
คลิปวิดีโอนี้ถูกเผยแพร่ออนไลน์มาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 ในโพสต์เกี่ยวกับกระแสโซเชียลในประเทศอินโดนีเซีย
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วันที่ 20 มกราคม 2565 เวลา 09:34
- อัพเดตแล้ว วันที่ 21 มกราคม 2022 เวลา 04:36
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
- เขียนโดย: Wasi MIRZA, AFP ประเทศไทย
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2568 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
คลิปวิดีโอนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2565 และมียอดรับชมกว่าพันครั้ง
คำบรรยายโพสต์เขียนว่า “ความรุนแรงของ "สึนามิ" จากภูเขาไฟระเบิดใต้ทะเล #ตองกา#สึนามิ#Somboon_Shiya”
คลิปวิดีโอความยาว 36 วินาทีแสดงชายคนหนึ่งกำลังต่อยต้นกล้วยต้นหนึ่ในบริเวณ ข้างๆ แม่น้ำแห่งหนึ่ง ก่อนมวลน้ำจะค่อยๆ ไหลมาและพัดใส่เขาและคนอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียง

การปะทุใต้ทะเลของภูเขาไฟบนเกาะ Hunga Tonga-Hunga Ha'apai ในตองกา เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565 ส่งผลให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิพัดถล่มแนวชายฝั่งต่างๆ ที่เชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิก และทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายแห่ง ตั้งแต่ประเทศญี่ปุ่นไปจนถึงสหรัฐอเมริกา AFP รายงาน
คลิปวิดีโอดังกล่าวถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันทางเฟซบุ๊กที่นี่ นี่ นี่และนี่ ทางทวิตเตอร์ที่นี่ นี่ นี่และนี่ ทางติ๊กตอกที่นี่ นี่ นี่และนี่
วิดีโอเดียวกันถูกแชร์ทางเฟซบุ๊กที่นี่โดยสถานีโทรทัศน์ของประเทศสาธารณรัฐโดมินิกัน Telenoticias 11 และที่นี่โดย Enrique Santos, ผู้ดำเนินรายการวิทยุในประเทศสหรัฐอเมริกา
อย่างไรก็ตาม คลิปวิดีโอดังกล่าว ถูกแชร์ในบริบทที่เป็นเท็จ
การค้นหาภาพย้อนหลังพบคลิปวิดีโอที่ยาวกว่า ถูกโพสต์ลง YouTube ที่นี่ เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2564
ในช่วงวินาทีที่ 50 ชายคนหนึ่งกำลังพูดเป็นภาษาอินโดนีเซียกับกล้องก่อนที่เขาจะเริ่มต้นต่อยต้นกล้วยที่อยู่ใกล้ๆ
เขาบอกว่าเขาต้องการจะเลียนแบบคลิปไวรัลของชายชาวอินโดนีเซียคนหนึ่งในจังหวัดสุมาตราเหนือ ซึ่งถ่ายวิดีโอตัวเองต่อยต้นไม้จนลำต้นหักครึ่ง
ในคลิปวิดีโอเขาพูดในภาษาอินโดนีเซียว่า “ผมจะต่อยต้นไม่เหมือนชายคนนั้นจากคลิปวิดีโอไวรัล) ...ได้โปรดดูวิดีโอของผมเพื่อเราจะได้ร่วมงานกันที่ Ombak Bono”
“Ombak Bono” เป็นช่องเจาะน้ำขึ้นน้ำลงที่แม่น้ำกัมปาร์ในจังหวัดเรียว
ช่องยูทูปดังกล่าวได้มีการแชร์คลิปวิดีโอของชายคนดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบันทึกวิดีโอจากสถานที่เดิมที่นี่และนี่
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างคลิปวิดีโอในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และคลิปวิดีโอต้นฉบับ (ขวา):

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา