ข้อมูลเท็จอ้างว่าการใช้หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าต่อเนื่องจะทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วันที่ 15 พฤษภาคม 2020 เวลา 11:00
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
- เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2567 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
คำกล่าวอ้างนี้ได้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2563 และได้ถูกแชร์ออกไปอีกมากกว่า 100 ครั้ง
คำบรรยายเขียนว่า “ใส่หน้ากากอนามัย นานเกินไป ระวังอาการเลือดเป็นกรด เนื่องจากขาดออกซิเจนกันด้วยนะครับ ทำให้มีอาการมึนเวียนหัว จะอ้วก อ่อนแรง หน้ามือ คล้ายจะเป็นลม ต้องหาช่วงเวลา พักหายใจแบบ ไม่ใส่ Mask กันด้วยนะครับ งามไส้!!”
ด้านล่างคือภาพหน้าจอของโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด
คำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันยังได้ถูกโพสต์ทางเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม
นอกจากคำกล่าวอ้างเป็นภาษาไทยแล้ว ยังมีผู้ใช้เฟซบุ๊กบางคนที่ได้โพสต์คำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันเป็นภาษาอังกฤษที่นี่ นี่ และนี่
ด้านล่างคือภาพหน้าจอของโพสต์ภาษาอังกฤษที่ทำให้เข้าใจผิด
คำบรรยายในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิดแปลเป็นภาษาไทยว่า “การใส่หน้ากากเป็นระยะเวลาต่อเรื่องจะส่งผลให้เกิดปัญหาในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งจะถูกนำไปกล่าวว่าเป็นการระบาดระลอกที่สองของโรคโควิด-19”
“คอยดูประเทศที่บังคับให้ใส่หน้ากากจะมีตัวเลขผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ 'ระลอกสอง' ที่สูงที่สุด”
ข้อความภาษาอังกฤษด้านบนของรูปแปลเป็นภาษาไทยว่า “นี่คือ Hypercapnia (ภาวะความดันคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดแดงสูง) ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเราได้รับคาร์บอนไดออกไซด์จากลมหายใจของตัวเองจากการใส่หน้ากากต่อเนื่อง”
“อาการหลักของคาร์บอนไดออกไซด์เป็นพิษ”
ข้อมูลจาก WebMD เว็บไซต์ทางการแพทย์ของประเทศสหรัฐอเมริการะบุว่า “Hypercapnia” (ภาวะความดันคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดแดงสูง) คือสภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถหายใจได้ปกติและมีการก่อตัวของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระบบหมุนเวียนโลหิต ทำให้ค่า pH ในเลือดเป็นกรด อาการหลักๆ ประกอบไปด้วยความวิตกกังวล ปวดศรีษะ และหายใจถี่
คำกล่าวอ้างนี้ทำให้เข้าใจผิด
เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2563 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ผลิต infographic นี้ ซึ่งอธิบายว่าไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ยืนยันว่าการใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด
ด้านล่างคือภาพถ่ายหน้าจอรูป infographic ของกรมควบคุมโรค
ข้อความใน infographic เขียนว่า “ใส่หน้ากากอนามัย/ผ้า นานๆ เกิดภาวะเลือดเป็นกรด หรือไม่?”
“การใส่หน้ากากอนามัย/ผ้านานๆ อาจทำให้หายใจอึดอัด แต่ยังไม่มีการวิจัยรองรับว่าทำให้เลือดเป็นกรด เพราะภาวะเลือดเป็นกรด (Acidosis) คือความผิดปกติของเลือดหรือของเหลวในร่างกายที่ไม่สมดุล ทำให้เลือกมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น”
เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2563 โรงพยาบาลธนบุรีทวีตคำอธิบายว่า แม้ว่าการใส่หน้ากากอาจจะสร้างความอึดอัดแต่ไม่ถึงขั้นที่ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด โรงพยาบาลธนบุรียืนยันว่าไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันว่าจะเกิดผลกระทบทางสุขภาพจากการใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าอย่างต่อเนื่อง
? ในช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาด เราจำเป็นต้องใส่หน้ากากอนามัยนานหลายชั่วโมง จะส่งผลเสียอะไรต่อร่างกายหรือไม่? วันนี้เรามีคำตอบมาให้ค่ะ⁉️
— Thonburi Hospital (@ThonburiH) May 7, 2020
? ในปัจจุบัน ยังไม่พบงานวิจัยใด ที่บอกว่าการใส่หน้ากากอนามัยนาน ๆ จะส่งผลให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดได้ ซึ่งภาวะเลือดเป็นกรด (Acidosis) pic.twitter.com/y4gorBQUvJ
ภาพที่อยู่ในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิดถูกนำมาดัดแปลงมาจากภาพต้นฉบับของ WikiJournal of Medicine โดยเป็นผลงานของ Mikael Häggström แพทย์ชาวสวีเดนและผู้สร้างเว็บไซต์ WikiJournal of Medicine
แต่ภาพต้นฉบับไม่มีข้อความที่เขียนว่า “การใส่หน้ากากอย่างต่อเนื่อง” จะทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพต้นฉบับจาก WikiJournal (ขวา)
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา