วิดีโอนี้ได้ถูกเผยแพร่ในรายงานข่าวเกี่ยวกับเทศกาลลดราคาสินค้าที่ประเทศบราซิลในเดือนพฤศจิกายน 2562

  • บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
  • เผยแพร่ วันที่ 15 เมษายน 2020 เวลา 07:00
  • ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
  • เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
คลิปวิดีโอที่แสดงผู้คนแย่งสินค้าในร้านได้ถูกแชร์ออกไปทางเฟซบุ๊กพร้อมคำกล่าวอ้างว่าเป็นเหตุการณ์ขณะที่ประชาชนชาวมาเลเซียกำลังแห่ซื้อของตุนระหว่างการระบาดของโรคโควิด-19 วิดีโอนี้มียอดรับชมนับแสนครั้ง คำกล่าวอ้างนี้เป็นเท็จ นี่เป็นวิดีโอจากเหตุการณ์ชุลมุนที่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลแบล็คฟรายเดย์ ที่ประเทศบราซิลในเดือนพฤศจิกายน ปี 2562 หลายอาทิตย์ก่อนไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่เริ่มระบาดที่ประเทศจีน

วิดีโอความยาว 4.30 นาทีนี้ได้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2563 และมียอดรับชมมากกว่า 166,000 ครั้ง

ด้านล่างคือภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด

Image
ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด

คำบรรยายในโพสต์เขียนว่า “นี่คือสภาพมาเลเซียปิดประเทศ ประชาชนแย่งซื้อของ หวังว่าเมืองไทยคงไม่เป็นอย่างนี้”

คลิปวิดีโอเดียวกันได้ถูกแชร์ต่อพร้อมคำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันทางเฟซบุ๊กที่นี่ นี่ นี่ และยังไปปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ต่างๆ เช่นที่นี่และนี่

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกประจำวันที่ 15 เมษายน 2563 ระบุว่า ประเทศมาเลเซียได้ออกมาตรการเพื่อระงับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 77 ราย ขณะทั่วประเทศมียอดผู้ติดเชื้ออยู่ 4,817 คน

คำกล่าวอ้างนี้เป็นเท็จ

เมื่อนำวิดีโอมาค้นหาย้อนหลังผ่าน ยันเด็กส์ พบวิดีโอนี้ที่ถูกโพสต์ลงยูทูปเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562

ห้วข้อที่เขียนเป็นภาษาโปรตุเกสแปลเป็นภาษาไทยว่า “วุ่นวายแบล็คฟรายเดย์ในร้าน Lojas Americanas”

ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และวิดีโอยูทูป (ขวา)

Image
การเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และวิดีโอยูทูป (ขวา)

สำนักข่าว Costa Norte ของประเทศบราซิลรายงานเกี่ยวกับเหตุชุลมุนที่เกิดขึ้น โดยมีภาพอื่นๆ จากเหตุการณ์เดียวกันถูกเผยแพร่ผ่านทางยูทูปที่นี่

Costa Norte รายงานว่า “ฝูงชนทำลายร้าน Lojas Americanas ภายในห้างสรรพสินค้าช่วงเช้ามืดของคืนวันศุกร์ที่ 29” หลังจากบริษัทเปิดร้านเร็วกว่าปกติเพื่อฉลองเทศกาลแบล็คฟรายเดย์ในเมืองเรซีเฟ ซึ่งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศบราซิล

ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และวิดีโอยูทูปจากรายงานของ Costa Norte ที่ถ่ายจากอีกมุมหนึ่ง (ขวา)

Image
เปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างโพสต์เฟซบุ๊กที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และวิดีโอยูทูปจากรายงานของ Costa Norte (ขวา)

Leiaja สำนักข่าวท้องถิ่นเมืองเรซีเฟ รายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ร้าน Lojas Americana โดยในรายงานของ Leiaja มีภาพถ่ายหน้าร้านหลังเหตุชุลมุนจบลง ซึ่งตรงกับภาพหน้าร้านดังกล่าวที่สามารถเห็นได้จาก Google Maps ซึ่งตั้งอยู่บนถนน Sete de Setembro

พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?

ติดต่อเรา