คลิปวิดีโอนี้ถูกตัดต่อด้วยแอนิเมชั่นคอมพิวเตอร์ประกอบกับภูมิทัศน์ของเมืองชิงเต่า ทางภาคตะวันออกของประเทศจีน

  • บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
  • เผยแพร่ วัน 14 มกราคม 2022 เวลา 09:23
  • ใช้เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
  • เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
คลิปวิดีโอที่แสดงดอกไม้ไฟที่ดูทันสมัยซึ่งมียอดรับชมหลายพันครั้ง ได้ถูกแชร์ออกไปในสื่อสังคมออนไลน์พร้อมคำกล่าวอ้างว่าเป็นวิดีโอที่แสดงดอกไม้ไฟช่วงคืนวันขึ้นปีใหม่ 2564 ในกรุงปักกิ่ง อย่างไรก็ตาม คำกล่าวอ้างนี้เป็นเท็จ ภาพในคลิปวิดีโอดังกล่าวเป็นการเติมแอนิเมชั่นเข้าไปในภาพภูมิทัศน์จริงจากเมืองชิงเต่าทางภาคตะวันออกของประเทศจีน ผู้สร้างคลิปวิดีโอดังกล่าวอธิบายกับ AFP ว่า ดอกไม้ไฟ ในคลิปวิดีโอนั้นถูกสร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์
 

คำบรรยายภาษาจีนของคลิปวิดีโอดังกล่าวแปลเป็นภาษาไทยว่า: “การแสดงดอกไม้ไฟปีใหม่ในกรุงปักกิ่ง เมื่อวานนี้”

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด

คลิปวิดีโอดังกล่าว -- ซึ่งมียอดรับชมมากกว่า 16,000 ครั้ง -- แสดงวัตถุสามมิติหลายอย่างลอยอยู่เหนือหอคอย

คลิปวิดีโอจบโดยมีโลโก้ของการแข่งกันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปักกิ่ง ซึ่งกรุงปักกิ่งจะเป็นเจ้าภาพในเดือนกุมภาพันธ์ 2565

คลิปวิดีโอเดียวกัน ถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันในโพสต์ภาษาจีนทางเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์

คลิปวิดีโอดังกล่าวถูกพร้อมคำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันในโพสต์ภาษาไทยทางเฟซบุ๊กที่นี่และนี่ และทางยูทูปนี่นี่และนี่

 ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งเขียนเป็นภาษาจีนว่า “วิดีโอนี้ถ่ายที่ปักกิ่ง”  ขณะที่อีกคนหนึ่งก็เขียนว่า “ปักกิ่ง”

ในความจริงแล้ว คลิปวิดีโอดังกล่าวเป็นการใช้แอนิเมชั่นดิจิตอลประกอบเข้าไปกับภูมิทัศน์จากเมืองชิงเต่า ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศจีน -- ไม่ใช่กรุงปักกิ่ง

การค้นหาภาพย้อนหลังทางกูเกิล พบคลิปวิดีโอต้นฉบับถูกเผยแพร่ลงทาง TikTok โดยเป็นผลงานของสตูดิโอมีชื่อว่า RenjiaView เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2564

คำบรรยายวิดีโอดังกล่าวแปลเป็นภาษาไทยว่า “สุขสันต์วันปีใหม่ 2565”

ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างคลิปวิดีโอในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และวิดีโอจาก TikTok (ขวา):

Image
เปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างคลิปวิดีโอในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และวิดีโอจาก TikTok (ขวา)

RenjiaView ได้เผยแพร่คลิปวิดีโอเดียวกันทางบัญชีวิดีโอทางการในแอพลิเคชั่น WeChat ด้านล่างคือภาพถ่ายหน้าจอ:

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของคลิปวิดีโอใน WeChat ที่ถูกเผยแพร่โดย RenjiaView

คำบรรยายวิดีโอแปลเป็นภาษาไทยว่า “สุขสันต์วันปีใหม่ 2565 หอคอยทีวีชิงเต่า (Qingdao TV Tower) แสง AR เปิดประตูสู่โลกใบใหม่ของเมตาเวิร์ส”

การค้นหาด้วยคำสำคัญทางกูเกิล พบรายงานของสื่อจีนเกี่ยวกับคลิปวิดีโอแสง AR ที่หอคอยทีวีชิงเต่า ของ RenjiaView ที่นี่และนี่

AFP ได้สอบถามเกี่ยวกับคำกล่าวอ้างที่ทำให้เข้าใจผิดในคลิปวิดีโอดังกล่าวไปยัง Lu Hui ผู้ก่อตั้ง RenjiaView โดยได้รับคำตอบว่าคลิปวิดีโอนี้ใช้ภาพภูมิทัศน์จริงจากเมืองชิงเต่า โดยได้มีการแต่งเติมด้วยภาพแอนิเมชั่นด้วยเทคโนโลยีความจริงเสิรม (Augmented Reality)

“เทคโนโลยีความจริงเสริมคือเออาร์ ซึ่งเป็นเอฟเฟคที่ใส่ซ้อนเข้าไปในภาพโดยใช้ลวดลายที่สมจริง” Lu กล่าว 

เขายืนยันด้วยว่าพลุที่ปรากฏอยู่ในคลิปวิดีโอนั้นถูกสร้างขึ้นในคอมพิวเตอร์ ขณะที่แสงไฟจากตัวหอคอยทีวีชิงเต่าเป็นของจริง

เขาได้แชร์ภาพถ่ายด้านล่างให้กับ AFP ซึ่งแสดงภาพต้นฉบับของเมืองชิงเต่าและแอนิเมชั่นดิจิตอลที่ถูกเติมเข้าไป

Image
เปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอจากคลิปวิดีโอ ที่แสดงภาพก่อนและหลังการแต่งเติมภาพด้วยคอมพิวเตอร์

 

แถลงการณ์ของทางรัฐบาลท้องถิ่นของนครชิงเต่า ระบุว่าหน่วยงานดังกล่าวมีส่วนร่วมในการผลิตวิดีโอดังกล่าวด้วย

หอคอย Qingdao TV ในคลิปวิดีโอ ตรงกับภาพถ่าย Street View ทาง Baidu Maps รูปนี้ในเขตเขาไทปิง (Taiping Hill) เมืองชิงเต่า

Image
A screenshot, taken on January 7, 2022, of the Qingdao TV tower in Baidu Map.

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?

ติดต่อเรา