ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเผยไม่มีหลักฐานยืนยันว่ากัญชาสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันหรือป้องกันเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ุใหม่ได้
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วันที่ 2 เมษายน 2020 เวลา 06:00
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
- เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2567 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
คำกล่าวอ้างนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2563 และได้ถูกแชร์ออกไปเกือบ 400 ครั้ง
เนื้อหาในโพสต์บางส่วนเขียนว่า “กัญชา เป็นภูมิคุ้มกันด้านโควิด-19 และช่วย รักษาปอดลดการถูกทำลายจากเยื่อหุ้มปอด”
“กัญชาชาจะเข้าไปช่วยทำลายตัวไขมันของเชื้อโควิด-19 และช่วยเคลือบปอด ไม่ให้ถูกทำลาย กัญชาจะเผาผลานไขมัน ในตัวเชื้อโควิท การใช้น้ำมัน หรือใช้วิธีสูบโดยเข้าไป #ห้ามผสมบุหรี่น่ะครับ”
ด้านล่างคือภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์ที่เข้าใจผิด
คำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันเรื่องสรรพคุณของกัญชาในการเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพื่อต้านเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ุใหม่ ได้ถูกแชร์ผ่านเฟซบุ๊กที่นี่ นี่ นี่ และนี่
คำกล่าวอ้างนี้เป็นเท็จ
ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สภากาชาดไทย ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว AFP ทางโทรศัพท์เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563 โดยกล่าวการสูบกัญชาช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและลดการถูกทำลายเยื่อหุ้มปอดจากเชื้อโควิด-19 “เป็นเรื่องเข้าใจผิด”
“มันไม่ใช่แบบนั้นนะครับ การสูบกัญชาเข้าปอดเหมือนการสูบบุหรี่ ไม่ใช่การใช้กัญชาทางการแพทย์” นพ. ธีระวัฒน์ กล่าวโดยอธิบายว่าการสูบกัญชาไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้
รายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริการะบุว่า ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่นบุคคลที่สูบบุหรี่ จะมีอาการจากการติดเชื้อโควิด-19 ที่รุนแรงกว่าบุคคลทั่วไป
ด้านล่างคือภาพถ่ายหน้าจอของรายงาน
ข้อความพาดหัวของรายงานเขียนว่า: บุคคลที่เสี่ยงมีอาการจากการติดเชื้อโควิด-19 ที่รุนแรง"
สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา ผลิตรายงานฉบับนี้ที่มีหัวข้อว่า “ผลกระทบต่อสุขภาพของกัญชาและสารกัญชา: สถานะปัจจุบันของหลักฐานและข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัย” ในปี 2560
เนื้อหาบางส่วนในรายงานเขียนว่า “ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะสรุปผลของงานวิจัยต่างๆ ได้ว่า กัญชาหรือว่าสารจากกัญชาสามารถเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้”
ข้อมูลจากรายงานขององค์การอนามัยโลกเมื่อวันที่ 1 เมษายนเผยว่า ทั่วโลกมียอดผู้ป่วยมากกว่า 800,000 คน ขณะที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตสูงกว่า 40,000 ราย
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา