ข่าวลวงเกี่ยวกับการบริโภคมะม่วงหาวมะนาวโห่ถูกแชร์ในสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วันที่ 11 มิถุนายน 2020 เวลา 08:00
- อัพเดตแล้ว วันที่ 12 มิถุนายน 2020 เวลา 06:55
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
- เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2568 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
คำกล่างอ้างนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2562 และได้ถูกแชร์ต่ออีกกว่า 40,000 ครั้ง
คำบรรยายบางส่วนในโพสต์เขียนว่า “เตือนสติกันหน่อย หากจะทานมะม่วงหาวมะนาวโห่
-คนไม่ท้องกินแล้วท้อง แต่คนท้องอ่อนกินแล้วอาจจะแท้งได้ (ขับเลือด)
-ไม่เหมาะสมกับคนเป็นโรคความดันต่ำ อาจวูบได้
-ไม่เหมาะสมกับคนเป็นโรคหัวใจพองโต”
ภาพถ่ายในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิดมีตัวอักษรสีขาวที่ด้านล่างขวาที่เขียนว่า นพรัตน์ ฟาร์ม ซึ่งเป็นฟาร์มปลูกมะม่วงหาวมะนาวโห่ในจังหวัดนครพนม
คำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันได้ถูกแชร์ผ่านเฟซบุ๊กในปี 2562 และได้ถูกแชร์อีกครั้งในปี 2563 ที่นี่ นี่และนี่
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าคำกล่าวอ้างนี้ทำให้เข้าใจผิด
“มะม่วงหาวมะนาวโหไม่ได้มีอันตรายอย่างที่โพสต์ได้กล่าวอ้าง เราสามารถกินได้เหมือนผลไม้ทั่วๆ ไปด้วยปริมาณที่เหมาะสม นอกจากนี้มันยังมีวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันหวัดและมะเร็ง” ดร.ภก.ดวงแก้ว ปัญญาภู หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการและคลังความรู้ กรมการแพทย์แผนไทยและการ
รศ.ดร.ขนิษฐา ธนานุวงศ์ หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับสำนักข่าว AFP เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน โดยกล่าวว่า “เรื่องนี้ไม่จริง มะม่วงหาวมะนาวโห่เป็นผลไม้ที่มีความคล้ายกับเบอรรี่ กะหล่ำสีม่วง อัญชัน ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเรา”
รศ.ดร.ขนิษฐา อธิบายว่าการบริโภคอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงจะช่วยลดความเสี่ยงจากโรคเบาหวาน มะเร็ง และความผิดปกติของสมองและระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย “จริงๆ แล้วทางวิทยาศาสตร์ ทุกอย่างควรกินด้วยปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้ไม่เกิดพิษ แต่มะม่วงหาวมะนาวโห่ไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายถ้ากินด้วยปริมาณที่เหมาะสม”
คำกล่าวอ้างที่ทำให้เข้าใจผิดนี้ผ่านการตรวจสอบโดยศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย ในวิดีโอนี้ซึ่งถูกโพสต์เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2562
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา