คลิปวิดีโอการปล่อยจรวดสเปซเอ็กซ์ถูกนำโยงกับทฤษฎีสมคบคิดเรื่องแผ่นดินไหวประเทศตุรกี
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วัน 16 มีนาคม 2023 เวลา 10:12
- อัพเดตแล้ว วัน 16 มีนาคม 2023 เวลา 10:19
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
- เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2567 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
คลิปวิดีโอความยาว 40 วินาทีนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 พร้อมเขียนคำบรรยายว่า: “นี่คือ HAARP ที่ดำเนินการเหนือตุรกีในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2023 ก่อนเกิดแผ่นดินไหว”
“วงแหวนของคลื่นแสงที่ปล่อยออกมาจากความถี่แสดงถึงการกระทำของคลื่นของแผ่นดินไหวใต้ดิน นี่คืออาวุธสภาพอากาศที่ใช้กับประชาชน”
คลิปวิดีโอดังกล่าว แสดงวัตถุเรืองแสงบนท้องฟ้าตอนกลางคืน
ขณะที่บางโพสต์ นำคลิปวิดีโอเดียวกันไปแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างว่าวิดีโอดังกล่าวเป็น UFO ที่บันทึกไว้ในช่วงก่อนเกิดแผ่นดินไหว
คลิปวิดีโอดังกล่าว ถูกแชร์ในโพสต์ทางสื่อสังคมออนไลน์ในภาษาอังกฤษ โรมันเนีย สเปน และเกาหลี ซึ่งต่างกล่าวว่าเป็นวิดีโอที่ถ่ายไว้ก่อนเกิดเหตุแผ่นดินไหวความรุนแรง 7.8 แมกนิจูดในประเทศตุรกีและซีเรีย เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งเป็นโศกนาตกรรมที่คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 50,000 ราย
HAARP [ฮาร์ป] ในหลายๆ โพสต์หมายถึงโครงการสถานีวิจัยของประเทศสหรัฐฯ ที่มักถูกนำมาอ้างอย่างผิดๆ ว่าเป็นสาเหตุของโศกนาตกรรมดังกล่าวในประเทศตุรกีและซีเรีย
ตามความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ ตุรกีเป็นหนึ่งในประเทศที่มีพื้นที่แผ่นดินไหวมากทึ่สุดในโลก ยิ่งประกอบกับปัจจัยอย่างห้วงเวลา สถานที่ และโครงสร้างอาคารปลูกสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน เหตุแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาจึงมีความรุนแรงอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม คลิปวิดีโอเดียวกันเคยถูกเผยแพร่พร้อมคำกล่าวอ้างเท็จมาแล้วเป็นเวลาหลายปี โดยถูกนำไปโยงกับทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับโรคโควิด-19 หรือความเชื่อเรื่องโลกแบน
จรวดสเปซเอ็กซ์
การค้นหาภาพย้อนหลังทาง Yandex โดยการใช้คีย์เฟรมจากวิดีโอ ทำให้พบคลิปวิดีโอนี้ซึ่งถูกเผยแพร่ทางยูทูป เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2561
คลิปวิดีโอความยาว 11 นาทีดังกล่าว ถูกเผยแพร่โดยผู้ใช้งานยูทูปในสหรัฐฯ ภายใต้ชื่อ การปล่อยจรวดสเปซเอ็กซ์ Falcon 9 จาก Vandenberg AFB ~ 10-7-18 -- ซึ่งหมายถึงฐานทัพกองทัพอากาศ Vandenberg ในแคลิฟอร์เนีย
การปล่อยจรวด Falcon 9 ซึ่งผลิตโดยบริษัทสเปซเอ็กซ์ของอีลอน มัสค์ ทำให้ท้องฟ้าสว่างขึ้นในช่วงเวลากลางคืนของวันที่ 7 ตุลาคม 2561 จรวดดังกล่าวนำดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรนอกโลก ก่อนจะกลับมาลงจอดไม่ถึง 8 นาทีต่อมา
ในช่วงวินาทีที่ 37 คลิปวิดีโอดังกล่าวแสดงภาพทางด่วนยกระดับ โดย AFP สามารถระบุสถานที่ดังกล่าวได้ว่าเป็นสะพานแห่งหนึ่งใกล้กับทางด่วน Ventura Freeway ในรัฐแคลิฟอร์เนียทางตอนใต้
ภาพวิดีโอในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด ตรงกับภาพในวิดีโอต้นฉบับในช่วงเวลา 2:22 แต่ภาพถูกหมุดไปทางซ้าย 90 องศา
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างวิดีโอในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และวิดีโอยูทูปต้นฉบับ (ขวา):
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐฯ หรือนาซา อธิบายว่าแสงที่กระจายออกเหมือนวงแหวนเกิดจากตัวผลักดัน (thruster) ที่นำจรวดที่ใช้แล้วกลับมายังสถานที่ลงจอด
คลื่นวงแหวนเดียวกันปรากฏอยู่ในวิดีโอการถ่ายทอดสดของสเปซเอ็กซ์ ในช่วงนาทีที่ 20:25
AFP ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อมูลเท็จที่เกี่ยวข้องกับคลื่นความถี่และเหตุแผ่นดินไหวที่ตุรกีและซีเรีย ซึ่งรวมถึงวิดีโอการปล่อยจรวดในคาซัคสถาน ที่ถูกนำมาอ้างว่าเกี่ยวข้องกับเหตุโศกนาฏกรรมในปี 2566
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา