ประชาชนใส่เสื้อสีเหลืองชูพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่และสมเด็จพระราชินี ระหว่างการเดินขบวนในอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2563 (AFP / Madaree Tohlala)

ภาพคุณหญิงพจมานใส่เสื้อเหลืองถูกแชร์ในบริบทที่ทำให้เข้าใจผิด ท่ามกลางการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศไทย

  • บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
  • เผยแพร่ วันที่ 22 ตุลาคม 2020 เวลา 11:30
  • ใช้เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
  • เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
ภาพถ่ายที่แสดงคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชรใส่เสื้อเหลืองกับครอบครัวได้ถูกแชร์ทางเฟซบุ๊กในเดือนตุลาคม 2563 ระหว่างที่มีการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ พร้อมคำกล่าวว่านี้เป็นภาพถ่ายที่บ้านจันทร์ส่องหล้าในปี 2563 คำกล่าวอ้างนี้ทำให้เข้าใจผิด ภาพต้นฉบับเป็นภาพถ่ายพิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคลที่สนามกอล์ฟแห่งหนึ่งในเดือนพฤษภาคม 2562

คำกล่าวอ้างนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2563

ภาพถ่ายนี้แสดง คุณหญิง พจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภรรยาของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมครอบครัวของเธอ

รัฐบาลของทักษิณถูกรัฐประหารในปี 2549 ซึ่งเป็นชนวนทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดง

คำบรรยายโพสต์เขียนบางส่วนว่า “พจมาน เวอร์ชั่นนี้ ปีหกสาม
จันทร์ส่องหล้า หล่อนเข้า ไปเปลี่ยนแปลง
เธอเคยใส่ แต่สีแดง
สวมสีเหลือง ดูย้อนแย้ง พิกลดี”

Image


ในช่วงกว่าสิบปีที่ผ่านมา การใส่เสื้อสีแดงเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มที่สนับสนุนนาย ทักษิณ ชินวัตร ขณะที่เสื้อเหลืองเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มที่สนับสนุนสถาบัน

ข้อมูลจากรายงานของไทยรัฐเมื่อเดือนมีนาคม 2560 ระบุว่าบ้านจันทร์ส่องหล้าคือที่อยู่อาศัยของนาย ทักษิณ ชินวัตรตามข้อมูลสำเนาทะเบียนบ้านในระบบของกระทรวงมหาดไทย

ภาพถ่ายนี้และคำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันได้ถูกแชร์ทางเฟซบุ๊กที่นี่และนี่

อย่างไรก็ตามคำกล่าวอ้างนี้ทำให้เข้าใจผิด

การค้นหาภาพย้อนหลังทางกูเกิลและการค้นหาด้วยคำสำคัญ พบภาพถ่ายต้นฉบับถูกโพสต์ลงอินสตาแกรมของนายพานทองแท้ ชินวัตร ลูกชายของนาย ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 โดยภาพนี้ถูกโพสต์กว่าหนึ่งปีก่อนการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศไทยจะเริ่มต้นขึ้น

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๒๕๖๒ ครอบครัวชินวัตร กลุ่มบริษัทในเครือชินวัตรและมูลนิธิไทยคม ได้จัดพิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ อัลไพน์ กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ตคลับ

A post shared by Oak Panthongtae Shinawatra (@oak_ptt) on

คำบรรยายของโพสต์เขียนว่า “เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๒๕๖๒ ครอบครัวชินวัตร กลุ่มบริษัทในเครือชินวัตรและมูลนิธิไทยคม ได้จัดพิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ อัลไพน์ กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ตคลับ

ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพต้นฉบับบนอินสตาแกรม (ขวา)

Image


เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้ออกหมายกำหนดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

เจ้าหน้าที่ข้าราชการ ภาคธุรกิจ และสมาชิกครอบครัวที่เป็นที่รู้จัก จะใส่เสื้อสีเหลืองเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันเนื่องในวโรกาสสำคัญ

ภาพดังกล่าวตรงกับวิดีโอยูทูปคลิปนี้ของเว็บไซต์ข่าว Voice TV เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 โดยด้านล่างเป็นภาพถ่ายหน้าจอช่วงวินาทีที่ 40 ของวิดีโอดังกล่าว

Image


คำบรรยายวิดีโอเขียนว่า “เครือชินวัตร ถวายพระพรชัยมงคลในหลวง ร.10”

ช่วงวินาทีที่ 58 ผู้ประกาศข่าวกล่าวว่า “เนื่องในโอกาสมหามงคล พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562 ที่ อัลไพน์ กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ตคลับ”

ภาพแสดงคุณหญิงพจมานและทีมงานจากอีกมุมหนึ่ง โดยสามารถสังเกตเห็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ธงชาติไทย และต้นไม้ในด้านหลังของภาพ

ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพจากโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพจากคลิปวิดีโอยูทูปของ Voice TV โดยวงกลมสีแดงโดยสำนักข่าว AFP (ขวา)

Image

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?

ติดต่อเรา