ภาพถ่ายชุดนี้ไม่ได้แสดงการโยนขวดน้ำและรองเท้าใส่ขบวนเสด็จฯ ในเดือนตุลาคม 2563

  • บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
  • เผยแพร่ วันที่ 16 ตุลาคม 2563 เวลา 13:00
  • ใช้เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
  • เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
ภาพถ่ายสามรูปนี้ได้ถูกแชร์เป็นพันๆ ครั้งในหลายโพสต์ทางเฟซบุ๊ก พร้อมคำกล่าวอ้างว่ามีการเขวี้ยงรองเท้าและขวดน้ำใส่รถพระที่นั่งของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 คำกล่าวอ้างนี้ทำให้เข้าใจผิด จากการวิเคราะห์อย่างละเอียดพบว่าไม่มีการโยนสิ่งของใส่ขบวนเสด็จฯ ในภาพถ่าย วิดีโอที่สอดคล้องกันเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวก็ไม่พบการโยนสิ่งของใส่ขบวนเสด็จฯ ช่างภาพ AFP และนักข่าวในพื้นที่ยืนยันว่าไม่มีการโยนสิ่งของใส่ขบวนเสด็จฯ ในวันที่ 14 ตุลาคม 2563

คำกล่าวอ้างนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 และได้ถูกแชร์ต่ออีกมากกว่า 10,000 ครั้ง

คำบรรยายโพสต์ภาษาไทยเขียนว่า “น้ำตาไหลอาบแก้มไหลไม่หยุด
เพราะไม่อาจ จะ"ปกป้อง"คุ้มกัน ได้
ทั้ง ขวดน้ำ รองเท้า ที่"เขวี้ยง"ไป
ได้แต่ "ตะโกน"ขอจงทรงพระเจริญ”

ด้านล่างคือภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด

สำนักข่าว AFP รายงานว่าในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีการประท้วงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย โดยมีข้อเรียกร้องเกี่ยวกับรัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และสถาบันพระมหากษัตริย์

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่ารถพระที่นั่งของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีได้เคลื่อนที่ผ่านกลุ่มผู้ชุมนุม ระหว่างการประท้วงในวันที่ 14 ตุลาคม 2563

เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันที่ 15 ตุลาคม 2563 รัฐบาลได้ประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร โดยห้ามมีการชุมนุมหรือมั่วสุมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป อ่านรายงานของสำนักข่าว AFP ได้ที่นี่

ต่อมาในวันที่ 16 ตุลาคม 2563 AFP รายงานว่านักเคลื่อนไหวสองคนได้ถูกจับและดำเนินคดีในข้อหาประทุษร้ายต่อเสรีภาพของพระราชินี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 110

คำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันที่ระบุว่าผู้ประท้วงได้โยนสิ่งของใส่ขบวนเสด็จฯ ได้ถูกแชร์ผ่านเฟซบุ๊กที่นี่และนี่

อย่างไรก็ตาม คำกล่าวอ้างนี้ทำให้เข้าใจผิด

การวิเคราะห์ภาพถ่ายอย่างใกล้ชิด ไม่พบสิ่งของที่ถูกโยนใส่ขบวนเสด็จฯ ในภาพถ่ายชุดดังกล่าว

ผู้ประท้วงได้มีการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์โดยการชู 3 นิ้ว -- ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจาก หนังสื่อและภาพยนตร์ “เดอะ ฮังเกอร์ เกมส์”

คลิปวิดีโอบนทวิตเตอร์ที่บันทึกเหตุการณ์ขณะขบวนเสด็จฯ ขับผ่านกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงบนถนนพิษณุโลก ด้านหน้าทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ไม่พบว่ามีการโยนสิ่งของใส่ขบวนเสด็จฯ

คลิปวิดีโอความยาว 35 วินาทีนี้ ที่ถูกโพสต์ลงทวิตเตอร์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ไม่ได้แสดงการโยนสิ่งของใส่ขบวนเสด็จฯ


ด้านล่างคือภาพถ่ายหน้าจอสามช่วงจากคลิปวิดีโอในทวิตเตอร์ ขณะขบวนเสด็จฯ ขับผ่านผู้ชุมนุม

Image

คลิปวิดีโอนี้ถูกโพสต์ลงทวิตเตอร์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ซึ่งไม่ได้มีการโยนสิ่งของไปยังขบวนเสด็จฯ


คลิปวิดีโอนี้ถูกโพสต์ลงทวิตเตอร์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ซึ่งไม่ได้มีการโยนสิ่งของไปยังขบวนเสด็จฯ

Image

ช่างภาพของ AFP ซึ่งได้อยู่ในพื้นที่ในขณะนั้น ได้ยืนยันว่าไม่มีการโยนสิิ่งของใส่ขบวนเสด็จฯ

ช่างภาพ AFP มลาเดน อันทนอฟ อธิบายให้กับทีมตรวจสอบข้อเท็จจริง AFP ว่าเขาไม่พบเห็นการโยนสิ่งของใส่ขบวนเสด็จฯ

ผมอยู่ตรงนี้ตอนที่ขบวนเสด็จขับผ่าน มีกลุ่มผู้สนับสนุนสถาบันยืนเรียงกันเป็นแถวเพื่อกันพื้นที่ให้ขบวนเสด็จฯ ขับผ่าน โดยมีกลุ่มผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยยืนอยู่ข้างหลังพวกเขา บางคนก็ชูสามนิ้ว จากที่ผมสังเกตเห็น ไม่มีการโยนวัตถุใส่รถ” เขากล่าว

ด้านล่างคือภาพถ่ายของสำนักข่าว AFP ขณะที่ขบวนเสด็จฯ ขับผ่านผู้ชุมนุม เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563

Image
Image

ประวิตร โรจนพฤกษ์ นักข่าวของหนังสือพิมพ์ข่าวสดภาษาอังกฤษ เขียนอธิบายเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวทางเฟซบุ๊ก โดยบอกว่า “แต่ไม่มีการขัดขวางขบวนเสด็จ ไม่มีการทุบรถหรือโยนสิ่งของใดๆ (ปล. ผมเห็นพระราชินีและองค์ทีกับตาในระยะใกล้มาก)”

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?

ติดต่อเรา