นี่เป็นวิดีโอสึนามิถล่มปี 2554 ที่ประเทศญี่ปุ่น ไม่ใช่วิดีโอเหตุการณ์สึนามิในวันขึ้นปีใหม่ 2567

ภาพอันน่าตกตะลึงของคลื่นยักษ์สึนามิพัดถล่มเรือและรถยนต์จำนวนมากได้ถูกเผยแพร่โดยผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ โดยอ้างว่าเป็นเหตุการณ์คลื่นสึนามิสูงกว่า 1 เมตรหลังแผ่นดินไหวรุนแรงในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567 อย่างไรก็ตาม วิดีโอดังกล่าวแสดงเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ในญี่ปุ่นในเดือนมีนาคม ปี 2554

"สึนามิ ญี่ปุ่น2024 จะซ้ำรอย 2011 หรือไม่ #สึนามิ #ญี่ปุ่น #แผ่นดินไหว คนทางโน้นปลอดภัยกันไหม" ผู้ใช้งานติ๊กตอกเขียนคำบรรยายวิดีโอเป็นภาษาไทยเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567 

วิดีโอในโพสต์แสดงจังหวะที่คลื่นยักษ์พัดถล่มเรือและรถยนต์บนถนนเลียบชายฝั่ง

นอกจากนี้ ยังได้ยินเสียงคนพูดว่า ชั้นล่างของอาคารอยู่ใต้น้ำแล้ว และน้ำจากทะเลกำลังจะซัดเข้าฝั่ง

วิดีโอดังกล่าวถูกนำกลับมาเผยแพร่ออนไลน์ในวันเดียวกันกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวระดับ 7.5 ริกเตอร์ในวันปีใหม่ที่จังหวัดอิชิกาวะ ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะฮอนชูในประเทศญี่ปุ่น ข้อมูลอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นระบุเมื่อวันที่ 9 มกราคมว่ามมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 160 ราย

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์ติ๊กตอกที่แชร์คำกล่าวอ้างเท็จ

แผ่นดินไหวครั้งนี้ยังส่งผลให้อาคารบ้านเรือนเสียหาย ไฟไหม้ครั้งใหญ่ และเกิดรอยแยกตามถนนหนทาง

วิดีโอเดียวกันนี้ยังถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันโดยผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์จากทั่วโลก เช่น กรีซ  อินเดีย  ญี่ปุ่น  เมียนมาร์  ปากีสถาน  สิงคโปร์ และ สหรัฐอเมริกา

อย่างไรก็ตาม AFP ได้ค้นหาภาพแบบย้อนหลังโดยใช้คีย์เฟรมของวิดีโอและพบว่า วิดีโอดังกล่าวถูกถ่ายไว้ได้ในเดือนมีนาคม 2554 หลังเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงระดับ 9.0 ในญี่ปุ่น โดยเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้เกิดผู้เสียชีวิตหรือสูญหายราว 18,500 คน

วิดีโอถูกนำไปแชร์ต่ออย่างผิดๆ

วิดีโอที่แชร์ในโพสต์เท็จนั้นถูกครอปตัดและสลับด้าน โดยวิดีโอต้นฉบับนั้นถูกแชร์ในยูทูปโดยสำนักข่าวของญี่ปุ่น ANN โดยสามารถดูได้ ณ วินาทีที่ 3:50 (ลิงก์บันทึก)

ANN เขียนชื่อเรื่องวิดีโอไว้ว่า "สึนามิ แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทางตะวันออกของญี่ปุ่น" โดยคำบรรยายระบุว่าวิดีโอนี้ถูกบันทึกไว้ได้เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ในเมืองมิยาโกะ จังหวัดอิวาเตะ ซึ่งตั้งอยู่ชายฝั่งด้านตะวันออกของญี่ปุ่น

ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอของวิดีโอที่ปรากฏในโพสต์เท็จ (ซ้าย) และวิดีโอที่ ANN เผยแพร่ในยูทูป (ขวา)

Image
เปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอของวิดีโอที่ปรากฏในโพสต์เท็จ (ซ้าย) และวิดีโอที่ ANN เผยแพร่ในยูทูป (ขวา)
Image
เปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอของวิดีโอที่ปรากฏในโพสต์เท็จ (ซ้าย) และวิดีโอที่ ANN เผยแพร่ในยูทูป (ขวา)
Image
เปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอของวิดีโอที่ปรากฏในโพสต์เท็จ (ซ้าย) และวิดีโอที่ ANN เผยแพร่ในยูทูป (ขวา)

เมื่อดูวิดีโอที่คล้ายกันในโพสต์เท็จอื่น จะสังเกตเห็นตัวเลขบนป้ายจำกัดความเร็วถูกพลิกไปอีกด้าน โดย AFP ได้ทำเครื่องหมายเอาไว้

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เท็จในทวิตเตอร์ โดย AFP ทำเครื่องหมายบนตัวเลขบนป้ายจำกัดความเร็วที่ถูกพลิกไปอีกด้าน

ในช่วงวินาทีที่ 4:17 และ 5:17 ในวิดีโอของ ANN จะได้ยินเสียงคนพูดเป็นภาษาญี่ปุ่น ซึ่งตรงกันกับวิดีโอในโพสต์เท็จ (ลิงก์บันทึกที่นี่ และ นี่)

นอกจากนี้ AFP ได้เผยแพร่ภาพถ่ายที่ถูกบันทึกไว้ได้จากเหตุการณ์เดียวกันในปี 2554 

คำบรรยายใต้ภาพระบุว่า "ภาพนี้ถ่ายโดยเจ้าหน้าที่ในเมืองมิยาโกะเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 และเผยแพร่เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 โดยแสดงให้เห็นคลื่นยักษ์สึนามิซัดแนวเขื่อนและน้ำท่วมเข้าสู่เมืองมิยาโกะ จังหวัดอิวาเตะ ไม่นานหลังเกิดแผ่นดินไหวระดับ 9.0 ริกเตอร์ในภาคเหนือของญี่ปุ่น"

อาคารที่ปรากฏในคลิปวิดีโอตรงกับภาพถ่ายในเมืองมิยาโกะที่ปรากฏในกูเกิลสตรีทวิว (ลิงก์บันทึก)

ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอของวิดีโอในโพสต์เท็จที่ถูกพลิกกลับ (ซ้าย) และภาพจากแผนที่กูเกิล (ขวา) โดย AFP ทำเครื่องหมายเน้นลักษณะสำคัญที่ตรงกัน:

Image
เปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอของวิดีโอในโพสต์เท็จที่ถูกพลิกกลับ (ซ้าย) และภาพจากแผนที่กูเกิล (ขวา) โดย AFP ทำเครื่องหมายเน้นลักษณะสำคัญที่ตรงกัน
Image
เปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอของวิดีโอในโพสต์เท็จที่ถูกพลิกกลับ (ซ้าย) และภาพจากแผนที่กูเกิล (ขวา) โดย AFP ทำเครื่องหมายเน้นลักษณะสำคัญที่ตรงกัน

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?

ติดต่อเรา