นี่เป็นภาพถ่ายที่ปรากฏในรายงานเกี่ยวกับแฟชั่นสตรีในปีค.ศ. 1913
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วันที่ 16 มิถุนายน 2020 เวลา 11:30
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
- เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2568 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
ภาพนี้ได้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 2020 และได้ถูกแชร์ออกไปกว่า 540 ครั้ง
คำบรรยายภาพเขียนว่า “ไข้หวัดสเปน (ระบาดปี ค.ศ. 1918-1920) เป็นโรคระบาดที่หนักและร้ายแรงที่สุดโรคหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยระบาดติดคนถึง 500 ล้านคน หรือราว 27% ของประชากรโลกตอนนั้นที่มีราว 1.9 พันล้านคน
โรคนี้ระบาดรุนแรงรวดเร็วสังหารคนไปถึง 17-100 ล้านคน แต่เพราะโรคนี้เกิดร่วมเวลากับสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งคนก็บาดเจ็บล้มตาย อดอยากยากแค้นอยู่แล้ว ทำให้ถูกเรื่องสงครามกลบ”
“ไข้หวัดสเปน” หรือว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่ H1N1 เริ่มระบาดในปี ค.ศ. 1918 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริการายงานว่ามีคนเสียชีวิตจากการระบาดของไข้หวัดสเปนกว่า 50 ล้านคนทั่วโลก
ภาพถ่ายพร้อมคำกล่าวอ้างคล้ายๆ กัน ได้ถูกแชร์ทางเฟซบุ๊กที่นี่และนี่ และทางทวิตเตอร์ที่นี่และนี่
คำกล่าวอ้างนี้ทำให้เข้าใจผิด
การค้นหาภาพย้อนหลังผ่าน TinEye พบภาพถ่ายเดียวกันในเว็บไซต์ภาพสต็อก Alamy เกี่ยวกับแฟชั่นสำหรับสุภาพสตรีในปี ค.ศ. 1913
ข้อความภาษาเยอรมันด้านล่างของภาพแปลเป็นภาษาไทยว่า “แฟชั่นผ้าคลุมหน้าแบบใหม่ สงครามบอลข่านได้ทำให้เกิดแฟชั่นแปลกใหม่ เดี๋ยวนี้สตรีจะใส่ผ้าคลุมจมูกที่ใช้ในประเทศตุรกีมานานหลายศตวรรษ”
สงครามบอลข่านเกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1912 ถึงปี 1913
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบหน้าภาพถ่ายหน้าจอระหว่างภาพจากโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพจากเว็บไซต์ของ Alamy (ขวา)
Alamy ระบุว่าภาพดังกล่าวมาจาก Süddeutsche Zeitung สำนักข่าวซึ่งตั้งอยู่ในเมืองมิวนิก ประเทศเยอรมัน
Sven Riepe โฆษกของ Süddeutsche Zeitung ยืนยันกับสำนักข่าว AFP ทางอีเมลเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2563 ว่าภาพดังกล่าวถ่ายไว้เมื่อปี ค.ศ. 1913
“ภาพต้นฉบับเขียนคำอธิบายไว้ว่าผ้าคลุมจมูกเป็นแฟชั่นของสตรีหลังสงครามบอลข่าน” Sven กล่าว
ด้านล่างคือภาพถ่ายหน้าจอของภาพถ่ายต้นฉบับจากเว็บไซต์ของ Süddeutsche Zeitung
Fake History Hunter บัญชีตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ได้เขียนทวีตอธิบายโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิดที่นี่
ภาพถ่ายเดียวกันยังถูกนำมาใช้ประกอบคำกล่าวอ้างในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับบทกวีในศตวรรษที่ 19 เรื่องการกักตัวเอง ซึ่งสำนักข่าว AFP ประเทศออสเตรเลีย ได้ตรวจสอบคำกล่าวอ้างดังกล่าวไปแล้วที่นี่
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา