วิดีโอรถยนต์ระเบิดหลังคนขับรถฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อใส่กุญแจ เป็นวิดีโอจากบัญชีติ๊กตอกแนวล้อเลียนเสียดสี
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วันที่ 31 พฤษภาคม 2021 เวลา 04:30
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
- เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2568 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
คลิปวิดีโอนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 โดยวิดีโอดังกล่าวมียอดรับชมมากกว่า 150,000 ครั้ง
คำบรรยายวิดีโอแปลเป็นภาษาไทยว่า “อย่าพ้นน้ำยาฆ่าเชื้อใส่กุญแจรถ”
คลิปวิดีโอดังกล่าวแสดงผู้ชายคนหนึ่งพ้นน้ำยาฆ่าเชื้อในรถ ซึ่งรวมไปถึงกุญแจรถของเขา และเมื่อเขาสตาร์ทเครื่องยนต์รถ ไฟลุกไหม้ท่วมรถยนต์และมีคนกระเด็นจากแรงระเบิด
วิดีโอดังกล่าวได้ถูกแชร์พร้อมคำกล่าวอ้างคล้ายๆ ที่นี่และนี่
อย่างไรก็ตาม คำกล่าวอ้างนี้เป็นเท็จ
วิดีโอล้อเลียน
การตรวจสอบของ AFP พบว่าวิดีโอนี้ถูกโพสต์ลงบัญชีติ๊กตอก แนวล้อเลียนเสียดสี ในประเทศอาเซอร์ไบจาน
การค้นหาโดยสังเกตจากโลโก้ติ๊กตอกและชื่อบัญชีที่ด้านบนซ้ายของวิดีโอ พบคลิปวิดีโอนี้ที่มีความละเอียดสูงกว่า ถูกโพสต์ลงติ๊กตอกโดย @suleymanics เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2564
คำบรรยายภาษาอาเซอร์ไบจาน แปลเป็นภาษาไทยว่า “อย่าทำมากเกินไป #suleymanics”
บัญชีดังกล่าว เขียนระบุในภาษาอาเซอร์ไบจานว่าวิดีโอที่โพสต์เป็นวิดีโอแนวล้อเลียนเสียดสีและโพสต์เพื่อความบันเทิงเท่านั้น
ฉากระเบิด
การค้นหาภาพย้อนหลังทาง Yandex พบว่าคลิปวิดีโอช่วงระเบิด ต้นฉบับมาจากฉากหนึ่งในซีรี่ย์เรื่อง Narcos ที่ฉายทาง Netflix โดยฉากดังกล่าวถูกโพสต์ลงยูทูปเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2560
คำบรรยายวิดีโอแปลเป็นภาษาไทยว่า “Narcos (ซีรี่ย์ Netflix) ซีซั่น 3 ฉากรถระเบิด”
ฉากระเบิดในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิดดังกล่าวตรงกับคลิปวิดีโอยูทูปในช่วงนาทีที่ 1:33
ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างฉากดังกล่าวในคลิปวิดีโอที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และคลิปวิดีโอยูทูป (ขวา):
ผู้เชี่ยวชาญยืนยันกับ AFP ว่า “เป็นไปแทบไม่ได้” ที่รถจะระเบิดจากการฉีดยาฆ่าเชื้อที่กุญแจรถ
ดร.พิชญะ จันทรานุวัฒน์ กรรมการผู้จัดการของบริษัท Fusion Fire Safety บริษัท ที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมความปลอดภัยจากอัคคีภัยของประเทศไทย อธิบายกับ AFP ว่า “เนื่องจากปริมาณแอลกอฮอล์นั้นน้อยมาก มันเป็นไปแทบไม่ได้เลยที่รถจะระเบิด”
ดร.พิชญะ กล่าวว่า “โดยปกติแล้วเวลาคุณหมุนกุญแจเพื่อสตาร์ทรถ ที่บริเวณผิวของกุญแจจะเสียดสีกับพื้นผิวซึ่งนำไปสู่ประกายไฟ ถ้าหากคุณฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อใส่กุญแจรถ โอกาสที่ประกายไฟดังกล่าวจะกลายเป็นการระเบิดนี้มีอยู่น้อยมาก เพราะว่าประกายไฟดังกล่าวจะอยู่แต่ในกล่องเชมเบอร์”
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา