โพสต์แชร์คำแนะนำเท็จเกี่ยวกับ “การเพิ่มการมองเห็น” บนเฟซบุ๊ก
- บทความนี้มีอายุมากกว่า 1 ปี
- เผยแพร่ วันที่ 17 มีนาคม 2022 เวลา 08:20
- ใช้เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
- เขียนโดย: AFP ประเทศไทย
สงวนลิขสิทธิ์ © AFP 2560-2568 การใช้เนื้อหาในลักษณะเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลเพิ่มเติม
คำกล่าวอ้างนี้ถูกโพสต์ลงเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565 โดยเขียนข้อความว่า: “เฟส โดนปิดกั้น ใครเห็นช่วยพิม gg หน่อยค่ะ”
คำกล่าวอ้างคล้ายๆ กันถูกแชร์ทางเฟซบุ๊ก ที่นี่ นี่ นี่และนี่ และในโพสต์เหล่านี้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กเข้ามาเขียน “Gg” ในคอมเมนต์อย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม คำกล่าวอ้างในโพสต์นี้เป็นเท็จ
มนัสชื่น โกวาภิรัติ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารของเมตาประจำประเทศไทยและสปป.ลาว กล่าวว่า “ข้อมูลดังกล่าวที่ถูกแชร์นั้น ไม่ถูกต้อง”
“คำบางคำที่ถูกพิมพ์ลงในเฟซบุ๊กเช่น “ยินดีด้วย” และ “best wishes” จะถูกเติมสีเข้าไปโดยอัตโนมัติและแต่งด้วยแอนิเมชั่นในฝีด (Feed) แต่มันไม่ส่งผลต่อการมองเห็นจำนวนผู้ใช้ใน News Feed ของแต่ละคน” ตัวแทนของบริษัทเมตากล่าว
“โพสต์ที่คุณมองเห็นในฝีดนั้นมาจากความสัมพันธ์ของเราบนเฟซบุ๊ก จำนวนคอมเมนต์ ไลค์ และปฏิกิริยาต่างๆ ที่โพสต์ได้รับ รวมถึงชนิดของโพสต์ (เช่นภาพถ่าย วิดีโอ การอัพเดตสถานะ) ปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวแปรว่าโพสต์ของผู้ใช้บางคนจะปรากฏในฝีดสูงขึ้นกว่าโพสต์อื่น”
Kevin Curran ศาสตราจารย์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ จากมหาวิทยาลัย Ulster ยืนยันกับ AFP เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2565 ว่า คำกล่าวอ้างในโพสต์ดังกล่าวเป็นเรื่อง “หลอกลวง”
“คำว่า “GG” เป็นกลไกที่ถูกออกแบบมาและมีชื่อเรียกว่า “text delight” ซึ่งฟังก์ชันนี้ถูกออกแบบและใช้งานบนเว็บไซต์นี้มาตั้งแต่ปี 2560” Curran กล่าว
“มันไม่ได้ถูกเผยแพร่อย่างเป็นทางการ มันคือเรื่องขำๆ จากเฟซบุ๊ก ไม่ได้อันตรายและไม่ได้มีผลต่อการมองเห็นในฝีดของบัญชีเฟซบุ๊กเลย”
AFP ได้ตรวจสอบคำกล่าวอ้างเกี่ยวกับข่าวปลอมคล้ายๆ กัน เรื่องกฏใหม่ของเฟซบุ๊กที่นี่และนี่
AFP เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมมือกับเฟซบุ๊กในโครงการตรวจสอบข่าวและข้อมูลเท็จของเฟซบุ๊ก ที่ครอบคลุมกว่า 80 ประเทศ และผลิตรายงานในกว่า 24 ภาษา
พบเนื้อหาที่คุณต้องการให้เอเอฟพีตรวจสอบ?
ติดต่อเรา