คลิปเก่าจากติมอร์-เลสเตถูกแชร์ในโพสต์เท็จว่าเป็นภาพการประท้วงในตุรกีในปี 2568

การจับกุมเอเครม อิมาโมกลู นายกเทศมนตรีของเมืองอิสตันบูล คู่แข่งทางการเมืองคนสำคัญของประธานาธิบดีเรเจป ทายยิป แอร์โดอัน ส่งผลให้เกิดการประท้วงใหญ่ทั่วประเทศตุรกี อย่างไรก็ตาม คลิปวิดีโอที่ถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างเท็จว่าเป็นภาพจากการประท้วงในอิสตันบูลและเมืองอื่น ๆ ในตุรกี ที่จริงแล้วเป็นวิดีโอที่แสดงพิธีกรรมทางศาสนาขณะที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเสด็จเยือนติมอร์-เลสเตในเดือนกันยายน 2567

"ชาวตุรกีหลายแสนคนรวมตัวชุมนุมประท้วงการจับกุมนายเอเคร็ม อีมาโมกลู นายกเทศมนตรีนครอิสตันบูลที่ถูกควบคุมตัวไปเมื่อวานนี้และเรียกร้องในประธานาธิบดีลาออก" โพสต์เฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 เขียนคำบรรยาย

โพสต์ดังกล่าวแชร์คลิปวิดีโอความยาว 26 วินาที ที่เผยให้เห็นฝูงชนจำนวนมากและขบวนรถเคลื่อนตัวไปตามถนนในเวลากลางคืน

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊กที่แชร์คำกล่าวอ้างเท็จ

คลิปเดียวกันนี้ยังปรากฏพร้อมคำกล่าวอ้างลักษณะเดียวกันในโพสต์ภาษาอื่น เช่น ภาษาอังกฤษ  อาหรับ และ กรีก โดยโพสต์เหล่านี้ปรากฏขึ้นหลังนายกเทศมนตรีเอเครม อิมาโมกลูถูกจับกุมเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ในข้อหาทุจริตและช่วยเหลือกลุ่มก่อการร้าย ซึ่งส่งผลให้เกิดจลาจลในตุรกีที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายปี (ลิงก์บันทึก)

อิมาโมกลู นักการเมืองวัย 53 ปีจากพรรคฝ่ายค้านของตุรกี ถูกมองว่าเป็นคู่แข่งคนคำสำคัญประธานาธิบดีแอร์โดกันในการเลือกตั้งครั้งต่อไปของตุรกี

อย่างไรก็ตาม คลิปที่ถูกแชร์อย่างแพร่หลายนี้แสดงพิธีกรรมทางศาสนาในติมอร์-เลสเต ไม่ใช่ในตุรกีตามคำกล่าวอ้าง

การค้นหาภาพแบบย้อนหลังโดยใช้คีย์เฟรมของวิดีโอ พบว่าวิดีโอดังกล่าวถูกแชร์ในติ๊กตอกตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2567 (ลิงก์บันทึก)

คำบรรยายใต้วิดีโอชี้ว่าวิดีโอถูกถ่ายไว้ได้ระหว่างที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเสด็จเยือนติมอร์-เลสเต

Image
เปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างโพสต์ที่แชร์คำกล่าวอ้างเท็จ (ซ้าย) และโพสต์ติ๊กตอกในเดือนกันยายน 2567

เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2567 สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงประกอบพิธีมิสซาในกรุงดิลี เมืองหลวงของติมอร์-เลสเต โดยรายงานของวาติกันระบุว่า มีประชาชนเข้าร่วมมากกว่า 600,000 คน หรือเกือบครึ่งของประชากรทั้งหมดในประเทศนับถือศาสนาคริสต์เป็นศาสนาหลัก (ลิงก์บันทึก)

ในช่วงวินาทีที่ 14 ของโพสต์ติ๊กตอก ยังปรากฏให้เห็นโปสเตอร์ที่ต้อนรับสมเด็จพระสันตะปาปาอย่างชัดเจน

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์ติ๊กตอก ณ วินาทีที่ 14 ซึ่งเผยให้เห็นโปสเตอร์ต้อนรับสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส

AFP เปรียบเทียบสถานที่ที่ปรากฏในวิดีโอกับภาพในแผนที่กูเกิล ซึ่งยืนยันว่าสถานที่ในวิดีโอคือถนนเส้นหนึ่งในเมืองดิลี เมืองหลวงของติมอร์-เลสเต

Image
Image
Screenshot comparison of the TikTok video (L) and its corresponding Google Maps street imagery with corresponding elements highlighted by AFP

ก่อนหน้านี้ AFP ได้ตรวจสอบวิดีโอเดียวกันนี้ที่ถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างเท็จว่าเป็นคลิปจากการชุมนุมเพื่อสนับสนุนอดีตประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต ของฟิลิปปินส์ 

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?

ติดต่อเรา