สื่อสังคมออนไลน์แชร์คลิปวิดีโอที่ตัดทอนคำพูดบางส่วนของผู้ก่อตั้งไมโครซอฟท์เกี่ยวกับยูเครน

  • บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
  • เผยแพร่ วันที่ 8 มีนาคม 2566 เวลา 08:39
  • ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
  • เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
  • แปลและดัดแปลง โดย Panisa AEMOCHA
คลิปวิดีโอหนึ่งได้ถูกเผยแพร่เป็นวงกว้างในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยวิดีโอดังกล่าว บิล เกตส์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไมโครคซอฟท์ ได้กล่าวว่า “ยูเครนเป็นหนึ่งในรัฐบาลที่เลวร้ายที่สุดในโลก” ท่ามกลางการสู้รบกับประเทศรัสเซีย อย่างไรก็ตามคลิปวิดีโอนี้ อย่างไรก็ตามคำพูดของเกตส์ในคลิปวิดีโอนี้ถูดตัดมาจากวิดีโอต้นฉบับ ซึ่งเกตส์พูดถึงรัฐบาลของยูเครนในอดีต โดยในวิดีโอต้นฉบับเกตส์กำลังอธิบายถึงรัฐบาลยูเครนในยุค “ก่อนเกิดสงคราม” กับรัสเซีย

คำบรรยายของวิดีโอความยาว 11 วินาทีในโพสต์เฟซบุ๊ก เขียนว่าบิล เกตส์ กล่าวว่า “รัฐบาลยูเครน หนึ่งในรัฐบาลที่เลวร้ายที่สุดในโลก มีแต่เรื่องคอร์รัปชัน และถูกควบคุมโดยผู้มีอำนาจเพียงไม่กี่คน นับเป็นความโชคร้ายของชาวยูเครน”

โพสต์ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2566 ยังเขียนอธิบายต่อว่า “คำพูดนี้ อาจจะทำให้ บิล เกตส์ ไปอยู่ในรายชื่อนักฆ่าของยูเครนบนเวบไซต์ Myrotvorets ในไม่ช้า!”

นอกจากนี้ คลิปวิดีโอเดียวกันยังยังถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างคล้าย ๆ ที่นี่และนี่บนเฟซบุ๊ก

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด

ผู้ใช้งานส่วนหนึ่งเชื่อว่านี่เป็นความคิดของบิล เกตส์ที่มีต่อยูเครนจริง ๆ

คอมเมนต์หนึ่งระบุว่า “ขอบคุณที่ผู้มีชื่อเสียงระดับโลกออกมาพูดความจริงที่เกิดขึ้นในยูเครนให้โลกรับรู้ข้อเท็จจริง ไม่ปิดหูปิดตา”

คลิปวิดีโอสัมภาษณ์เดียวกันนี้ยังถูกแชร์อย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกาเช่นกัน โดยยอดวิวบนทวิตเตอร์สูงกว่า 2 ล้านครั้ง

คำพูดที่ถูกตัดทอน

อย่างไรก็ตามคลิปวิดีโอดังกล่าว ถูกตัดบริบทสำคัญออกไป

โดยช่วงที่ถูกตัดออกไปเป็นส่วนที่บิล เกตส์ อธิบายว่าเขากำลังพูดถึงรัฐบาลของยูเครนในช่วงก่อนเกิดสงครามกับรัสเซีย

สัญลักษณ์ที่ด้านล่างขวาของคลิปวิดีโอทำให้สามารถระบุได้ว่าการสัมภาษณ์ของบิล เกตส์ มาจากการสนทนาเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 ซึ่งบิล เกตส์ ให้สัมภาษณ์กับ ไมเคิล ฟูลิเลิฟ กรรมการบริหารสถาบัน Lowy ซึ่งมีสถานะเป็นสถาบันคลังสมองที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ที่ตั้งอยู่ในซิดนีย์ ออสเตรเลีย

บทสนาทนาฉบับเต็มมีความยาวราว ๆ 1 ชั่วโมง และครอบคลุมเนื้อหาตั้งแต่ระบบสาธารณสุขโลก ไปจนถึงสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง


ในคลิปวิดีโอฉบับเต็มเกตส์ ตอบคำถามจากฟูลิเลิฟ เกี่ยวกับประเทศยูเครนและประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี

“คุณคิดเห็นอย่างไนกับวิธีการที่เขาใช้นำพาประเทศ รวมไปถึงการสื่อสารของเขา ความเร่งด่วนต่อความยากลำบากของเขาต่อโลกใบนี้ และมีอะไรที่เป็นบทเรียนให้พวกเราได้บ้างจากความยากลำบากอื่น ๆ ที่เราสามารถสื่อสารออกไปยังโลกใบนี้ได้” ฟูลิเลิฟ ถามเกตส์

เกตส์ ตอบกลับว่า: “มันเป็นเรื่องที่น่าประทับใจมากที่เขาสามารถทำให้ประเทศอยู่เป็นปึกแผ่นได้ และคุณก็รู้ สำหรับผลตอบรับ คือผู้คนไม่คิดว่ายูเครนจะประสบความสำเร็จในการหลีกเลี่ยงรัสเซียไม่ให้ยึดประเทศได้ มันผสมกัน ระหว่างรัสเซียไม่ได้เข้มแข็งและเก่งกาจเท่าที่เราคิด และยูเครนก็แข็งแกร่งกว่าที่เราเห็น”

“ก่อนหน้าจะเกิดสงคราม คุณก็รู้ รัฐบาลยูเครนเป็นหนึ่งในรัฐบาลที่่เลวร้ายที่สุดในโลก คุณก็รู้ ทั้งการฉ้อโกง (ประเทศถูก)ควบคุมโดยคนรวยกลุ่มเดียว มันน่าเห็นใจประชากรในประเทศมาก ๆ ยูเครนมีที่ดินเชิงเกษตรกรรมทีดีกว่าสหรัฐอเมริกาด้วยซ้ำ ยูเครนเป็นอู่ข่าวอู่น้ำของยุโรป อยู่บนจุดยุทธศาสตร์ที่ดีมาก เพราะฉะนั้น เมื่อสงครามจบลง และประเทศเริ่มก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาใหม่ ยูเครนจะเริ่มฟื้นขึ้นมาอยู่ในระดับเดียวกับยุโรปตะวันออก ก่อนจะขึ้นมาทัดเทียมกับยุโรปอีกที ดังนั้นยูเครนเป็นประเทศที่ยังมีอนาคตอีกไกล แต่คุณก็รู้ตอนนี้ประเทศถูกทำลาย และไม่มีใครรู้ว่าสงครามจะยืดเยื้อไปอีกนานแค่ไหน”

โฆษกของเกตส์ ยืนยันกับ AFP ว่าเกตส์ บรรยายถึงรัฐบาลยูเครน “ก่อนเกิดสงคราม” และไม่มีความคิดว่ารัฐบาลยูเครนในปัจจุบันเป็นหนึ่งในรัฐบาลที่เลวร้ายที่สุดในโลก โฆษกของเกตส์ กล่าวเสริมว่าคำกล่าวอ้างที่ถูกแชร์พร้อมคลิปวิดีโอในโลกออนไลน์เป็นเท็จ โดยแนะนำให้รับชมบทสัมภาษณ์ต้นฉบับ

อย่างไรก็ตามโฆษกของเกตส์ไม่ได้อธิบายเพิ่มเกี่ยวกับคำพูดของเกตส์เรื่อง “ก่อนสงคราม” นั้นหมายถึงช่วงก่อนที่ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ผู้ได้รับเลือกตั้งมาในปี 2562 หรือช่วงรัฐบาลก่อน ๆ ของอดีตประธานาธิบดีเปโตร โปโรเชนโก หรือ วิกเตอร์ ยานูโควิช หรือการรุกรานของรัสเซียในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 หรือ การรุกคาบสมุทรไครเมียในปี 2557

รัฐบาลยูเครนมีประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกเรื่องการทุจริตมาเป็นเวลานาน อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่รัฐหลายคนได้ออกมาโต้แย้งว่าประเทศกำลังหันหน้าไปสู่ทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป โดยองค์กรจัดอันดับความโปร่งใสระดับนานาชาติ ได้จัดยูเครนอยู่ในอันดับที่ 116 จากทั้งหมด 180 ประเทศ ในดัชนีการคดโกงประจำปี 2565 ซึ่งนับเป็นอันดับที่ดีขึ้นเล็กน้อยจากปี 2564

คริสตาลินา กอร์เกียวา กรรมการจัดการ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF กล่าวยกย่องยูเครนจากความพยายามลดการคอร์รัปชันลง ภายหลังจากที่เธอเดินทางไปเยือนกรุงเคียฟ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา AFP รายงาน

AFP ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสงครามในยูเครนที่นี่

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?

ติดต่อเรา