โพสต์เสียดสีเกี่ยวกับ "มาตรการรักษาความปลอดภัยหละหลวมในสนามบินอัฟกานิสถาน" ใช้ภาพเก่าที่ถ่ายในประเทศเยเมน

  • บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
  • เผยแพร่ วัน 2 กันยายน 2021 เวลา 11:31
  • ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
  • เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
ภาพถ่ายหนึ่งได้ถูกแชร์ออกไปในสื่อสังคมออนไลน์โดยอ้างว่าเป็นภาพแสดงมาตรการรักษาปลอดภัยที่หละหลวมในสนามบินแห่งหนึ่งของประเทศอัฟกานิสถาน โพสต์เหล่านี้ถูกแชร์ระหว่างที่ผู้คนกำลังอพยพออกจากประเทศ ภายหลังกลุ่มตาลีบันเข้ายึดอำนาจ คอมเมนต์ใต้โพสต์แสดงให้เห็นว่าพวกเขาเชื่อว่าคำกล่าวอ้างนั้นเป็นจริง อย่างไรก็ตาม ภาพถ่ายนั้นได้ถูกแชร์ในเพจเนื้อหาล้อเลียนเสียดสี และถูกเผยแพร่ในรายงานข่าวเกี่ยวกับประเทศเยเมนตั้งแต่ปี 2558

ภาพถ่ายนี้ถูกโพสต์ลงบนเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564

คำบรรยายของโพสต์เขียนว่า “Security check ที่สนามบินในอัฟกานิสถาน”

ภาพถ่ายแสดงชายถือปืนไรเฟิลขณะกำลังถูกค้นตัว

Image
ภายถ่ายหน้าจอของโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด

ภาพถ่ายนี้ถูกเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ ภายหลังจากที่สหรัฐและพันธมิตรอพยพคนกว่าหนึ่งแสนคนออกจากอัฟกานิสถานภายในระยะเวลาเพียงแค่ 2 สัปดาห์

ภาพถ่ายเดียวกันได้ถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันในโพสต์ทางเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และฟอรัมออนไลน์

คอมเมนต์ใต้โพสต์แสดงให้เห็นว่าพวกเขาเชื่อว่าภาพถ่ายนี้แสดงมาตรการรักษาความปลอดภัยในสนามบินของประเทศอัฟกานิสถาน

ผู้ใช้คนหนึ่งให้ความคิดเห็นว่า “ทำไมดูเหมือนผู้ชายที่ไม่มีอาวุธกำลังตรวจร่างกายคนที่มีอาวุธ”

อย่างไรก็ตาม ภาพถ่ายนี้ถูกแชร์ในเพจออนไลน์ซึ่งมีประวัติในการโพสต์เนื้อหาล้อเลียนเสียดสี เช่น ที่นี่ และนี่

การค้นหารูปภาพย้อนหลังพบภาพถ่ายต้นฉบับซึ่งไม่ได้ถ่ายในสนามบินของประเทศอัฟกานิสถาน

ภาพถ่ายนี้ถูกเผยแพร่ในทวิตเตอร์ของ Amjad Tadros นักข่าวของ CBS News เมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2558

ทวีตดังกล่าวเขียนว่า “ความทรงจำจาก #เยเมน นักสู้ฮูตี กำลังค้นตัวชายคนหนึ่งที่จุดชุมนุม โดยอนุญาตให้นำ คัต กริช และปืนเข้าได้!”

“ผมเป็นคนถ่ายรูปนี้ที่จุดชุมนุมในกรุงซานา เยเมนตั้งแต่ปี 58” Tadros บอกกับสำนักข่าว AFP วันที่ 2 กันยายน 2564

ฮูตี” คือกลุ่มกบฏในประเทศเยเมน

ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพถ่ายในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพถ่ายต้นฉบับ (ขวา):

Image
การเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภายถ่ายในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพถ่ายต้นฉบับ (ขวา)

การค้นหาด้วยคำสำคัญพบภาพถ่ายในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิดตรงกับคลิปรายงานข่าวของ CBS News ที่ถูกเผยแพร่ผ่านช่องยูทูปในวันที่ 16 มิถุนายน 2558

คำบรรยายวิดีโอเขียนว่า: “ภาพหายากในประเทศเยเมน”

ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพถ่ายในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และคลิปวิดีโอของ CBS News (ขวา):

Image
การเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพถ่ายในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และคลิปวิดีโอของ CBS News (ขวา)

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?

ติดต่อเรา

รายงานที่เกี่ยวข้อง