ภาพคนกราบสุนัขทรงเลี้ยงของในหลวงรัชกาลที่ 9 รูปนี้ถูกตัดต่อ

  • บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
  • เผยแพร่ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2020 เวลา 09:00
  • ใช้เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
  • เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
ภาพถ่ายที่แสดงผู้คนกราบไหว้สุนัขทรงเลี้ยงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ถูกแชร์ออกไปนับร้อยครั้งทางเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ คำกล่าวอ้างนี้เป็นเท็จ ภาพคุณทองแดงถูกตัดต่อเข้าไปในภาพถ่ายต้นฉบับของสำนักข่าวรอยเตอร์ส ซึ่งเป็นภาพขณะผู้คนเข้ามาถวายพระพรให้กับในหลวงรัชกาลที่ 9 ในเดือนตุลาคม 2557

ภาพถ่ายนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 และได้ถูกแชร์ออกไปกว่า 230 ครั้ง

Image

คำบรรยายโพสต์เขียนว่า “#WhatsHappeninginThailand #โอ้วกราบหมาคือความจงรักภักดี นั้นมันคือหมด ที่อุปโลกน์ขึ้นมาให้คนกราบ 55555 #Thailandonly #มีที่นี่ประเทศไทย”

ภาพและคำกล่าวอ้างเดียวกันถูกแชร์ทางทวิตเตอร์ที่นี่และนี่

คอมเม้นต์ในโพสต์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเชื่อว่าภาพดังกล่าวแสดงผู้คนกราบไหว้สุนัขจริง

ผู้ใช้เฟซบุ๊กคนหนึ่งเขียนว่า “ใครจะกราบก็กราบไป เราไม่กราบ หมาคือสัตว์ สัตว์คือสัตว์ กราบทำไม สัตว์ทำอะไรให้ หรือถึงต้องกราบ เจริญล่ะมึง กราบสัตว์”

อีกคนเขียนว่า “มันบ้ากันไปแล้วไหว้หมา”

ด้านล่างคือภาพถ่ายหน้าจอคอมเม้นต์ดังกล่าว

Image
Image

ภาพถ่ายและคำกล่าวอ้างคล้ายๆ กัน ยังปรากฏอยู่ในรายงานภาษาอาหรับและภาษาเกาหลี

ภาพดังกล่าวแสดงผู้คนกราบคุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ก่อนที่คุณทองแดงจะเสียชีวิตลงในปี 2558 สำนักข่าว AFP รายงาน

อย่างไรก็ตามคำกล่าวอ้างนี้เป็นเท็จ ภาพถ่ายนี้ถูกตัดต่อ

การค้นหาภาพย้อนหลังและการค้นหาด้วยคำสำคัญพบภาพต้นฉบับนี้ปรากฏอยู่บนเว็บไซต์คลังภาพของสำนักข่าวรอยเตอรส์ โดยข้อมูลของภาพระบุวันที่ 8 ตุลาคม 2557

Image

คำบรรยายภาพบางส่วนแปลเป็นภาษาไทยว่า “พสกนิกรถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช กษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก ณ โรงพยาบาลศิริราชในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2557 โดยสำนักพระราชวังเผยว่าพระอาการเป็นที่น่าพอใจภายหลังการผ่าตัดถุงพระปิตตะ (ถุงน้ำดี) REUTERS/Chaiwat Subprasom”

ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพจากโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพถ่ายของรอยเตอรส์ (ขวา)

Image

AFP พบภาพถ่ายต้นฉบับของคุณทองแดงในรายงานฉบับนี้ของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ โดยรายงานเขียนพาดหัวซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า “สุนัขที่มีโชคชะตา”

ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพจากโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพถ่ายในรายงานของบางกอกโพสต์ (ขวา) โดยสามารถสังเกตเห็นรองพระบาทของสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตอยู่ในภาพที่ถูกตัดต่อ

Image

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?

ติดต่อเรา