โพสต์ออนไลน์แชร์ "คำเตือนน้ำท่วม" ในประเทศไทยและสปป.ลาว ภายหลังพายุฝนถล่มจีน
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วัน 30 กรกฎาคม 2021 เวลา 06:05
- อัพเดตแล้ว วัน 30 กรกฎาคม 2021 เวลา 06:08
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
- เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2567 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
คำกล่าวอ้างถูกโพสต์ลงบนเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2564
คำบรรยายของโพสต์เขียนว่า "จีนระบายน้ำท่วมลงแม่น้ำโขง เตือนส.ค.-ก.ย.น้ำอาจท่วมใหญ่ที่ประเทศไทย-ลาว..ห้ามประมาท..ต้องหาวิธีป้องกันไว้ด้วย"
โพสต์ดังกล่าวแชร์คลิปวิดีโอที่แสดงมวลน้ำไหลออกจากเขื่อน โดยมีเสียงไซเรนและเพลงประกอบ มียอดชมมากกว่า 929,000 ครั้ง
ประเทศจีนเผชิญน้ำท่วมหนักในมณฑลเหอหนาน ส่งผลให้บ้านเรือนเสียหายและมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 71 คน
คำกล่าวอ้างเดียวกัน ถูกโพสต์ลงบนเฟซบุ๊กที่นี่ นี่ และนี่
คำกล่าวอ้างนี้ทำให้เข้าใจผิด
สำนักข่าว AFP ทำการค้นหาภาพย้อนหลังด้วยคีย์เฟรมส์จากเครื่องมือตรวจสอบดิจิทัล Invid-WeVerify พบวิดีโอที่คล้ายกันปรากฏอยู่ในสื่อสังคมออนไลน์ของประเทศจีนที่นี่ นี่และนี่
โพสต์ดังกล่าวแสดงเขื่อนกักเก็บน้ำเสี่ยวลังตี
สำนักข่าว AFP ได้เผยแพร่ภาพเขื่อนเสี่ยวลังตีระหว่างการระบายน้ำประจำปีเพื่อไล่ตะกอนที่เกิดขึ้นระหว่างแม่น้ำไหลผ่าน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2559
ภาพถ่ายของ AFP มีรายละเอียดตรงกับเขื่อนที่ถูกแชร์ในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างวิดีโอในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพถ่ายของ AFP (ขวา)
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวกับ AFP ว่า มวลน้ำที่ถูกระบายออกมาจากเขื่อน มุ่งหน้าผ่านทางตอนล่างของแม่น้ำเหลือง และไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยและสปป.ลาว
"น้ำท่วมในมณฑลเหอหนานไม่ได้มีผลกระทบต่อระดับน้ำในแม่น้ำโขง น้ำในเขื่อนจะไหลและออกลงทะเลในชายฝั่งตะวันออกของจีน โดยจะไหลผ่านแม่น้ำเหลือง และไม่ได้มาบรรจบลงที่แม่น้ำโขง" ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ยืนยันกับ AFP
แผนที่บน Google Maps แสดงระยะห่างระหว่างเขื่อนกักเก็บน้ำเสี่ยวลังตี ประเทศไทย และ สปป.ลาว
สำนักข่าว AFP ได้ตรวจสอบคำกล่าวอ้างเกี่ยวกับเหตุการณ์น้ำท่วมมณฑลเหอหนานไปแล้วก่อนหน้านี้ ที่นี่และนี่
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา