คดียุยงปลุกปั่นที่มีคำสั่งไม่ฟ้องถูกนำกลับมาแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างที่เข้าใจผิด ท่ามกลางการเมืองไทยที่ร้อนแรง

ภาพกราฟฟิคที่แสดงบุคคลสาธารณะ 12 คนถูกแชร์ทางสื่อสังคมออนไลน์ ท่ามสถานการณ์ทางการเมืองที่วุ่นวายหลังการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม พร้อมคำกล่าวอ้างที่ทำให้เข้าใจผิดว่าบุุคคลในภาพมีหมายจับในข้อหากบฏ แม้ว่ากลุ่มผู้ถูกกล่าวหาจะถูกฟ้องจริงในปี 2562 แต่กระบวนการทางกฎหมายสิ้นสุดลงในปี 2565 เจ้าหน้าที่อัยการยืนยันกับ AFP

โพสต์เฟซบุ๊กที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน เขียนคำบรรยายว่า “แจ้งจับ 12 แกนนำ ข้อหากบฏ”

“ตำรวจทำอะไรอยู่!? ทหารแจ้งความจับแล้ว”

Image
ภาพบันทึกหน้าจอโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด บันทึกเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2566

ท่ามกลางภาพบุคคลทั้ง 12 คน คือ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตผู้นำของพรรคอนาคตใหม่ซึ่งถูกตัดสินให้ยุบพรรค โดยปัจจุบันมีพรรคก้าวไกลเข้ามาสืบทอดเจตนารมณ์แทน

แม้ MFP จะชนะการเลือกตั้งในเดือนมิถุนายน แต่ก็ถูกฝั่งสนับสนุนกองทัพและอนุรักษ์นิยมขัดขวางไม่ให้หัวหน้าพรรคขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย ซึ่งได้เสียงโหวตเป็นลำดับที่สอง ได้รับเสียงสนับสนุนจากรัฐสภาให้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของไทย หลังจากที่กระบวนการตั้งรัฐบาลหยุดชะงักมาเป็นเวลากว่า 3 เดือน

บุคคลอื่น ๆ ในภาพ ยังประกอบไปด้วยนักวิชาการอย่างชลิตา บัณฑุวงศ์ และนักเคลื่อนไหวอย่างรักชาติ สุวรรณ

กลุ่มผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 12 คน ถูกฟ้องข้อหายุยงปลุกปั่นเมื่อเดือนตุลาคม 2562 หลังพวกเข้าร่วมงานสัมนาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายในหัวข้อเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับที่ถูกเขียนขึ้นมาโดยกองทัพ

ภาพดังกล่าวนี้ยังถูกเผยแพร่เพิ่มเติมทั้งบนเฟซบุ๊ก และติ๊กต็อก โดยมีวิดีโอหนึ่งที่มีผู้กดไลค์มากกว่า 15,000 ครั้ง

คอมเมนต์หนึ่งระบุว่า “ตำรวจไม่ว่างหรือไม่กล้า (จับพวกนี้)”

ขณะที่ผู้ใช้งานอีกหนึ่งรายให้ความเห็นต่อโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิดว่า “ยินดีด้วย ก่อนจะได้เข้าสภา คงได้เข้าคุกก่อน”

อัยการสั่งไม่ฟ้อง

อย่างไรก็ตาม โฆษกสำนักงานอัยการพิเศษแผนกคดีอาญา 4 ภาค 9 กล่าวว่าคดีดังกล่าวมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 12 คน เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565

โฆษกของสำนักงานอัยการพิเศษฯ ยืนยันกับ AFP เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ว่าไม่มีการดำเนินการทางกฎหมายใด ๆ ต่อผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 12 คน ในคดีนี้อีกต่อไป

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ระบุว่า เมื่อมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีแล้ว “ห้ามมิให้มีการสอบสวนเกี่ยวกับบุคคลนั้นในเรื่องเดียวกันอีก” เว้นแต่จะมีพยานหลักฐานใหม่เพิ่มเติม (ลิงค์บันทึก)

ไม่มีรายงานข่าวว่ามีการแจ้งข้อหากบฏในช่วงที่ผ่านมา

ชลิตา บัณฑุวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถูกกล่าวหา ยืนยันกับ AFP เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ว่า “อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง” (ลิงค์บันทึก)

เธอยังแนบโพสต์เฟซบุ๊กบนบัญชีอย่างเป็นทางการของเธอที่ได้โพสต์ภาพคำสั่งไม่ฟ้องต่อผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 12 คน ในข้อหายุยงปลุกปั่น

Image
ภาพหนังสือคำสั่งไม่ฟ้องชลิตา บัณฑุวงศ์

ภาพบันทึกหน้าจอของจดหมายสั่งไม่ฟ้องจากสำนักงานอัยการพิเศษฯ ในย่อยหน้าที่สองระบุว่า “อัยการสูงสุด แจ้งคำสั่งไม่ฟ้องท่านกับพวกรวม 12 คน”

เจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการพิเศษฯ ยืนยันกับ AFP ว่า จดหมายสั่งไม่ฟ้องลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 เป็นหนังสืออย่างเป็นทางการ

รักชาติ สุวรรณ ยืนยันกับ AFP เมื่อวันที่ 10 สิงหาคมว่า เขา “ได้รับจดหมายสั่งไม่ฟ้อง” เช่นเดียวกัน

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?

ติดต่อเรา