
โพสต์เท็จแชร์คลิปเก่าและไม่เกี่ยวข้อง โดยอ้างว่าเป็นเหตุ "น้ำท่วมในเท็กซัส"
- เผยแพร่ วันที่ 16 กรกฎาคม 2568 เวลา 10:13
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 8 นาที
- เขียนโดย: Bill MCCARTHY, AFP สหรัฐอเมริกา
- แปลและดัดแปลง โดย Chayanit ITTHIPONGMAETEE , AFP Thailand
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2568 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
"เมกาโดนพายุ ฝนถล่ม น้ำท่วมใหญ่ สุดในรอบปี..2025 เร่งอพยพที่ปลอดภัย" โพสต์เฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2568 เขียนคำบรรยาย
คลิปดังกล่าวที่ระบุว่าเป็นภาพกระแสน้ำไหลเชี่ยวจากแม่น้ำกัวดาลูปในรัฐเท็กซัส ที่พัดรถยนต์และไหลทะลักเข้าตัวอาคาร

ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊กที่แชร์คำกล่าวอ้างเท็จ โดย AFP ทำเครื่องหมายกากบาทสีแดง
นอกจากนี้ยังพบโพสต์ติ๊กตอกและโพสต์เฟซบุ๊กที่แชร์คลิปจำนวนหลายคลิปเช่นกัน โดยข้อความบรรยายอ้างว่าเป็นเหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่ในเท็กซัส
คลิปที่รวบรวมเหตุการณ์ทั้งสองถูกแชร์ออกไปอย่างกว้างขวางตามแพลตฟอร์มต่าง ๆ หลังจากเกิดเหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่ในเท็กซัสช่วงวันชาติของสหรัฐฯ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 120 ราย รวมถึงเด็กผู้หญิงและเจ้าหน้าที่จากค่ายเยาวชนอย่างน้อย 27 ราย
อย่างไรก็ตาม AFP ได้ตรวจสอบคลิปเหล่านี้ด้วยเครื่องมือค้นหาภาพย้อนหลัง การค้นหาด้วยคำสำคัญ และการระบุพิกัดทางภูมิศาสตร์ และพบว่าทั้ง 14 คลิปนั้นเป็นคลิปเก่าที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุน้ำท่วมในเท็กซัส นอกจากนี้ ยังพบว่าหลายคลิปนั้นถูกดัดแปลงด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น กลับด้านภาพหรือเร่งความเร็ว อีกด้วย
จีน กันยายน 2567
การค้นหาภาพแบบย้อนหลังพบว่าคลิปแรกมาจากเว็บไซต์ที่ให้สิทธิ์ใช้งานวิดีโออย่าง ไวรัลแบร์และนิวส์แฟลร์ (ลิงก์บันทึกที่นี่ และ นี่)

ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊กที่แชร์คำกล่าวอ้างเท็จ โดย AFP ทำเครื่องหมายกากบาทสีแดง
ทั้งสองเว็บไซต์ระบุว่า คลิปดังกล่าวแสดงเหตุการณ์ขณะผู้คนกำลังหนีออกจากบริเวณแม่น้ำเฉียนถังเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567
โดยแม่น้ำดังกล่าวตั้งอยู่ในมณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน และเป็นแม่น้ำที่ขึ้นชื่อเรื่องคลื่นทะเลหนุน
ปากีสถาน กรกฎาคม 2567

ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊กที่แชร์คำกล่าวอ้างเท็จ โดย AFP ทำเครื่องหมายกากบาทสีแดง
คลิปที่สองที่ปรากฏในโพสต์เท็จนั้นถูกเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กเขียนคำบรรยายว่า เป็นภาพหุบเขาในเมืองชิตราล ประเทศปากีสถาน ซึ่งได้รับผลกระทบจากฤดูมรสุม (ลิงก์บันทึก)
อินโดนีเซีย มีนาคม 2568

ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊กที่แชร์คำกล่าวอ้างเท็จ โดย AFP ทำเครื่องหมายกากบาทสีแดง
คลิปที่สามในโพสต์เท็จถูกกลับด้านภาพ โดยวิดีโอต้นฉบับเป็นเหตุน้ำป่าไหลหลากใกล้ช่องเขาปุนจัก ในเขตโบกอร์ ประเทศอินโดนีเซีย ผู้ใช้ติ๊กตอกต้นทางเผยแพร่คลิปดังกล่าวไว้เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2568 (ลิงก์บันทึก)
โดยคำบรรยายยังระบุถึงแม่น้ำซิลีวุง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญในพื้นที่ดังกล่าว
@wasky134 innaillahiwainnailahiroziun #puncakbogor #ciliwung #masukberanda #fypシ゚ ♬ suara asli - Wasky13
ทั้งไวรัลแบร์และนิวส์แฟลร์เป็นผู้ได้ลิขสิทธิ์ของวิดีโอดังกล่าว (ลิงก์บันทึกที่นี่ และ นี่)
วิดีโออีกชุดจากนิวส์แฟลร์และซีเอ็นเอ็น อินโดนีเซียยังเผยให้เห็นมุมอื่นของน้ำที่ไหลผ่านอาคารเดียวกัน ซึ่งสังเกตได้จากราวระเบียงสีดำสลับเหลือง (ลิงก์บันทึกที่นี่ และ นี่) ข้อมูลจากนิวส์แฟลร์ได้ระบุเพิ่มด้วยว่า วิดีโอดังกล่าวถูกถ่ายในเมืองซิซารัว ประเทศอินโดนีเซีย
รายงานของ AFP เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ได้อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานบรรเทาสาธารณภัยของอินโดนีเซีย โดยระบุว่า ฝนที่ตกหนักทำให้แม่น้ำซิลีวุงเอ่อล้นตลิ่ง ส่งผลกระทบต่อประชาชน 1,446 คนจาก 224 ครัวเรือนในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
เม็กซิโก มิถุนายน 2568

ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊กที่แชร์คำกล่าวอ้างเท็จ โดย AFP ทำเครื่องหมายกากบาทสีแดง
คลิปที่สี่เป็นวิดีโอที่ถูกกลับด้านภาพ และถูกเผยแพร่มาแล้วตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2568 โดยหลายบัญชีระบุว่าเป็นภาพเหตุการณ์น้ำป่าไหลหลากที่พัดพารถยนต์ในย่านเมนชากา เมืองเกเรตาโร ประเทศเม็กซิโก (ลิงก์บันทึกที่นี่ นี่ นี่ และ นี่)
Una camioneta de Izzi fue arrastrada por la corriente en la colonia Menchaca. #AlMomento#Lluvias#Querétaro. pic.twitter.com/6fLiHdczjE
— Update Me (@updateme_news) June 16, 2025
AFP พบว่าวิดีโอดังกล่าวถูกถ่ายไว้ได้ที่ถนนริโอ คูลิอาคัน ซึ่งตรงกับภาพระดับถนนในแผนที่กูเกิลได้แสดงอาคาร กำแพง และประตูรั้วที่สอดคล้องกับในคลิป (ลิงก์บันทึก)

ภาพถ่ายหน้าจอจากโพสต X โดย AFP ทำเครื่องหมายเพื่อเน้นองค์ประกอบสำคัญ

ภาพถ่ายหน้าจอของภาพระดับถนนในแผนที่กูเกิล โดย AFP ทำเครื่องหมายเพื่อเน้นองค์ประกอบสำคัญ
เบลเยียม กรกฎาคม 2564

ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊กที่แชร์คำกล่าวอ้างเท็จ โดย AFP ทำเครื่องหมายกากบาทสีแดง
คลิปที่ห้าเป็นวิดีโอที่ถูกกลับภาพซ้าย-ขวา โดยคลิปต้นฉบับเผยแพร่ครั้งแรกในโพสต์เฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 โดยคำบรรยายระบุว่าเป็นภาพจากจัตุรัส Place du Martyr เมืองแวร์วีเยร์ ประเทศเบลเยียม (ลิงก์บันทึก) วิดีโอนี้ยังถูกเผยแพร่โดยหน่วยงานให้สิทธิ์ใช้งานวิดีโอชื่อ Storyful ด้วย (ลิงก์บันทึก)
ภาพระดับถนนจากแผนที่กูเกิลแสดงอาคารและอนุสาวรีย์ที่มีลักษณะสอดคล้องกับภาพในคลิป (ลิงก์บันทึก)

ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊ก โดย AFP ทำเครื่องหมายเพื่อเน้นองค์ประกอบสำคัญ

ภาพถ่ายหน้าจอของภาพระดับถนนในแผนที่กูเกิล โดย AFP ทำเครื่องหมายเพื่อเน้นองค์ประกอบสำคัญ
ฮิตช์ค็อก รัฐเท็กซัส กรกฎาคม 2567

ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊กที่แชร์คำกล่าวอ้างเท็จ โดย AFP ทำเครื่องหมายกากบาทสีแดง
ข้อมูลจากเว็บไซต์นิวส์แฟลร์และไวรัลฮ็อกระบุว่าคลิปที่หกถูกบันทึกไว้เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567 โดยแสดงเหตุการณ์ขณะพายุเฮอริเคนเบริลพัดถล่มชายฝั่งในเมืองฮิตช์ค็อก รัฐเท็กซัส จนทำให้เกิดน้ำท่วม (ลิงก์บันทึกที่นี่ และ นี่)
AFP ตรวจสอบพิกัดจากวิดีโอและพบว่าเป็นถนนบายูไดร์ฟ โดยมีโกดังเก็บของ เรือ และบ้านใกล้เคียงที่มีลักษณะที่สอดคล้องกันกับภาพระดับถนนในแผนที่กูเกิล (ลิงก์บันทึก)

ภาพถ่ายหน้าจอของเว็บไซต์นิวส์แฟลร์ โดย AFP ทำเครื่องหมายเพื่อเน้นองค์ประกอบสำคัญ

ภาพถ่ายหน้าจอของภาพระดับถนนในแผนที่กูเกิล โดย AFP ทำเครื่องหมายเพื่อเน้นองค์ประกอบสำคัญ
ฟลอริดา กันยายน 2567

ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊กที่แชร์คำกล่าวอ้างเท็จ โดย AFP ทำเครื่องหมายกากบาทสีแดง
คลิปที่เจ็ด เป็นวิดีโอน้ำทะลักเข้าบันไดภายในอาคารและถูกโพสต์ครั้งแรกทางติ๊กตอกเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 (ลิงก์บันทึก)
เจ้าของโพสต์ระบุว่าวิดีโอดังกล่าว เป็นเหตุการณ์ที่โรงแรมโอปอล แซนดส์ รีสอร์ท ในเมืองเคลียร์วอเทอร์ รัฐฟลอริดา จากพายุเฮอริเคนเฮลีน ซึ่งขึ้นฝั่งเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567
@zuelyzzrivera Hotel Opal Sands at Clearwater Beach. Hurricane Helene #helene #hurricanehelene #huracan #clearwaterbeach ♬ original sound - ZuelyzzRivera
ผู้ใช้บัญชีเดียวกันยังเผยแพร่คลิปอื่นที่แสดงให้เห็นน้ำท่วมบริเวณนอกโรงแรม (ลิงก์บันทึกที่นี่ และ นี่)
โดยภาพระดับถนนจากแผนที่กูเกิลยืนยันได้ว่าโครงสร้างภายนอกโรงแรมสอดคล้องกับองค์ประกอบภาพในคลิปวิดีโอ (ลิงก์บันทึก)
ต่อมาทางโรงแรมได้ยืนยันในโพสต์เฟซบุ๊กว่า หลังถูกพายุเฮลีนและพายุเฮอริเคนมิลตันที่พัดถล่มฟลอริดาภายในเวลาเพียงแค่สองสัปดาห์ ทางโรงแรมได้กลับมาเปิดให้บริการตามปกติแล้ว
ทาง AFP ได้พยายามติดต่อไปยังเครือโรงแรมโอปอล คอลเล็กชัน แต่ไม่ได้รับการตอบกลับ
หมู่เกาะมาร์แชลล์ มกราคม 2567

ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์ติ๊กตอกที่แชร์คำกล่าวอ้างเท็จ โดย AFP ทำเครื่องหมายกากบาทสีแดง
ส่วนคลิปถัดมานั้น ซึ่งเป็นคลิปแรกในวิดีโอชุดที่สองที่ AFP ตรวจสอบ เป็นภาพคลื่นซัดเข้าสู่ร้าน Outrigger Bar & Grill บนเกาะรอย-นามูร์ ในหมู่เกาะมาร์แชลล์ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2567
โพสต์เท็จได้นำคลิปวิดีโอต้นฉบับมาเร่งความเร็วและสลับด้าน โดยคลิปวิดีโอยูทูบต้นฉบับ ถูกนำไปเผยแพร่ต่อโดยนิวส์แฟลร์และไวรัลแบร์ (ลิงก์บันทึกที่นี่ นี่ และ นี่)
ภาพถ่ายกูเกิลของร้านอาหารดังกล่าว ซึ่งตั้งอยู่ในฐานทัพของกองทัพสหรัฐ แสดงให้เห็นน้ำท่วมไหลทะลักเข้ามาในอาคาร (ลิงก์บันทึก)
ฟ็อกซ์เวเธอร์ อาร์มีไทมส์ และสื่ออื่น ๆ รวมถึงกองทัพสหรัฐฯ ก็เผยแพร่รายงานหรือแถลงการณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์น้ำท่วมที่ร้านอาหารดังกล่าวในช่วงเดือนมกราคม 2567 ด้วย (ลิงก์บันทึก)
อินเดีย ธันวาคม 2566

ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์ติ๊กตอกที่แชร์คำกล่าวอ้างเท็จ โดย AFP ทำเครื่องหมายกากบาทสีแดง
วิดีโอที่เก้า ซึ่งแสดงภาพรถยนต์ถูกน้ำพัดพาอย่างรุนแรง ถูกเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2566 โดยเป็นวิดีโอที่ถูกเร่งความเร็วและสลับด้านเช่นกัน
โพสต์ X และรายงานของไทมส์ ออฟ อินเดีย ระบุว่า คลิปดังกล่าวแสดงผลกระทบของไซโคลนมิชองที่พัดผ่านย่าน Pallikaranai ในเมืองเชนไน ประเทศอินเดีย (ลิงก์บันทึกที่นี่ และ นี่)
#ChennaiRains#ChennaiFloods Pallikarani (velachery) Be safe pic.twitter.com/8PW74ZNvb7
— Gokul Tamilselvam (@Gokul46978057) December 4, 2023
AFP ได้ตรวจสอบคลิปดังกล่าวและสามารถระบุพิกัดของสถานที่ในคลิปได้ว่าคือที่อพาร์ตเมนต์เพอร์วา วินเดอร์เมียร์ ซึ่งวิดีโอและภาพถ่ายบนกูเกิลที่แนบมากับสถานที่ดังกล่าวมีคลิปที่สอดคล้องกัน (ลิงก์บันทึกที่นี่ และ นี่)
นอกจากนี้ยังมีภาพอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นรถยนต์จากเหตุน้ำท่วมในเดือนธันวาคม ปี 2566 โดยภาพเหล่านี้ยืนยันสถานที่อย่างชัดเจน (ลิงก์บันทึกที่นี่ และ นี่)

ภาพถ่ายหน้าจอจากโพสต์ X โดย AFP ทำเครื่องหมายเพื่อเน้นองค์ประกอบสำคัญ

ภาพถ่ายหน้าจอจากภาพในแผนที่กูเกิล โดย AFP ทำเครื่องหมายเพื่อเน้นองค์ประกอบสำคัญ
อินโดนีเซีย เมษายน 2564

ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์ติ๊กตอกที่แชร์คำกล่าวอ้างเท็จ โดย AFP ทำเครื่องหมายกากบาทสีแดง
คลิปที่สิบ เป็นอีกคลิปที่ถูกสลับด้านและเร่งความเร็ว โดยมีคลิปที่ถูกเผยแพร่ทางอินสตาแกรมตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2564 ก่อนจะถูกลบในเวลาต่อมา (ลิงก์บันทึก)
โพสต์อินสตาแกรมระบุว่าเป็นภาพเหตุการณ์น้ำท่วมที่ทำให้สะพานกัมบานิรู ในเมืองไวงาปู ประเทศอินโดนีเซีย พังถล่ม โดยสื่อท้องถิ่นได้นำคลิปดังกล่าวไปเผยแพร่ในรายงานเกี่ยวกับเหตุน้ำท่วมครั้งนี้ด้วย
นอกจากนี้สะพานดังกล่าวปรากฏอยู่ในภาพระดับถนนในแผนที่กูเกิลในปี 2559 (ลิงก์บันทึก)
ก่อนหน้านี้ AFP ได้ตรวจสอบโพสต์ที่แชร์คลิปดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมในรัฐอัสสัมของอินเดียเมื่อปี 2565
เนปาล กันยายน 2567

ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์ติ๊กตอกที่แชร์คำกล่าวอ้างเท็จ โดย AFP ทำเครื่องหมายกากบาทสีแดง
แม้ว่าต้นฉบับของคลิปที่สิบเอ็ดยังไม่สามารถยืนยันได้ แต่การค้นหาภาพย้อนหลังพบวิดีโอคล้ายกันที่มีลักษณะคล้ายกันที่แสดงให้ภาพสะพานเชือกขณะถูกกระแสน้ำพัดอย่างรุนแรง (ลิงก์บันทึกที่นี่ นี่ และ นี่)
โพสต์เหล่านี้อ้างว่าเป็นเหตุการณ์จากประเทศเนปาลช่วงปลายเดือนกันยายน 2567
รายงานของ AFP ในช่วงเวลาดังกล่าวระบุว่า หลายพื้นที่ในเนปาลได้รับผลกระทบจากฝนตกหนัก ทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 200 คน
รัฐอินเดียนา สหรัฐฯ กุมภาพันธ์ 2562

ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์ติ๊กตอกที่แชร์คำกล่าวอ้างเท็จ โดย AFP ทำเครื่องหมายกากบาทสีแดง
การตรวจสอบคลิปที่สิบสอง พบวิดีโอต้นฉบับถูกเผยแพร่ในยูทูบเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562 ก่อนที่คลิปดังกล่าวจะถูกนำไปเร่งความเร็วและสลับด้านภาพ (ลิงก์บันทึก)
คำบรรยายวิดีโอระบุว่า รถบ้านของครอบครัวหนึ่งในลอว์เรนซ์ เคานท์ตี้ถูกลำธารพัดพาไป โดยแฮนนาห์ ลี แม่ของครอบครัวที่บันทึกวิดีโอนี้ ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อท้องถิ่นว่า รถบ้านของพวกเขาพังยับเยิน และถูกน้ำซัดไปอยู่ที่ฟาร์มของเพื่อนบ้าน
การค้นหาด้วยคำสำคัญพบคลิปต้นฉบับถูกเผยแพร่ทางเพจเฟซบุ๊กของลี ซึ่งเธอระบุว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นบนถนนป๊อบคอร์นเชิร์ช ในสปริงวิลล์ รัฐอินเดียนา (ลิงก์บันทึก)
รายงานของกรมอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติสหรัฐฯ ในวันเดียวกันระบุว่า "ลำธารล้นตลิ่งอย่างรุนแรง ... น้ำท่วมเข้าลานบ้านและพัดพายานพาหนะออกไป" ในพื้นที่สปริงวิลล์ (ลิงก์บันทึก)
สเปน กันยายน 2566

ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์ติ๊กตอกที่แชร์คำกล่าวอ้างเท็จ โดย AFP ทำเครื่องหมายกากบาทสีแดง
เมื่อนำคลิปที่สิบสามไปค้นหาภาพย้อนหลังพบภาพที่มีลักษณะคล้ายกันในรายงานของ ABC News และสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับเหตุน้ำท่วมในเมือง L'Ametlla de Mar ประเทศสเปน ในเดือนกันยายน 2566 (ลิงก์บันทึกที่นี่ นี่ และ นี่)
คลิปที่ถูกเผยแพร่ในโพสต์เท็จได้นำคลิปต้นฉบับไปสลับด้านและเร่งความเร็ว
จากเบาะแสของป้ายหน้าร้าน AFP สามารถระบุพิกัดของสถานที่ในคลิปได้ว่าอยู่ที่ถนน Carrer Sant Roc (ลิงก์บันทึก)

ภาพถ่ายหน้าจอของวิดีโอในยูทูบ โดย AFP ทำเครื่องหมายเพื่อเน้นองค์ประกอบสำคัญ

ภาพถ่ายหน้าจอของภาพระดับถนนในแผนที่กูเกิล โดย AFP ทำเครื่องหมายเพื่อเน้นองค์ประกอบสำคัญ
นอร์ทแคโรไลนา สหรัฐฯ ตุลาคม 2567

ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์ติ๊กตอกที่แชร์คำกล่าวอ้างเท็จ โดย AFP ทำเครื่องหมายกากบาทสีแดง
คลิปที่สิบสี่ถูกกลับด้านและเร่งความเร็วเช่นกัน โดยคลิปต้นฉบับถูกเผยแพร่บนยูทูบเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2567 (ลิงก์บันทึก)
คำบรรยายระบุว่าเป็นภาพจากพายุเฮอริเคนเฮลีนในเอเวอรี เคานท์ตี้ รัฐนอร์ทแคโรไลนา

ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์ยูทูบ
ผู้ใช้รายเดียวกันยังได้แชร์คลิปวิดีโอที่ยาวกว่า ซึ่งแสดงให้เห็นอีกมุมของโรงจอดรถและรถกระบะสีแดง รวมถึงภาพขณะที่เธอขับรถสำรวจความเสียหายในพื้นที่ (ลิงก์บันทึก)
วิดีโอดังกล่าวแสดงให้เห็นปั๊มน้ำมัน ร้านดอลลาร์ เจเนรัล และสถานที่อื่น ๆ ที่ AFP สามารถยืนยันพิกัดได้ว่าอยู่ในเอเวอรี เคานท์ตี้ (ลิงก์บันทึกที่นี่ นี่ และ นี่)
ภาพระดับถนนจากแผนที่กูเกิลบริเวณริมถนนไฮเวย์ทรีไมล์ ในเมืองนิวแลนด์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา สอดคล้องกับบ้านหลังหนึ่งในคลิป (ลิงก์บันทึก)

ภาพถ่ายหน้าจอของวิดีโอในยูทูบ โดย AFP ทำเครื่องหมายเพื่อเน้นองค์ประกอบสำคัญ

ภาพถ่ายหน้าจอของภาพระดับถนนในกูเกิล โดย AFP ทำเครื่องหมายเพื่อเน้นองค์ประกอบสำคัญ
ก่อนหน้านี้ AFP ได้ตรวจสอบคำกล่าวอ้างเกี่ยวกับเหตุน้ำท่วมในเท็กซัสที่นี่
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา