คำกล่าวอ้างที่ทำให้เข้าใจผิดถูกแชร์ออนไลน์ว่า องค์การอนามัยโลกออกคำเตือนเรื่องอันตรายจากการเตรียมอาหารด้วยแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วันที่ 3 มีนาคม 2021 เวลา 09:00
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
- เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2568 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
คำกล่าวอ้างนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564
คำบรรยายโพสต์เขียนว่า “ด่วน!!! องค์การอนามัยโลก(WHO)ประกาศเตือนชาวโลกดังนี้:-
อย่าใช้วัสดุแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์มามีส่วนในการเตรียมอาหารที่ต้องปรุงด้วยความร้อน เพราะจะก่ออันตรายต่อสุขภาพของท่านและคนที่รักในครอบครับให้เจ็บป่วยหลายๆประการเช่น สมอง ตับ หัวใจ ไต กระดูก อัลไซเม่อร์และอีกสารพัดโรคที่ได้รับสารโลหะหนักปนเปื้อนอยู่กับอาหารที่รับประทานเหล่านั้น”
คำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันที่อ้างถึงคำเตือนขององค์การอนามัยโลกถูกแชร์ทางเฟซบุ๊กที่นี่และนี่
อย่างไรก็ตาม คำกล่าวอ้างนี้ทำให้เข้าใจผิด
โฆษกขององค์การอนามัยโลกอธิบายกับสำนักข่าว AFP ทางอีเมลเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 โดยยืนยันว่าทางองค์การอนามัยโลก “ไม่เคยออกคำเตือนเรื่องการใช้อลูมิเนียมฟอยล์ในการเตรียมอาหารที่ต้องปรุงด้วยความร้อน”
โฆษกขององค์การอนามัยโลกกล่าวว่าคนเรา “รับสารอลูมิเนียมจากการบริโภคอาหารและน้ำในสัดส่วนที่สูงกว่าสารที่ปนเปื้อนมาจากการใช้แผ่นฟอยล์หรือช้อนส้อมที่ทำมาจากอลูมิเนียม”
ในรายงานฉบับนี้ขององค์การความปลอดภัยของอาหารแห่งยุโรป (EFSA) พบว่าอาหารที่มีความเป็นกรดสามารถส่งผลให้ปริมาณอลูมิเนียมในอาหารเข้มข้นขึ้นหลังการปรุงได้ แต่ทั้งนี้ EFSA ย้ำว่า “ในการใช้งานปกติ การเคลื่อนย้ายของสารจากการสัมผัสระหว่างอาหารและวัสดุนั้น เป็นส่วนประกอบเล็กๆ เท่านั้น เมื่อเทียบกับสัดส่วนของสารจากการบริโภคอาหารทั้งหมด”
นอกจากนี้รายงานของ EFSA ได้เขียนระบุถึงคำกล่าวอ้างเรื่องความเสี่ยงโรคอัลไซเม่อร์ที่เชื่อมโยงกับการรับสารอลูมิเนียม โดยระบุว่าคำกล่าวอ้างนี้ไม่เป็นความจริง
เนื้อหาบางส่วนของรายงานเขียนว่า “จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ คณะกรรมการพิจารณาว่าการสัมผัสกับอลูมิเนียมผ่านอาหาร ไม่มีความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์”
งานวิจัยปี 2560 ฉบับนี้ของคณะผู้ทรงคุณวุฒิของหน่วยงานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมแห่งทวีปยุโรปกล่าวเช่นกันว่า “ไม่พบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุได้ว่ามีความเกี่ยวโยงระหว่างการรับสารอลูมิเนียมจากอาหารและโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งรวมไปถึงน้ำดื่ม เภสัชกรรม หรือเครื่องสำอาง”
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา