นี่เป็นภาพจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงในประเทศโครเอเชีย ไม่ใช่ภาพผู้ป่วยในประเทศอิตาลี

  • บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
  • เผยแพร่ วันที่ 9 เมษายน 2020 เวลา 06:00
  • ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
  • เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
ภาพผู้ป่วยนั่งรถเข็นและนอนอยู่บนเตียงโรงพยาบาลกลางถนนได้ถูกแชร์ออกไปกว่า 28,000 ครั้ง พร้อมคำกล่าวอ้างว่านี้เป็นภาพประเทศอิตาลีในช่วงที่เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 คำกล่าวอ้างนี้เป็นเท็จ ความจริงแล้วภาพเหล่านี้เป็นเหตุการณ์หลังเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่เมืองหลวงของประเทศโครเอเชียในเดือนมีนาคม 2563

คำกล่าวอ้างนี้ได้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2563 และได้ถูกแชร์ออกไปอีกกว่า 28,000 ครั้ง

คำบรรยายภาพในโพสต์เขียนว่า “อิตาลี​ หมอรับมือไม่ไหว​ เตียงไม่พอ​ มีสภาพเช่นนี้
ไทยเราสำนึกด้วยช่วยเชื่อฟังและปฏิบัติตามประกาศและอย่าเห็นแก่ตัว”

ด้านบนของภาพมีตัวอักษรภาษาไทยขนาดใหญ่ที่เขียนว่า “ผู้ป่วยในอิตาลี”

ข้างล่างคือภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด

ภาพเดียวกันและภาพถ่ายอีกชุดหนึ่งได้ถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันผ่านเฟซบุ๊กที่นี่ นี่ นี่ และนี่

ภาพถ่ายชุดเดียวกันยังถูกแชร์เป็นภาษาอังกฤษ และภาษาอาหรับ

คำกล่าวอ้างนี้เป็นเท็จ

ภาพนี้ถูกถ่ายจากด้านนอกโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงซาเกร็บ เมืองหลวงของประเทศโครเอเชีย หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวความรุนแรง 5.3 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2563

เมื่อนำภาพในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิดไปค้นหาย้อนหลังโดยใช้กูเกิล พบภาพเดียวกันในรายงานข่าวเกี่ยวกับแผ่นดินไหวที่ประเทศโครเอเชียของสำนักข่าว Vrisak ในวันที่ 22 มีนาคม

ด้านล่างคือภาพถ่ายหน้าจอเปรียบเทียบภาพในโพสต์ที่เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพจากรายงานของ Vrisak (ขวา)

Image
เปรียบเทียบภาพในโพสต์ที่เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพจากรายงานของ Vrisak (ขวา)

องค์การอนามัยโลกรายงานเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2563 ว่าทั่วโลกมียอดผู้ป่วยโรคโควิด-19 มากกว่า 1,353,000 คน ขณะที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตสูงกว่า 79,000 ราย

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?

ติดต่อเรา