นี่เป็นวิดีโอเก่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ในรายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์ไฟไหม้ภายในรถยนต์ในประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยมีสาเหตุมาจากสเปรย์กระป๋องรั่ว
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วันที่ 23 มีนาคม 2020 เวลา 10:30
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
- เขียนโดย: AFP Thailand
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2568 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
วิดีโอความยาว 15 วินาทีนี้ได้ถูกแชร์ออกไปทางไลน์เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2563 ด้านล่างคือภาพถ่ายหน้าจอของข้อความดังกล่าว
ภาพถ่ายหน้าจอข้อความที่ถูกผ่านไลน์
คลิปวิดีโอถูกส่งต่อพร้อมข้อความที่เขียนว่า “ช่วงนี้คนเอาแอลกอฮอล์มาพ่นฆ่าเชื้อ โควิด 2019 กันเยอะ แต่จุดที่ไม่ควรใช้ คือ ในรถยนต์ และในครัวเพราะอาจจะเป็นแบบนี้”
วิดีโอเดียวกันถูกโพสต์พร้อมคำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันในเฟซบุ๊กที่นี่ และทางทวิตเตอร์ที่นี่
โพสต์เหล่านี้ได้ถูกแชร์ออกในขณะที่ตัวเลขของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่มียอดถึง 300,000 ราย ท่ามกลางสถานการณ์ที่ประชาชนทั่วโลกต่างพากันปรับวิถีชีวิต เพื่อควบคุมตัวเลขผู้ติดเชื้อ
อย่างไรก็ตาม คำกล่าวอ้างว่าที่วิดีโอนี้แสดงเหตุการณ์รถยนต์ระเบิด ที่มีต้นเหตุน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์นั้นไม่เป็นความจริง
หลังจากนำคีย์เฟรมของวิดีโอมาค้นหาย้อนหลัง พบวิดีโอต้นฉบับที่มีชื่อว่า “เด็กหนุ่มซาอุฯ ติดไฟเพราะสเปรย์ที่อยู่ในรถ” ถูกนำขึ้นยูทูปเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558 และมีคนเข้ามาดูทั้งหมด 47,000 ครั้ง
คำบรรยายวิดีโอเขียนว่า “เด็กหนุ่มซาอุฯ ติดไฟเพราะสเปรย์ที่อยู่ข้างในรถยนต์”
ด้านล่างเป็นการเปรียบเทียบระหว่างวิดีโอในโพสต์ที่เข้าใจผิด (ซ้าย) และวิดีโอต้นฉบับจากยูทูป (ขวา)
เปรียบเทียบระหว่างวิดีโอในโพสต์ที่เข้าใจผิด (ซ้าย) และวิดีโอต้นฉบับจากยูทูป (ขวา)
เว็บไซต์ข่าวของประเทศอียิปต์ akhbarak.net รายงานข่าวเหตุการณ์ไฟไหม้รถยนต์ พาดหัวข่าวภาษาอาหรับแปลเป็นภาษาไทยว่า “ชมจังหวะที่เกิดการระเบิดในรถยนต์ซึ่งมีสาเหตุมาจากสเปรย์และไฟแช็ค”
ด้านล่างคือภาพถ่ายหน้าจอของรายงาน
ภาพถ่ายหน้าจอรายงานข่าวของ akhbarak.net
ย่อหน้าแรกแปลเป็นภาษาไทยว่า “มีวิดีโอที่บันทึกเหตุการณ์ขณะกลุ่มชายหนุ่มชาวซาอุฯ ถูกไฟเผาเพราะไปจุดไฟแช๊คในรถโดยไม่รู้ว่ากระป๋องสเปรย์รั่ว ส่งผลให้เกิดไฟลุกไหม้ลามไปทั้งคันอย่างรวดเร็ว”
วิดีโอยูทูปนี้ ซึ่งมีชื่อว่า “จังหวะที่ไฟไหม้รถและเผาผู้โดยสารข้างในจากไฟแช๊คและสเปรย์” ปรากฏอยู่รายงานดังกล่าว
ด้านล่างคือภาพเปรียบเทียบระหว่างวิดีโอจากโพสต์ที่เข้าใจผิด (ซ้าย) กับวิดีโอในรายงานข่าว (ขวา)
เปรียบเทียบระหว่างวิดีโอจากโพสต์ที่เข้าใจผิด (ซ้าย) กับวิดีโอในรายงานข่าว (ขวา)
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา