที่นี่ นี่และนี่
ภาพนี้กลายเป็นไวรัลหลังเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.8 ริกเตอร์ บริเวณชายแดนประเทศตุรกีและซีเรีย โดยเจ้าหน้าที่ยืนยันว่าพบผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 20,000 ราย เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักข่าว AFP รายงาน
ผู้คนจำนวนหนึ่งเชื่อว่านี่เป็นภาพที่เกิดขึ้นจริงในประเทศตุรกี
คอมเมนต์หนึ่งระบุว่า “ต้องเหนื่อยมากแน่เลย ขอกินข้าวเยอะๆด้วยนะนุดด อย่าดีแต่ใช้งานล่ะ สงสารจังเลยคนเก่ง”
ผู้ใช้งานอีกรายพิมพ์ว่า “มองดูตาสิเหมือนจะบอกว่าฉัน เหนื่อยเหลือเกิน น่าสงสารจัง”
อย่างไรก็ตาม สุนัขในภาพถ่ายดังกล่าวไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของปฎิบัติการณ์กู้ภัยเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศตุรกีในปี 2566 แต่เป็นภาพถ่ายสุนัขกู้ภัยที่ถูกเผยแพร่ตั้งแต่ปี 2557
ภาพเก่าจากสหรัฐ ฯ
การค้นหาภาพย้อนกลับบนกูเกิล พบภาพถ่ายต้นฉบับถูกเผยแพร่อยู่บนเว็บไซต์ขายภาพออนไลน์ Alamy และในรายงานข่าวท้องถิ่นของสหรัฐ ฯ เกี่ยวกับสุนัขกู้ภัยที่ถูกส่งมาค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์โคลนถล่มครั้งใหญ่ในเมือง เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2557 โดยมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 40 คน
นอกจากนี้เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal รายงานเหตุโคลนถล่มพร้อมกับสุนัขกู้ภัยซึ่งมีภาพของสุนัขที่ขนสีขาวเปื้อนโคลนเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2557
คำบรรยายภาพแปลเป็นภาษาไทยว่า: “ไทรอัน เจ้าสุนัขกู้ภัยเตรียมเข้าจุดฆ่าเชื้อหลังร่วมภารกิตค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุโคลนถล่มในเมืองโอโซ วอร์ชิงตัน 30 มีนาคม 2557”
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพจากโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) กับภาพจากเว็บไซต์ The Wall Street Journal (ขวา):
เหตุการณ์แผ่นดินถล่มครั้งใหญ่เมื่อ 22 มีนาคม 2557 คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 40 ราย
Rick Wilking ช่างภาพอิสระของ Reuters ซึ่งประจำอยู่ที่เมืองเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด เป็นเจ้าของภาพถ่ายต้นฉบับ
AFP ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำกล่าวอ้างเกี่ยวกับภาพถ่ายสุนัขที่ร่วมปฎิบัติการณ์กู้ภัยในเหตุแผ่นดินไหวที่ประเทศตุรกีในปี 2566 ที่นี่
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา