วิดีโอคลื่นสึนามิในญี่ปุ่นปี 2554 ถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างเท็จว่าเป็นเหตุการณ์หลังแผ่นดินไหวในไต้หวันปี 2567
- เผยแพร่ วันที่ 23 เมษายน 2024 เวลา 11:11
- อัพเดตแล้ว วันที่ 23 เมษายน 2024 เวลา 11:40
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
- เขียนโดย: Bill MCCARTHY, AFP สหรัฐอเมริกา
- แปลและดัดแปลง โดย Chayanit ITTHIPONGMAETEE
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2568 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
"เกิดสึนามีในไต้หวัน หลังจากแผ่นดินไหว" คำบรรยายในโพสต์ X เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 ระบุ โดยโพสต์ดังกล่าวแชร์วิดีโอที่มีความยาวกว่า 1 นาที ซึ่งแสดงให้เห็นคลื่นยักษ์ซัดเข้าฝั่ง ส่งผลให้อาคารและรถยนต์เสียหายจำนวนมาก
วิดีโอเดียวกันถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างคล้าย ๆ กันในภาษาไทยที่นี่ และ นี่ และในภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษที่นี่ และ นี่ และ ภาษาสเปนที่นี่
เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.4 ในไต้หวัน มีรายงานตัวเลขผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 13 ราย และบาดเจ็บมากกว่า 1,100 คน เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่รุนแรงที่สุดที่ไต้หวันเผชิญในรอบ 25 ปี
เหตุแผ่นดินไหวครั้งดังกล่าวส่งผลให้ญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ประกาศเตือนภัยสึนามิก่อนที่จะยกเลิกประกาศในภายหลัง โดยศูนย์เตือนภัยสึนามิในมหาสมุทรแปซิฟิกระบุว่า ภัยคุกคามได้ "ผ่านพ้นไปแล้ว" (ลิงก์บันทึก)
อย่างไรก็ตาม วิดีโอเหล่านี้ไม่ได้แสดงเหตุการณ์ในไต้หวันหลังเกิดแผ่นดินไหวเมื่อต้นเดือนเมษายน 2567 แต่ภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นในปี 2554
การค้นหาภาพย้อนหลังและค้นหาด้วยคำสำคัญในกูเกิล พบคลิปวิดีโอคล้ายๆ กันนี้ในลักษณะถูกพลิกในแนวนอน และถูกเผยแพร่เมื่อต้นเดือนมีนาคม ปี 2554 โดยชื่อเรื่องระบุว่าเป็นเหตุการณ์สึนามิพัดถล่มชายฝั่งของญี่ปุ่น (ลิงก์บันทึก)
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ในญี่ปุ่น คลื่นยักษ์ได้ซัดเรือเข้าชายฝั่งและทำให้ระบบของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขัดข้องจนกัมมันตภาพรังสีรั่วไหล โดยโศกนาฏกรรมที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายมากกว่า 18,500 ราย
AFP ได้ทำการค้นหาผู้ใช้งานยูทูบที่แชร์วิดีโอดังกล่าวเป็นอันดับแรกๆ หลังเกิดเหตุภัยพิบัตินี้ และพบคำบรรยายภาษาญี่ปุ่นที่ระบุได้ว่า วิดีโอดังกล่าวถูกบันทึกไว้ได้จากลานจอดรถบนร้านอิออน (Aeon) ในเมืองทากาโจ ประเทศญี่ปุ่น โดยเขาบอกว่าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยพาเขาขึ้นไปหลบภัยที่ลานจอดรถขณะที่คลื่นซัดเข้ามา
AFP สามารถยืนยันสถานที่ในคลิปวิดีโอดังกล่าวได้ โดยลานจอดรถ ทางลาด และเสาดาวเทียมในวิดีโอนั้นตรงกับภาพใน Google Earth และใน Google Maps Street View จากเดือนสิงหาคม 2011 (ลิงก์บันทึกที่นี่ และ นี่)
AFP ได้ตรวจสอบคำกล่าวอ้างที่เกี่ยวกับเหตุแผ่นดินไหวในไต้หวันที่นี่ และโพสต์ที่แชร์คลิปจากเหตุการณ์สึนามิในญี่ปุ่นพร้อมคำกล่าวอ้างเท็จที่นี่ และ นี่
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา