ภาพนี้ถูกตัดต่อ ภาพต้นฉบับไม่มีธงชาติและป้ายประท้วงสนับสนุนประเทศจีน

  • บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
  • เผยแพร่ วันที่ 19 มิถุนายน 2563 เวลา 10:00
  • ใช้เวลาอ่านประมาณ 0 นาที
  • เขียนโดย: AFP Thailand
ภาพถ่ายที่แสดงผู้ประท้วงคุกเข่าต่อหน้าธงชาติจีนได้ถูกแชร์ทางเฟซบุ๊ก พร้อมคำกล่าวอ้างว่าเป็นภาพถ่ายจากเหตุการณ์ประท้วงต่อต้านความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ตำรวจในสหรัฐฯ คำกล่าวอ้างนี้เป็นเท็จ ภาพนี้ถูกตัดต่อโดยการเติมธงชาติและป้ายประท้วงสนับสนุนประเทศจีนเข้าไปในภาพต้นฉบับของสำนักข่าวต่างประเทศ

 

ภาพนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563

รูปนี้แสดงภาพขณะกลุ่มคนคุกเข่าประท้วงโดยมีธงชาติจีนขนาดใหญ่อยู่ข้างหน้า ขณะที่ด้านหลังมีคนชูธงชาติจีนขึ้น และป้ายประท้วงสีขาวซึ่งเขียนข้อความที่แปลเป็นภาษาไทยว่า “ช่วยพวกเรา ประเทศจีน”

ด้านล่างคือภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด

Image

ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด 

คำบรรยายภาพเขียนว่า “ผู้ประท้วงคนอเมริกาชุมนุมชูธงชาติจีน”

การประท้วงขยายวงออกไปทั่วประเทศสหรัฐอเมริกาภายหลังการเสียชีวิตของนายจอร์จ ฟลอยด์ ชายผิวสีที่เสียชีวิตระหว่างการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจเมืองมินนิอาโปลิส ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2563 นี่คือรายงานของสำนักข่าว AFP เกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบดังกล่าว

ภาพเดียวกันยังปรากฏอยู่ในโพสต์ทางเฟซบุ๊กที่นี่และนี่

อย่างไรก็ตาม คำกล่าวอ้างนี้เป็นเท็จ ภาพที่อยู่ในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิดนี้ได้ถูกตัดต่อ

การค้นหาภาพย้อนหลังและการใช้คำสำคัญค้นหาทางกูเกิล พบภาพถ่ายต้นฉบับภาพนี้ซึ่งเผยแพร่โดยสำนักข่าว Reuters เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2563

Image

คำบรรยายภาพของสำนักข่าว Reuters แปลเป็นภาษาไทยว่า “ผู้ชุมนุมนั่งสงบนิ่งด้านนอกสนามกีฬาของ U.S. Bank ในวันที่สี่ ระหว่างการชุมนุมประท้วงที่มีชนวนเหตุมาจากการเสียชีวิตของนายจอร์จ ฟลอยด์ที่เมืองมินนิอาโปลิส รัฐมินนิโซตา สหรัฐฯ ภาพถ่ายวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 REUTERS/Nicholas Pfosi”

ภาพถ่ายต้นฉบับของสำนักข่าว Reuters ไม่มีธงชาติและป้ายประท้วงสนับสนุนจีน

ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพต้นฉบับของ Reuters (ขวา)

Image

เปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพต้นฉบับของ Reuters (ขวา) 

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?

ติดต่อเรา