วัตถุที่ตกใส่รถในวิดีโอไวรัลจากประเทศจีน เป็น ‘ช่อดอกไม้’ ที่มีลักษณะคล้ายหางกระรอก ไม่ใช่ ‘ฝนหนอน’
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วันที่ 5 เมษายน 2023 เวลา 12:05
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
- เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2568 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
คำบรรยายโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2566 เขียนว่า “ขนลุก!! "ฝนหนอน" ตกลงมากระจายเกลื่อนหลังคารถ รู้ที่มาสยองหนัก..!! #ข่าวชาวบ้าน”
โพสต์ดังกล่าวยังแชร์ภาพบันทึกหน้าจอจากวิดีโอที่แสดงรถยนต์ที่เต็มไปด้วยวัตถุที่โพสต์เท็จระบุว่าเป็น ‘ฝนหนอน’
โพสต์ดังกล่าวไม่เพียงถูกแชร์ในประเทศไทยที่นี่ นี่และนี่ แต่ยังถูกแชร์ในอีกหลายภาษาทั้งบนยูทูป ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก และรวมไปถึงโซเชียลแพลตฟอร์มของสหรัฐฯ อย่าง Gettr
มีผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์จำนวนไม่น้อยที่เชื่อว่าโพสต์ดังกล่าวแสดงให้เห็น ‘ฝนหนอน’ จริง ๆ
โดยผู้ใช้งานคนหนึ่งคอมเมนต์ใต้โพสต์ปลอมดังกล่าวว่า “คนกลัวหนอนแบบเราคือ น้ำลายฟูมปากตายได้เลย”
ขณะที่ผู้ใช้งานอีกคนกล่าวว่า “เจอแบบนี้ช็อคตาย สาบานจะไม่ออกจากบ้านเด็ดขาด”
‘แคตคินส์’ จากต้นพอปลาร์
จากการตรวจสอบภาพจากคลิปวิดีโอฉบับพบว่า ป้ายทะเบียนของรถที่อยู่ในวิดีโอนั้น เป็นรถในเมืองเฉิ่นหยาง (Shenyang) ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมลฑลเหลียวหนิง
การค้นหาด้วยคำสำคัญบนไป่ตู้ (Baidu) ซึ่งเป็นเครื่องมือค้นหาของจีน และจากรายละเอียดป้ายร้านค้าสีแดงในคลิปวิดีโอ พบว่าร้านดังกล่าวตั้งอยู่บนถนนเวินฮัว (Wenhua)
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างวิดีโอในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพถ่ายวิวถนนจากไป่ตู้ (ขวา):
พนักงานคนหนึ่งที่ชื่อว่า จาง (Zhang) ซึ่งทำงานอยู่ที่ร้านอาหารใกล้เคียงบริเวณดังกล่าวยืนยันว่ามีต้นพอปลาร์ขึ้นอยู่บริเวณถนนเวินฮัว และแคตคินส์จะล่วงลงจากต้นตามฤดูกาล
“ผมเห็นต้นพอปลาร์ล่วงลงบนถนนทุกปีในเฉิ่นหยาง” จางตอบ AFP เมื่อวันที่ 28 มีนาคม
ด้านล่างคือภาพที่นายจางถ่ายต้นพอปลาร์บนถนนเวินฮัว บริเวณด้านนอกร้านอาหารที่เขาทำงาน
ต้นพอปลาร์เป็นพืชในตระกูลเดียวกับต้นหลิว (willow) โดยเป็นต้นไม้ที่เติบโตอยู่ตามซีกโลกเหนือ ดอกของมันจะออกมาเป็นลักษณะเป็นช่อคล้ายหางกระรอก ที่เรียกว่า ‘แคตคินส์’ ก่อนที่จะมีการงอกใบออกมา เพื่อช่วยการถ่ายละอองเรณูโดยลม (wind pollination)
ตามข้อมูลจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ จีนมีต้นไม้ในตระกูลพอปลาร์ “ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก” โดยเฉพาะในพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศ
นอกจากนี้ หน่วยงานรักษาความสงบเรียบร้อยสาธารณะ ภายใต้กระทรวงพิทักษ์สันติราษฏร์ของจีน แถลงเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ว่าวิดีโอในโพสต์เท็จนั้นคิดดอกของต้นพอปลาร์
ฉี จุน (Shi Jun) สมาชิกของคณะกรรมการเพื่อการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์แห่งสมาคมพฤกษศาสตร์แห่งจีน ออกมาเผยแพร่ภาพของแคตคินส์ที่คล้ายคลึงกับภาพที่อยู่บนโพสต์เท็จดังกล่าว เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ที่ผ่านมา พร้อมกับใส่แฮชแท็กเดียวกับวิดีโอในโพสต์กล่าวอ้าง
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างวิดีโอในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพของแคตคินส์จากโพสต์ของฉี จุน (ขวา):
ลูอิส เจ.ฟีลด์แมน ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยา จากมหาวิยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ กล่าวว่า “ถ้าให้เดาแบบใกล้เคียงที่สุด” วิดีโอดังกล่าวแสดงให้เห็นแคตคินส์
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา