
ภาพถ่าย ‘สติ๊กเกอร์หลุม’ ชุดนี้ปรากฏอยู่ในรายงานเกี่ยวกับแคมเปญของเอเจนซีโฆษณาในประเทศอินเดีย
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วันที่ 12 ตุลาคม 2563 เวลา 10:00
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
- เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2568 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
ภาพถ่ายชุดนี้ได้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2561 และได้ถูกแชร์ต่ออีกกว่า 108 ครั้ง
ด้านล่างคือภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด

คำบรรยายโพสต์เขียนว่า “ที่แคนาดา เขาทำสติ๊กเกอร์หลุม เพื่อกันรถขับเร็ว
ขอบอกว่า บ้านเราล้ำกว่าเพราะใช้หลุมจริง”
คำกล่าวอ้างเดียวกันได้ถูกแชร์ตั้งแต่ปี 2557 ที่นี่ และได้ถูกนำกลับมาแชร์อีกครั้งในปี 2563 ที่นี่และนี่ บางโพสต์ได้เปรียบเทียบภาพถ่ายชุดนี้กับภาพถ่ายจริงของถนนที่ชำรุดและมีสภาพเป็นหลุมเป็นบ่อ
คำกล่าวอ้างนี้ทำให้เข้าใจผิด ภาพถ่ายชุดนี้ถูกเผยแพร่ในรายงานออนไลน์เกี่ยวกับแคมเปญโฆษณาตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2560
การค้นหาภาพย้อนหลังและการค้นหาด้วยคำสำคัญทางกูเกิลพบภาพถ่ายทั้งสามรูปปรากฏอยู่ที่นี่บนเว็บไซต์ของ Ads of the World เว็บไซต์งานแสดงผลงานโฆษณาเชิงสร้างสรรค์ เดือนมิถุนายน ปี 2550
คำบรรยายภาพเขียนว่า “สติ๊กเกอร์หลุม - สติ๊กเกอร์หลุมขนาดใหญ่ได้ถูกวางบนถนนเพื่อทำให้เกิดภาพลวงตาของถนนที่เป็นหลุมเป็นบ่อ คนขับรถจะเห็นและชะลอความเร็วเพื่อหลีกเลี่ยงแรงกระแทกกับรถแต่พอขับผ่านก็จะไม่รู้สึกอะไร ข้อความที่เขียนว่า ‘ความรู้สึกเหมือนระบบกันสะเทือนไพโอเนียร์’ ปรากฏอยู่บนถนนไม่กี่เมตรข้างหน้า”
บทความดังกล่าวระบุว่า โครงการนี้ถูกออกแบบโดย Y&R Everest เอเจนซีโฆษณาที่ตั้งอยู่ในเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย กลุ่มดังกล่าวควบกิจการรวมเข้ากับ VML ซึ่งเป็นเอเจนซีดิจิทัลในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยต่อมาในเดือนกันยายน ปี 2561 บริษัทดังกล่าวได้เปลี่ยนชื่อเป็น VMLY&R
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพถ่ายจากเว็บไซต์ของ Ads of the World (ขวา)



ภาพถ่ายทั้งสามรูปปรากฏอยู่ในบทความออนไลน์เกี่ยวกับแคมเปญเดียวกันบนเว็บไซต์ของเอเจนซีโฆษณา เช่น Adeevee และ The Perfect Media
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา