ภาพถ่ายชุดนี้ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ถูกดัดแปลง
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2021 เวลา 12:00
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
- เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2568 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
ภาพชุดนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 และได้ถูกแชร์ต่ออีกกว่า 170 ครั้ง
คำบรรยายโพสต์เขียนว่า “สมัยหนุ่มๆ ลุงตู่ดูหล่อมากนะและรวยอีกด้วย”
ลุงตู่ คือฉายาของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยพลเอกประยุทธ์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยภายหลังการยึดอำนาจโดยการก่อรัฐประหารในปี 2557
โพสต์นี้มีภาพของพลเอกประยุทธ์ที่ถ่ายเมื่อไม่นานมานี้ร่วมอยู่ด้วย
รูปของพลเอกประยุทธ์ ได้ถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันที่นี่และนี่
ผู้ใช้เฟซบุ๊กได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นในโพสต์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเชื่อว่าภาพถ่ายชุดดังกล่าวเป็นภาพจริง
มีคนหนึ่งเขียนว่า “ภรรยาท่านก็งดงามกิริยาสมกุลสตรีค่ะนำภาพช่วงสาวๆ มาให้ชมบ้างนะคะ” ขณะที่อีกคนเขียนว่า “ลุงตู่หล่อจัง”
อย่างไรก็ตาม คำกล่าวอ้างนี้เป็นเท็จ
การค้นหาภาพย้อนหลังทางกูเกิล พบว่าภาพถ่ายทั้ง 3 ภาพที่อ้างว่าเป็นภาพสมัยพลเอกประยุทธ์เมื่อยังหนุ่ม เป็นภาพที่ถูกดัดแปลง
ภาพที่หนึ่ง
การค้นหาภาพย้อนหลังทางกูเกิล พบภาพต้นฉบับที่ยังไม่ได้ถูกดัดแปลง ปรากฏอยู่ในบทความออนไลน์ฉบับนี้ของนิตยสารแพรว เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2561
บทความดังกล่าวเขียนหัวข้อว่า “ย้อนวันวานวัยหนุ่ม “ลุงตู่” เล่าความประทับใจในหน้าที่ “ทหารเสือราชินี” อันทรงเกียรติ”
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพที่หนึ่งในโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพต้นฉบับของนิตยสารแพรว (ขวา)
ภาพที่สอง
การค้นหาภาพย้อนหลังทางกูเกิล พบภาพที่สองปรากฏอยู่ในแถลงการณ์ฉบับนี้บนเว็บไซต์ของรัฐบาลไทย เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2563
แถลงการณ์ดังกล่าวเขียนว่า “คำแถลงการณ์นายกรัฐมนตรี วันที่ 21 ตุลาคม 2563 ถอยคนละก้าว เข้าสภา ใช้สติและปัญญา แก้ปัญหาร่วมกัน”
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพที่สองในโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพต้นฉบับบนเว็บไซต์ของรัฐบาลไทย (ขวา)
ภาพที่สาม
การค้นหาภาพย้อนหลังทางกูเกิล พบภาพที่สามปรากฏอยู่ในบทความฉบับนี้ของ The Standard เว็บไซต์ข่าวออนไลน์ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2563
หัวข้อของรายงานฉบับนี้เขียนว่า “21 มีนาคม 2497 - วันเกิดพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา”
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพที่สามในโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพต้นฉบับในรายงานของ The Standard (ขวา)
ภาพสุดท้ายในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด คล้ายกับภาพนี้ของนายกรัฐมนตรี ซึ่งปรากฏอยู่ในวิดีโอในช่องยูทูปของกรมประชาสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2560 โดยวิดีโอมีชื่อว่า “การปกป้องของชาติศาสนาพระมหากษัตริย์”
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา