ภาพมุมสูงของอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงในไต้หวันถูกอ้างอย่างผิดๆ ว่าเป็นอุโมงค์เชื่อมป่าในประเทศไทย

  • เผยแพร่ วัน 31 สิงหาคม 2023 เวลา 11:52
  • อัพเดตแล้ว วัน 1 กันยายน 2023 เวลา 06:30
  • ใช้เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
  • เขียนโดย: Chayanit ITTHIPONGMAETEE, AFP ประเทศไทย
ภาพถ่ายมุมสูงของอุโมงค์ลอดผ่านป่าเขียวชอุ่มถูกแชร์ในสื่อสังคมออนไลน์ พร้อมคำกล่าวอ้างว่าเป็นภาพมุมสูงของอุโมงค์เชื่อมป่าในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม คำกล่าวอ้างดังกล่าวเป็นเท็จ ภาพถ่ายนี้แสดงให้เห็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูงในไต้หวัน

"ที่นี่ประเทศไทย ความเจริญที่คนบางกลุ่ม บอกว่าไม่มี .. ภาพถ่ายมุมสูงอุโมงค์เชื่อมป่า เป็นอุโมงค์รถยนต์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทยที่เขาใหญ่-ทับลาน" ภาพถ่ายนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2566

โพสต์ดังกล่าวระบุว่าภาพถ่ายดังกล่าวเป็นภาพมุมสูงของอุโมงค์เชื่อมป่าที่เขาใหญ่-ทับลาน

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์ที่แชร์คำกล่าวอ้างเท็จ

คำกล่าวอ้างเดียวกันนี้ยังถูกแชร์ออกไปในวงกว้างทางเฟซบุ๊กที่นี่ นี่ และนี่ คำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันยังถูกแชร์ในภาษาอังกฤษบน Reddit ที่นี่ และ นี่ และบน Pinterest ที่นี่ นี่ และ นี่

อย่างไรก็ตาม จากภาพถ่ายอุโมงค์เขาใหญ่-ทับลานที่เผยแพร่ออนไลน์ที่นี่ นี่ และ นี่ มีลักษณะเป็นอุโมงค์ทางคู่ ซึ่งต่างจากภาพถ่ายมุมสูงในโพสต์เท็จที่แสดงให้เห็นอุโมงค์ทางเดียวอย่างชัดเจน (ลิงค์บันทึกที่นี่ นี่ และ นี่)

ในขณะเดียวกัน โพสต์อื่นๆ ที่นี่ นี่ และ นี่ ได้แชร์ภาพถ่ายเดียวกันพร้อมคำกล่าวอ้างเท็จว่า ภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นอุโมงค์ Hsuehshan ในไต้หวัน

แท้จริงแล้ว ภาพดังกล่าวเป็นภาพถ่ายมุมสูงของเส้นทางรถไฟความเร็วสูงในไต้หวัน ซึ่งพาดผ่านมณฑลจางฮว่า (Changhua) ในไต้หวัน

การค้นหาภาพย้อนหลังพบว่า เว็บไซต์ของบริษัทคอนติเนนทอล เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น (CEC) ในไต้หวันได้เผยแพร่ภาพถ่ายที่คล้ายกับภาพถ่ายมุมสูงดังกล่าวไว้ พร้อมระบุว่าภาพดังกล่าวคือภาพโครงการรถไฟความเร็วสูงไต้หวัน (ลิงค์บันทึก)

ด้านล่างเป็นการเปรียบเทียบระหว่างภาพในโพสต์เท็จ (ซ้าย) กับภาพถ่ายที่ปรากฏในเว็บไซต์ของ CEC (ขวา):

Image
เปรียบเทียบระหว่างภาพถ่ายที่ปรากฏในโพสต์เท็จ (ซ้าย) กับภาพถ่ายที่ปรากฏในเว็บไซต์ของ CEC (ขวา)

หลังใช้การค้นหาด้วยคำสำคัญในกูเกิ้ล AFP พบรายงานฉบับหนึ่ง มีชื่อหัวข้อว่า "รถไฟความเร็วสูงไต้หวันและผลกระทบต่อการพัฒนาภูมิภาค" และถูกเผยแพร่โดยศูนย์การขนส่งทางรางและวิศวกรรม ณ มหาวิทยาลัยอิลลินอย เออร์แบนา-แชมเปญจน์ (ลิงค์บันทึก)

หน้าที่ 3 ของรายงานแสดงให้เห็นภาพถ่ายที่มีลักษณะตรงกับภาพที่ปรากฏในโพสต์เท็จ

AFP ได้ตรวจสอบโดยใช้ Google Earth เพื่อระบุตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของเส้นทางรถไฟความเร็วสูงในไต้หวัน

ด้านล่างเป็นการเปรียบเทียบระหว่างภาพถ่ายในโพสต์เท็จ (ซ้าย) กับภาพถ่ายหน้าจอจาก Google Earth ที่แสดงให้เห็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูงไต้หวันในมณฑลจางฮว่า (ขวา):

Image
เปรียบเทียบระหว่างภาพถ่ายที่ปรากฏในโพสต์เท็จ (ซ้าย) กับภาพถ่ายหน้าจอจาก Google Earth ที่แสดงให้เห็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูงไต้หวันในมณฑลจางฮว่า (ขวา)

เส้นทางของรถไฟความเร็วสูงดังกล่าวในไต้หวันมีระยะทางประมาณ 350 กิโลเมตร ซึ่งวิ่งตามแนวชายฝั่งตะวันตกของไต้หวันกรุงไทเปไปยังเมืองเกาสง

จากข้อมูลของบริษัทรถไฟความเร็วสูงไต้หวัน รถไฟความเร็วสูงดังกล่าวเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2550 (ลิงค์บันทึก)

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?

ติดต่อเรา