วิดีโอนี้ตรงกับภาพการปล่อยจรวดลองมาร์ชของจีน -- ไม่ใช่ “ดวงอาทิตย์เทียม”
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วัน 31 มีนาคม 2023 เวลา 06:32
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
- เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2567 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
คลิปวิดีโอดังกล่าวถูกโพสต์ลงในเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2564
ในวิดีโอมีมวลชนกลุ่มหนึ่งนำโทรศัพท์สมาร์ทโฟนขึ้นมาถ่ายภาพที่เป็นลูกไฟขนาดใหญ่ตรงเส้นขอบฟ้า
คำบรรยายโพสต์เขียนว่า: “จีน ประสบความสำเร็จในการประดิษฐ์ดวงอาทิตย์จำลองที่มีความร้อนสูงกว่าดวงอาทติย์ถึง 5 เท่า ทำให้สามารถผลิตแดดได้นาน 17 นาที”
คลิปวิดีโอดังกล่าว ถูกแชร์ในโลกออนไลน์ภายหลังจากที่ Xinhua สื่อทางการของจีนรายงานว่าการทดลองเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชันในประเทศจีน -- ที่เรียกกันว่า “ดวงอาทิตย์เทียม” -- ได้สร้างสถิติอุณหภูมิสูงสุดใหม่ในเดือนธันวาคม 2564
เครื่องปฏิกรณ์ดังกล่าวสามารถผลิตอุณหภูมิที่สูงกว่าดวงอาทิตย์ได้ถึง 5 เท่า ในการทดลองในเมือง Hefei เมืองหลักของมณฑลอานฮุย
คลิปวิดีโอเดียวกันถูกแชร์ในโพสต์ภาษาอังกฤษ อุรดู ญี่ปุ่นและอินโด
อย่างไรก็ตาม คลิปวิดีโอนี้ถูกแชร์ในบริบทที่เป็นเท็จ
ในคลิปวิดีโอดังกล่าว สามารถได้ยินเสียงคนในวิดีโอพูดเป็นภาษาจีนว่า “เดินเครื่อง (ขึ้น) เลย” และ “ปล่อยจรวดแล้ว!”
การค้นหาภาพย้อนหลังพร้อมการค้นหาด้วยคำสำคัญด้วย Baidu พบคลิปวิดีโอเดียวกัน โดยเป็นวิดีโอการปล่อยจรวดในเดือนธันวาคม 2564 ที่ฐานปล่อยยานอวกาศเหวินชาง
ข้อมูลจากบริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการบินและอวกาศแห่งประเทศจีน ระบุว่ารัฐบาลจีนได้ส่งดาวเทียมคู่หนึ่งขึ้นสู่วงโคจรด้วยจรวดที่ฐานดังกล่าวเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564
คลิปวิดีโอที่แสดงเหตุการณ์เดียวกัน ถูกโพสต์ลงทาง Weibo ที่นี่ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2564
คำบรรยายภาษาจีนของโพสต์ดังกล่าว แปลเป็นไทยว่า: “ดีใจที่ได้เห็นการปล่อยจรวด น่าภูมิใจจริงๆ”
วิดีโอดังกล่าวแสดงเหตุการณ์เดียวกันที่ชายหาดแห่งหนึ่งที่สามารถสังเกตเห็นต้นไม้อยู่ทางขวา
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างวิดีโอในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และวิดีโอจาก Weibo (ขวา):
การค้นหาด้วยคำสำคัญพบวิดีโอคล้ายๆ กันถูกโพสต์ลงทางแพลตฟอร์มแชร์วิดีโอของจีน Bilibili เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564
คำบรรยายวิดีโอภาษาจีนแปลเป็นภาษาไทยว่า “คลิปเต็มของการปล่อยจรวดลองมาร์ช 7A”
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างวิดีโอในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และวิดีโอจาก Bilibili (ขวา):
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา