ภาพถ่ายที่อยู่ในโพสต์นี้ปรากฏอยู่ในรายงานข่าวเกี่ยวกับประเพณีล่าวาฬในหมู่เกาะแฟโรเมื่อปี 2561
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วัน 6 สิงหาคม 2020 เวลา 11:00
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
- เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2567 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
ภาพถ่ายดังกล่าวได้ถูกแชร์ผ่านทวิตเตอร์เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2563
ข้อความในทวีตนี้แปลเป็นภาษาไทยว่า: “ช่างเป็นข่าวที่เศร้า ปลาวาฬนำร่อง 193 ตัวได้ถูกฆ่าอย่างไร้เมตตาในหมู่เกาะแฟโรเมื่อวานนี้
นี่เป็นการล่าวาฬครั้งที่ 3 ของปี จากการฆ่าวาฬนำร่องและโลมาคาดขาวทั้งหมด 498 ตัว
ช่วยเรา #หยุดการล่า โดยลงนามที่นี่: https://change.org/p/stop-the-hunt-of-dolphins-and-small-whales”
นอกจากนี้ ภาพถ่ายนี้ยังได้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กเป็นภาษาไทยพร้อมกับอีกสามรูป เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2563 และได้ถูกแชร์ออกไปอีกกว่า 250 ครั้ง
ด้านล่างคือภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด โดยมีตัวเลขแสดงลำดับภาพที่ใส่โดยสำนักข่าว AFP
คำบรรยายโพสต์เขียนว่า “#ลิงขึ้นมะพร้าวจะเอาเป็นเอาตายสังหารหมู่วาฬเป็นร้อยทุกปีไม่มีปัญญาห้าม
วาฬนำร่องจำนวน 193 ตัวถูกสังหารอย่างไร้ความปราณีในหมู่เกาะแฟโรเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (30 กรกฎาคม) นี่คือการตามล่าอย่างทารุณครั้งที่สามของปีที่สังหารวาฬนำร่องและปลาโลมาขาว ในบริเวณนี้รวม 498 ตัว”
“งาน Grindadràp นี้อ้างว่าเป็นการทำเพื่ออาหารแต่จากข้อมูลบอกว่าเกาะแฟโรไม่ได้มีความขาดแคลนอาหารมานานแล้ว แต่ประเพณีที่แสนโหดร้ายนี้ยังคงมีอยู่ ทั้งที่ประเทศเดนมาร์กที่เป็นเจ้าของหมู่เกาะแฟโร อยู่ในสหภาพยุโรปที่มีการออกกฎหมายเรื่องการคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ และชี้นิ้วบอกประเทศอื่นให้ทำตาม”
โพสต์ดังกล่าวได้ใส่ลิงค์ของรายงานฉบับนี้ ของ Info ซึ่งเป็นเว็บไซต์ข่าวของหมู่เกาะแฟโร รายงานนี้ระบุว่าเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2563 วาฬ “เกือบ 200 ตัว” ถูกฆ่าโดยนักล่าวาฬในหมู่เกาะแฟโร
Grindadràp เป็นชื่อท้องถิ่นของประเพณีล่าวาฬนำร่องในหมู่เกาะแฟโร ข้อมูลขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการคุ้มครองสัตว์ระบุว่า ช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมของทุกปีจะมีวาฬนำร่องถูกฆ่าถึง 1,000 ตัวจากประเพณีดังกล่าว
โพสต์ดังกล่าวถูกแชร์ออกไปภายหลังองค์กรพิทักษ์สัตว์ หรือว่า ‘พีต้า’ ได้เผยแพร่รายงานฉบับนี้ในเดือนกรกฎาคม 2563 โดยเป็นการประณามประเทศไทยเรื่องการใช้ลิงเก็บมะพร้าว โดยกล่าวว่าเป็นการทารุณสัตว์
ภาพถ่ายเดียวกันได้ถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันทางเฟซบุ๊กที่นี่และนี่
อย่างไรก็ตามคำกล่าวอ้างนี้ทำให้เข้าใจผิด ภาพแรกซึ่งเป็นภาพเดียวกับภาพที่สี่ ปรากฏอยู่ในรายงานข่าวเกี่ยวกับการล่าวาฬในหมู่เกาะแฟโรในปี 2561
ภาพแรก
การค้นหาภาพย้อนหลังพบภาพถ่ายเดียวกันปรากฏอยู่ในรายงานของเว็บไซต์ภาษาตุรกีของสำนักข่าว BBC ฉบับนี้เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2561
พาดหัวข่าวภาษาตุรกีแปลเป็นภาษาไทยว่า “ล่าวาฬ ทะเลกลายเป็นสีเลือดที่หมู่เกาะแฟโร”
ภาพถ่ายเดียวกันยังปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2561 ของ Workpoint TV สถานีโทรทัศน์ดิจิทัล
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพจากโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพจากรายงานของ Workpoint TV (ขวา)
ภาพที่สองและสาม
เมื่อนำภาพที่สองและสามในโพสต์ดังกล่าวมาค้นหาภาพย้อนหลังทางกูเกิลพบว่าภาพถ่ายทั้งสองปรากฏอยู่ในรายงานเกี่ยวกับประเพณีล่าวาฬในหมู่เกาะแฟโรในเดือนกรกฏาคม 2563
ภาพที่สองปรากฏอยู่ในทวีตเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ของ Blue Planet Society โดยทวีตดังกล่าวเขียนว่า “ยืนยันตัวเลขวาฬนำร่อง 193 ตัวถูกฆ่าที่หมู่เกาะแฟโร 30/07/2020”
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพที่สองในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพจากทวิตเตอร์ของ Blue Planet Society (ขวา)
ภาพที่สามปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ของ Info พาดหัวรายงานภาษาแฟโรแปลเป็นภาษาไทยว่า “วาฬ 150 ถึง 200 ตัวได้ตายลง”
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพที่สามในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพปี 2563 ของ Info (ขวา)
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา