ภาพถ่ายชุดนี้ไม่ได้แสดงภาพของประเทศไทยในยุคของนายกรัฐมนตรีสองคน ทั้งสองภาพนี้เป็นภาพถ่ายของประเทศสิงคโปร์
ภาพถ่ายชุดหนึ่งได้ถูกแชร์หลายพันครั้งในโพสต์ทางเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม พร้อมคำกล่าวอ้างว่านี้เป็นภาพเปรียบเทียบประเทศไทยในยุคของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันและ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คำกล่าวอ้างนี้เป็นเท็จ ทั้งสองภาพแสดงประเทศสิงคโปร์
ภาพนี้ได้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2563 โดยบัญชีปลอมของกลุ่มไทยภักดี โดยโพสต์ดังกล่าวได้ถูกแชร์มากกว่า 7,400 ครั้ง

ภาพดังกล่าวมีข้อความที่เขียนว่า “2000 ยุค ทักษิณ Now ยุคลุงตู่”
ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2544 ถึง 2549 ขณะที่ลุงตู่หมายถึงพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน
ภาพถ่ายเดียวกันได้ถูกแชร์บนเฟซบุ๊กที่นี่ และบนอินสตราแกรมที่นี่
ผู้ใช้เฟซบุ๊กบางคนได้เขียนข้อความในโพสต์ ซึ่งสะท้อนว่าพวกเขาอาจจะเชื่อว่าภาพถ่ายชุดนี้เป็นภาพที่แสดงตึกในประเทศไทย
มีข้อความหนึ่งเขียนว่า “กูให้มึงคิดใหม่ อันไหนควรเป็นยุคทักษิณ อันไหนควรเป็นยุคลุงตู่”
อีกข้อความหนึ่งเขียนว่า “แต่ยุคทักษิณ แค่คนขายมะนาว ยังรวยได้อ่ะคับ คิดเอา ….”
ด้านล่างคือภาพถ่ายหน้าจอของคอมเมนต์


อย่างไรก็ตามคำกล่าวอ้างนี้เป็นเท็จ
การค้นหาภาพย้อนหลังบนกูเกิลพบภาพถ่ายชุดเดียวกันปรากฏอยู่ในบทความนี้ของเว็บไซต์ boredpanda นิตยสารออนไลน์ที่ตั้งอยู่ในประเทศลิทัวเนีย
บทความนี้ ซึ่งถูกเผยแพร่เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2559 เขียนพาดหัวที่แปลเป็นภาษาไทยว่า “ภาพก่อนและหลัง 31 ภาพ ที่แสดงให้เห็นว่าเวลาทำให้เมืองดังๆ เปลี่ยนไปมากแค่ไหน”
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพจากเว็บไซต์ของ boredpanda (ขวา)

ภาพถ่ายเดียวกันปรากฏอยู่ในโพสต์นี้บนเว็บไซต์ Reddit เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2562 ภายใต้หัวข้อที่แปลเป็นภาษาไทยว่า “สิงค์โปร์ ตอนนั้นและตอนนี้”
การตรวจสอบภาพในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิดอย่างละเอียด พบว่าเป็นภาพที่แสดงอ่าวมารินาของประเทศสิงคโปร์
มารินาเบย์แซนด์ คือรีสอร์ทโรงแรมหรูครบวงจรขนาดใหญ่ ที่ตั้งอยู่ใจกลางย่านธุรกิจของประเทศสิงคโปร์
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างตึกที่ปรากฏอยู่ในภาพที่สองในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพของตึกมารินาเบย์แซนด์บนเว็บไซต์ของรัฐบาลสิงคโปร์ (ขวา) โดยวงกลมสีแดงโดยสำนักข่าว AFP

สำนักข่าว AFP พบภาพมุมเดียวกันบนแผนที่กูเกิลที่นี่